Quick Links: Thailand Law Seminars and Conference | Thai Law Forum Past Issues | About Thailand Law Forum | Advertising Guidelines | Publishing Guidelines

Feature Articles :

History of Cannabis
  and Anti-Marijuana
  Laws in Thailand



Thailand’s Notable
  Criminal Extradition
  Cases


Guide for Tourists
  to Laws in Thailand



Neither Free nor Fair:
  Burma’s Sham Elections



Sex Laws in Thailand:
  Part 1



Renewable Energy
  in Thailand



Transsexuals and
  Thai Law



Foreign Mafia in
  Thailand

Thailand Lawyer Blog:
 Thai Government to
  Review Post-2006
  Prosecutions
 Courts Order Thai
  Military to Cease
  Labeling Transsexuals
  as Mentally Ill
 Work Permit Law
  Changes in Thailand
 Bahamian Supreme Court
  Ruling Backs
  Prenuptial Agreement
 The US FATCA:
  “The Neutron Bomb
  the Global Financial
  System”?
 The Effects of the US
  Government’s Policies
  on Americans Living
  Abroad
 Chinese Assimilation
  in Thailand vs. Malaysia
 Illegal Wildlife
  Trafficking in Asia:
  Thailand as a Hub?
 Rabbi Enforcing
  Jewish Divorce Order
  Arrested by FBI
 U.S. Prenuptial
  Agreements in Thailand:
  Why Thai Law is
  Important
 US Immigration in
  Decline?
 Abortion and Family
  Planning Law in
  the Philippines
 U.S. Courts and the
  Application of Foreign
  Law to International
  Prenuptial Agreements
 Thailand Blasted by 2011
  Human Trafficking Report
 US Expats on Alert:
  New US Tax Law
  Extends IRS’s Reach
  Internationally
 Hangover 2 and
  the Thai Censors
 Thailand’s Film
  Industry Steps Up

Support:

Content for the Thailand Law Forum has been developed with the assistance of Chaninat and Leeds.  They provide a variety of legal professional services, specializing in Thailand criminal defense cases.



 

(บี) ถ้าหากกฎหมายภายในของรัฐภาคีอนุญาตให้ทำได้ สำนักงานในประเทศของรัฐนั้นหรือที่กระทำการแทนรัฐนั้น อาจนำคำขอในประเทศใดๆ ที่ได้ยื่นไว้ต่อตนมาทำการตรวจค้นแบบระหว่างประเทศก็ได้
(ซี) การตรวจค้นแบบระหว่างประเทศให้ดำเนินการโดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศที่กล่าวถึงในข้อ 16 ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจค้นระหว่างประเทศถ้าคำขอในประเทศนั้นเป็นคำขอระหว่างประเทศที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานที่กล่าวถึงในอนุวรรค (เอ) และ (บี) ถ้าหากคำขอในประเทศได้ใช้ภาษาซึ่งองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศเห็นว่าไม่มีศักยภาพที่จะพิจารณาได้ ให้ทำการตรวจค้นแบบระหว่างประเทศโดยอาศัยคำแปลที่ผู้ยื่นคำขอได้จัดทำเป็น ภาษาที่กำหนดไว้สำหรับคำขอระหว่างประเทศ ซึ่งองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศยอมรับที่จะพิจารณาให้ ทั้งนี้ คำขอในประเทศ และคำแปลตามที่กำหนด จะต้องอยู่ในรูปแบบที่กำหนดไว้สำหรับคำขอระหว่างประเทศ

ข้อ 16
องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ

(1) การตรวจค้นระหว่างประเทศให้ดำเนินการโดยองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศซึ่งอาจจะเป็นสำนักงานในประเทศ หรือองค์การระดับระหว่างประเทศ เช่น สถาบันสิทธิบัตรระหว่างประเทศก็ได้ ซึ่งจะมีภาระหน้าที่ในการจัดทำรายงานการตรวจค้นเอกสารเพื่อค้นหางานที่ปรากฏอยู่แล้วที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ตามคำขอด้วย
(2) ในระหว่างที่ยังมิได้รวมศูนย์องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศให้มีเพียงแห่งเดียว ถ้ามีองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศอยู่หลายแห่ง ให้สำนักงานรับคำขอแต่ละแห่งระบุชื่อองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศแห่งหนึ่งหรือหลายแห่งให้มีอำนาจในการตรวจค้นคำขอระหว่างประเทศที่ได้ยื่นต่อสำนักงานรับคำขอนั้น ตามบทบัญญัติของความตกลงที่ใช้บังคับตามที่กล่าวถึงในวรรค (3) (บี)
(3) (เอ) องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชา สำนักงานในประเทศใดและองค์การระดับระหว่างประเทศใดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนดในอนุวรรค (ซี) อาจได้รับแต่งตั้งเป็นองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศก็ได้
(บี) การแต่งตั้งให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสำนักงานในประเทศหรือองค์การระดับระหว่างประเทศที่จะได้รับแต่งตั้ง และความตกลงระหว่างสำนักงานหรือองค์การนั้นกับสำนักระหว่างประเทศโดยได้รับความเห็นชอบจากสมัชชา ในความตกลงนั้นให้ระบุสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำสัญญาอย่างเป็นทางการของสำนักงานหรือองค์การนั้นว่าจะบังคับใช้และปฏิบัติตามหลักสามัญของการตรวจค้นระหว่างประเทศ
(ซี) ในข้อบังคับมีข้อกำหนดขั้นต่ำ โดยเฉพาะเรื่องอัตรากำลังบุคลากรและการจัดเตรียมเอกสาร ซึ่งสำนักงานในประเทศหรือองค์การใดๆ จะต้องมีให้พร้อมก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งได้ และจะต้องมีให้พร้อมตลอดระยะเวลาที่ได้รับการแต่งตั้ง
(ดี) การแต่งตั้งจะต้องกำหนดระยะเวลาไว้ แต่อาจขยายเวลาออกไปอีกได้
(อี) ก่อนที่สมัชชาจะพิจารณาชี้ขาดในเรื่องการแต่งตั้งสำนักงานในประเทศหรือองค์การระดับระหว่างประเทศใดๆ หรือเรื่องการขยายระยะเวลาการแต่งตั้ง หรือก่อนที่จะปล่อยให้ระยะเวลาการแต่งตั้งสิ้นสุดลง สมัชชาจะต้องฟังสำนักงานหรือองค์การที่มีส่วนได้เสีย และหารือคณะกรรมการความร่วมมือทางวิชาการที่กล่าวถึงในข้อ 56 เมื่อมีการจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นแล้ว

ข้อ 17
การดำเนินการขององค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ

(1) การดำเนินการขององค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของสนธิสัญญา ข้อบังคับ และความตกลงที่สำนักระหว่างประเทศทำกับสำนักงานดังกล่าวตามสนธิสัญญาฉบับนี้และข้อบังคับ
(2) (เอ) หากองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศพิจารณาเห็นว่า
(i) คำขอระหว่างประเทศเกี่ยวข้องกับเรื่องที่องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศไม่จำเป็นต้องตรวจค้นตามข้อบังคับ และเป็นกรณีตัดสินใจจะไม่ตรวจค้น หรือ
(ii) รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ หรือรูปเขียนนั้นไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจนถึงขนาดที่ไม่สามารถทำการตรวจค้นให้ดีได้ให้องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศประกาศเช่นนั้นและแจ้งไปยังผู้ยื่นคำขอและสำนักระหว่างประเทศว่าจะไม่จัดทำรายงานการตรวจค้นระหว่างประเทศ
(บี) ถ้าพบว่ามีเหตุใดๆ ที่กล่าวถึงในอนุวรรค (เอ) สัมพันธ์กับข้อถือสิทธิบางข้อเท่านั้น ให้ระบุเหตุการณ์ดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับข้อถือสิทธินั้นในรายงานการตรวจค้นระหว่างประเทศ แต่สำหรับข้อถือสิทธิอื่น ให้จัดทำรายงานตามที่บัญญัติในข้อ 18
(3) (เอ) ถ้าองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศพิจารณาเห็นว่า คำขอระหว่างประเทศไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเรื่องความเป็นเอกภาพของการประดิษฐ์ตามที่กำหนดในข้อบังคับ ให้องค์กรแจ้งไปยังผู้ยื่นคำขอให้ชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ให้องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศจัดทำรายงานการตรวจค้นระหว่างประเทศในส่วนของคำขอระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ที่กล่าวถึงครั้งแรกในข้อถือสิทธินั้น (“การประดิษฐ์หลัก”) และให้จัดทำรายงานการตรวจค้นระหว่างประเทศในส่วนของคำขอระหว่างประเทศที่มีการชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมต่อเมื่อได้มีการชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมดังกล่าวภายในกรอบเวลาที่กำหนดแล้ว
(บี) กฎหมายภายในของรัฐที่ได้รับมอบหมายอาจกำหนดว่า หากสำนักงานในประเทศของรัฐนั้นพบว่าการแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอไปชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมตามที่บัญญัติในอนุวรรค (เอ) ขององค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศเป็นไปโดยชอบแล้ว และหากผู้ยื่นคำขอยังมิได้ชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมทั้งหมด ให้ถือว่าคำขอระหว่างประเทศในส่วนที่ยังมิได้ตรวจค้นเพราะเหตุที่ยังมิได้ชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมนั้นถูกถอน เท่าที่เกี่ยวข้องกับผลที่เกิดในรัฐนั้น เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอจะได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่สำนักงานในประเทศของรัฐนั้น

ข้อ 18
รายงานการตรวจค้นระหว่างประเทศ

(1) ให้จัดทำรายงานการตรวจค้นระหว่างประเทศภายในกรอบเวลาและรูปแบบที่กำหนด
(2) ให้องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศจัดส่งรายงานการตรวจค้นระหว่างประเทศไปให้ผู้ยื่นคำขอและสำนักระหว่างประเทศในทันทีที่จัดทำรายงานดังกล่าวแล้ว
(3) รายงานการตรวจค้นระหว่างประเทศ หรือคำประกาศที่กล่าวถึงในข้อ 17 (2) (เอ) จะต้องได้รับการแปลตามที่กำหนดในข้อบังคับ การแปลดังกล่าว ให้จัดเตรียมโดยสำนักระหว่างประเทศ หรือภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักระหว่างประเทศ

ข้อ 19
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อถือสิทธิที่สำนักระหว่างประเทศ

(1) ภายหลังจากได้รับรายงานการตรวจค้นระหว่างประเทศ ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิแก้ไขเพิ่มเติมข้อถือสิทธิในคำขอรับระหว่างประเทศได้หนึ่งครั้ง โดยยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อสำนักระหว่างประเทศภายในกรอบเวลาที่กำหนด ในขณะเดียวกันผู้ยื่นคำขออาจยื่นคำชี้แจงโดยย่อตามที่กำหนดในข้อบังคับ อธิบายเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม และชี้แจงผลกระทบที่อาจเกิดต่อรายละเอียดการประดิษฐ์และรูปเขียนนั้นก็ได้
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องไม่เกินไปกว่าการประดิษฐ์ที่ได้เปิดเผยไว้ในคำขอรับระหว่างประเทศที่ยื่นไว้แล้ว
(3) ถ้าหากกฎหมายภายในของประเทศที่ได้รับมอบหมายประเทศใดอนุญาตให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเกินไปกว่าการประดิษฐ์ที่ได้เปิดเผยไว้ได้ การไม่ปฏิบัติตามวรรค (2) จะไม่ก่อให้เกิดผลใดๆ ในประเทศนั้น

ข้อ 20
การสื่อสารไปยังสำนักงานที่ได้รับมอบหมาย

(1) (เอ) คำขอระหว่างประเทศ พร้อมกับรายงานการตรวจค้นระหว่างประเทศ (รวมทั้งการระบุข้อมูลที่กล่าวถึงในข้อ 17 (2) (บี)) หรือคำประกาศตามข้อ 17 (2) (เอ) จะต้องถูกสื่อสารไปยังสำนักงานที่ได้รับมอบหมายทุกแห่ง ตามที่กำหนดในข้อบังคับ เว้นแต่สำนักงานที่ได้รับมอบหมายจะสละสิทธิในข้อกำหนดดังกล่าวนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน (บี) การสื่อสาร ให้รวมถึง คำแปล (ตามที่กำหนด) ของรายงานหรือคำประกาศดังกล่าวด้วย
(2) หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อถือสิทธิตามข้อ 19 (1) การสื่อสารจะต้องมีข้อความทั้งหมดของข้อถือสิทธิที่ได้ยื่นไว้และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม หรือมีข้อความทั้งหมดของข้อถือสิทธิที่ได้ยื่นไว้ พร้อมทั้งระบุส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติม อย่างใดอย่างหนึ่ง และให้รวมถึงคำชี้แจงที่กล่าวถึงในข้อ 19 (1) ด้วย (ถ้ามี)

 


Next Page
[1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  [10]  [11]  [12]  [13]  [14]  [15]

 

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)