Quick Links: Thailand Law Seminars and Conference | Thai Law Forum Past Issues | About Thailand Law Forum | Advertising Guidelines | Publishing Guidelines

Feature Articles :

History of Cannabis
  and Anti-Marijuana
  Laws in Thailand



Thailand’s Notable
  Criminal Extradition
  Cases


Guide for Tourists
  to Laws in Thailand



Neither Free nor Fair:
  Burma’s Sham Elections



Sex Laws in Thailand:
  Part 1



Renewable Energy
  in Thailand



Transsexuals and
  Thai Law



Foreign Mafia in
  Thailand

Support:

Chaninat & Leeds provides a variety of legal professional services regarding immigration, land acquisition, and foreign company registration. The firm concentrates in both business and family law, including K1 visas for Thais.




Thailand Lawyer Blog:
 Thai Government to
  Review Post-2006
  Prosecutions
 Courts Order Thai
  Military to Cease
  Labeling Transsexuals
  as Mentally Ill
 Work Permit Law
  Changes in Thailand
 Bahamian Supreme Court
  Ruling Backs
  Prenuptial Agreement
 The US FATCA:
  “The Neutron Bomb
  the Global Financial
  System”?
 The Effects of the US
  Government’s Policies
  on Americans Living
  Abroad
 Chinese Assimilation
  in Thailand vs. Malaysia
 Illegal Wildlife
  Trafficking in Asia:
  Thailand as a Hub?
 Rabbi Enforcing
  Jewish Divorce Order
  Arrested by FBI
 U.S. Prenuptial
  Agreements in Thailand:
  Why Thai Law is
  Important
 US Immigration in
  Decline?
 Abortion and Family
  Planning Law in
  the Philippines
 U.S. Courts and the
  Application of Foreign
  Law to International
  Prenuptial Agreements
 Thailand Blasted by 2011
  Human Trafficking Report
 US Expats on Alert:
  New US Tax Law
  Extends IRS’s Reach
  Internationally
 Hangover 2 and
  the Thai Censors
 Thailand’s Film
  Industry Steps Up
 

15 มกราคม 2553

สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร
Patent Cooperation Treaty
(PCT)
                  

ทำที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2513
แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522
ปรับแก้เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527 และเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2544

บทนำ
ข้อ 1
การก่อตั้งสหภาพ

(1) รัฐภาคีแห่งสนธิสัญญาฉบับนี้ (ซึ่งต่อไปนี้ให้เรียกว่า “รัฐภาคี”) ได้รวมตัวกันเป็นสหภาพเพื่อความร่วมมือในเรื่องการยื่น การตรวจค้น และการตรวจสอบ คำขอรับความคุ้มครองสำหรับการประดิษฐ์ และเพื่อให้บริการพิเศษทางเทคนิค สหภาพให้รู้ว่าหมายถึงสหภาพความ
ร่วมมือด้านสิทธิบัตรระหว่างประเทศ
(2) ห้ามมิให้ตีความบทบัญญัติใดในสนธิสัญญาฉบับนี้ไปในทางที่จะทำให้สิทธิตามอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรมของบุคคลผู้มีสัญชาติหรือผู้มี
ภูมิลำเนาในรัฐภาคีของอนุสัญญาดังกล่าวลดน้อยลง

ข้อ 2
บทนิยาม

เพื่อวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญาฉบับนี้และข้อบังคับ และเว้นแต่จะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้ง
(i) “คำขอ” หมายความถึง คำขอรับความคุ้มครองสำหรับการประดิษฐ์ การกล่าวถึง “คำขอ” ให้ถือว่าเป็นการกล่าวถึงคำขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ หนังสือรับรองผู้ประดิษฐ์ หนังสือรับรองอรรถประโยชน์ อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรหรือหนังสือรับรองการต่อยอดการประดิษฐ์ หนังสือรับรองผู้ประดิษฐ์ที่ต่อยอดการประดิษฐ์ และหนังสือรับรองอรรถประโยชน์ที่ต่อยอดการ ประดิษฐ์
(ii) การกล่าวถึง “สิทธิบัตร” ให้ถือเป็นการกล่าวถึงสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ หนังสือ รับรองผู้ประดิษฐ์ หนังสือรับรองอรรถประโยชน์ อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรหรือหนังสือรับรองการ ต่อยอดการประดิษฐ์ หนังสือรับรองผู้ประดิษฐ์ที่ต่อยอดการประดิษฐ์ และหนังสือรับรอง
อรรถประโยชน์ที่ต่อยอดการประดิษฐ์
(iii) “สิทธิบัตรในประเทศ” หมายความถึง สิทธิบัตรที่ออกโดยองค์กรที่มีอำนาจของรัฐ
(iv) “สิทธิบัตรภูมิภาค” หมายความถึง สิทธิบัตรที่ออกโดยองค์กรที่มีอำนาจของรัฐ หรือ องค์กรระดับระหว่างประเทศที่มีอำนาจในการออกสิทธิบัตรที่มีผลในรัฐต่างๆ มากกว่าหนึ่งรัฐขึ้นไป
(v) “คำขอภูมิภาค” หมายความถึง คำขอสำหรับสิทธิบัตรภูมิภาค
(vi) การกล่าวถึง “คำขอในประเทศ” ให้ถือว่าเป็นการกล่าวถึงคำขอสำหรับสิทธิบัตรในประเทศและสิทธิบัตรภูมิภาค นอกเหนือจากคำขอที่ยื่นตามสนธิสัญญาฉบับนี้
(vii) “คำขอระหว่างประเทศ” หมายความถึง คำขอที่ยื่นตามสนธิสัญญาฉบับนี้
(viii) การกล่าวถึง “คำขอ” ให้ถือว่าเป็นการกล่าวถึงคำขอระหว่างประเทศและคำขอในประเทศ
(ix) การกล่าวถึง “สิทธิบัตร” ให้ถือว่าเป็นการกล่าวถึงสิทธิบัตรในประเทศและสิทธิบัตรภูมิภาค
(x) การกล่าวถึง “กฎหมายภายในประเทศ” ให้ถือว่าเป็นการกล่าวถึงกฎหมายภายในของรัฐภาคีหรือ ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับคำขอภูมิภาค หรือสิทธิบัตรภูมิภาค ให้ถือว่าเป็นการกล่าวถึง สนธิสัญญาที่บัญญัติเกี่ยวกับการยื่นคำขอภูมิภาคหรือการออกสิทธิบัตรภูมิภาค
(xi) “วันยื่นคำขอครั้งแรก” เพื่อวัตถุประสงค์ในการคำนวณกรอบระยะเวลา ให้หมายความถึง
(เอ) วันยื่นคำขอซึ่งถูกอ้างการมีสิทธิก่อน ในกรณีที่คำขอระหว่างประเทศมีการอ้างสิทธิก่อนตามข้อ 8
(บี) วันยื่นคำขอครั้งแรกสุดซึ่งถูกอ้างการมีสิทธิก่อน ในกรณีที่คำขอระหว่างประเทศ มีการอ้างสิทธิก่อนหลายครั้งตามข้อ 8
(ซี) วันยื่นคำขอระหว่างประเทศของคำขอนั้น ในกรณีคำขอระหว่างประเทศไม่มี การอ้างสิทธิก่อนตามข้อ 8
(xii) “สำนักงานในประเทศ” หมายความถึง องค์กรของรัฐบาลของรัฐภาคีที่ได้รับมอบหมายให้ออกสิทธิบัตร การกล่าวถึง “สำนักงานในประเทศ” ให้รวมถึงองค์กรระดับระหว่างประเทศที่รัฐต่างๆ ได้มอบหมายภารกิจในการออกสิทธิบัตรภูมิภาคด้วย แต่รัฐเหล่านั้นต้องมีอย่างน้อยหนึ่งรัฐที่เป็นรัฐภาคี และรัฐเหล่านั้นมอบอำนาจแก่องค์กรนั้นให้มีหน้าที่และให้ใช้อำนาจตามที่สนธิสัญญาและข้อบังคับได้ให้ไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานในประเทศทั้งหลาย
(xiii) “สำนักงานที่ได้รับมอบหมาย” หมายความถึง สำนักงานในประเทศของรัฐที่ผู้ยื่นคำขอมอบหมายหรือสำนักงานที่กระทำการแทนรัฐนั้นตามหมวด 1 ของสนธิสัญญานี้
(xiv) “สำนักงานที่ถูกเลือก” หมายความถึง สำนักงานในประเทศของรัฐที่ผู้ยื่นคำขอเลือกหรือสำนักงานที่กระทำการแทนรัฐนั้นตามหมวด 2 ของสนธิสัญญานี้
(xv) “สำนักงานรับคำขอ” หมายความถึง สำนักงานในประเทศหรือองค์การระดับระหว่างประเทศที่มีผู้ยื่นคำขอระหว่างประเทศ
(xvi) “สหภาพ” หมายความถึง สหภาพความร่วมมือทางด้านสิทธิบัตรระหว่างประเทศ
(xvii) “สมัชชา” หมายความถึง สมัชชาแห่งสหภาพ
(xviii) “องค์การ” หมายความถึง องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
(xix) “สำนักระหว่างประเทศ” หมายความถึง สำนักระหว่างประเทศขององค์การ และตราบเท่าที่สหภาพสำนักงานคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (“บี ไอ อาร์ พี ไอ”) ยังคงมีอยู่ ให้หมายความรวมถึงสหภาพของสำนักงานคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศด้วย
(xx) “ผู้อำนวยการใหญ่” หมายความถึง ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาของโลก และตราบเท่าที่ “บี ไอ อาร์ พี ไอ” ยังคงมีอยู่ ให้หมายความรวมถึงผู้อำนวยการของ “บี ไอ อาร์ พี ไอ” ด้วย

หมวด 1
คำขอระหว่างประเทศ และการตรวจค้นระหว่างประเทศ

ข้อ 3
คำขอระหว่างประเทศ

(1) คำขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในรัฐภาคีใดๆ อาจยื่นเป็นคำขอระหว่างประเทศตามสนธิสัญญานี้ได้
(2) คำขอระหว่างประเทศต้องมีคำร้องขอ รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิอย่างน้อยหนึ่งข้อ รูปเขียนอย่างน้อยหนึ่งรูป (ในกรณีที่กำหนดให้ต้องมี) และบทสรุปการประดิษฐ์ตามที่กำหนดในสนธิสัญญานี้และในข้อบังคับ
(3) บทสรุปการประดิษฐ์มีไว้เพื่อประโยชน์ในด้านข้อมูลทางเทคนิคเท่านั้น และไม่สามารถนำมาพิจารณาเพื่อประโยชน์อื่นใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในการตีความขอบเขตที่ประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง
(4) คำขอระหว่างประเทศจะต้อง
(i) ใช้ภาษาที่กำหนด
(ii) เป็นไปตามข้อกำหนดเรื่องรูปแบบที่กำหนด
(iii) เป็นไปตามข้อกำหนดเรื่องความเป็นเอกภาพของการประดิษฐ์
(iv) ชำระค่าธรรมเนียมตามที่กำหนด


Next Page
[1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  [10]  [11]  [12]  [13]  [14]  [15]

 

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)