Quick Links: Thailand Law Seminars and Conference | Thai Law Forum Past Issues | About Thailand Law Forum | Advertising Guidelines | Publishing Guidelines

Feature Articles :

History of Cannabis
  and Anti-Marijuana
  Laws in Thailand



Thailand’s Notable
  Criminal Extradition
  Cases


Guide for Tourists
  to Laws in Thailand



Neither Free nor Fair:
  Burma’s Sham Elections



Sex Laws in Thailand:
  Part 1



Renewable Energy
  in Thailand



Transsexuals and
  Thai Law



Foreign Mafia in
  Thailand

Submissions :

Chaninat & Leeds—a law firm managed by an American lawyer in Bangkok—provides support for this website. They are well-known for their legal assistance in cases of family law, including paternity rights in Thailand.



 

ข้อ 46
คำแปลที่ไม่ถูกต้องของคำขอระหว่างประเทศ

ถ้าขอบเขตของสิทธิบัตรที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วเกินไปกว่าขอบเขตของคำขอระหว่างประเทศในภาษาต้นฉบับ เนื่องมาจากคำแปลที่ไม่ถูกต้องของคำขอระหว่างประเทศ องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ของรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องอาจจำกัดขอบเขตสิทธิบัตรนั้นโดยให้มีผลย้อนหลัง และประกาศให้ขอบเขตที่เกินไปจากขอบเขตในคำขอระหว่างประเทศตามภาษาต้นฉบับตกเป็นโมฆะ

ข้อ 47
กรอบเวลา

(1) รายละเอียดสำหรับการคำนวณนับกรอบเวลาที่กล่าวถึงในสนธิสัญญาฉบับนี้ให้เป็นไปตามข้อบังคับ
(2) (เอ) กรอบเวลาทั้งหมดที่กำหนดในหมวด 1 และ หมวด 2 ของสนธิสัญญาฉบับนี้ที่นอกเหนือจากการปรับปรุงบทบัญญัติใดๆ ตามข้อ 60 อาจมีการปรับแก้ได้โดยคำวินิจฉัยของรัฐภาคีได้
(บี) คำวินิจฉัยดังกล่าวให้กระทำในสมัชชาหรือโดยการลงคะแนนเสียงทางจดหมายโต้ตอบและต้องเป็นมติเอกฉันท์
(ซี) รายละเอียดของการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับ

ข้อ 48
ความล่าช้ากว่ากรอบเวลาในบางกรณี

(1) ในกรณีที่ดำเนินการไม่ทันตามกรอบเวลาใดๆ ที่กำหนดในสนธิสัญญาฉบับนี้หรือข้อบังคับเพราะเหตุขัดข้องทางบริการไปรษณีย์ หรือความเสียหายอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรือความล่าช้าในระบบไปรษณีย์ ให้ถือว่าได้ดำเนินการทันตามกรอบเวลาในกรณีนั้นๆ แล้ว โดยขึ้นอยู่กับการพิสูจน์และเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนดในข้อบังคับ
(2) (เอ) รัฐภาคีใดๆ อาจยอมรับฟังข้ออ้างในเหตุล่าช้าใดๆ ที่ไม่อาจดำเนินการได้ทันตามกรอบเวลา เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศนั้น ด้วยเหตุผลที่ยอมรับได้ตามกฎหมายภายในของประเทศนั้น
(บี) รัฐภาคีใดๆ อาจยอมรับฟังข้ออ้างในเหตุล่าช้าใดๆ ที่ไม่อาจดำเนินการได้ทันตามกรอบเวลา เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศนั้น ด้วยเหตุผลอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวถึงในอนุวรรค (เอ) ก็ได้

ข้อ 49
สิทธิที่จะดำเนินการต่อองค์กรระหว่างประเทศ

ทนายความ ตัวแทนสิทธิบัตร หรือบุคคลอื่นใดที่มีสิทธิดำเนินการต่อสำนักงานในประเทศที่คำขอระหว่างประเทศนั้นถูกยื่น มีสิทธิดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอนั้นต่อสำนักระหว่างประเทศ และองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศที่มีอำนาจหน้าที่ และองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศที่มีอำนาจหน้าที่ด้วย

หมวด 4
บริการทางเทคนิค

ข้อ 50
บริการข้อมูลทางด้านสิทธิบัตร

(1) สำนักระหว่างประเทศอาจจัดให้มีบริการทางเทคนิค และข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ในรูปของเอกสารที่มีการตีพิมพ์ สิทธิบัตรดั้งเดิมและคำขอที่ประกาศโฆษณาแล้ว (ซึ่งในข้อนี้ให้เรียกว่า “บริการข้อมูล”)
(2) สำนักระหว่างประเทศอาจให้บริการข้อมูลเหล่านี้ ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยผ่านองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งหรือมากกว่านั้น หรือสถาบันผู้ชำนาญการในประเทศหรือระหว่างประเทศอื่นๆ ที่สำนักระหว่างประเทศอาจทำความตกลงด้วยได้
(3) การให้บริการข้อมูล ให้ดำเนินการไปในทางที่จะช่วยอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษให้แก่รัฐภาคีซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ให้ได้รับความรู้ทางเทคนิคและเทคโนโลยี รวมทั้งองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งได้ประกาศโฆษณาแล้ว
(4) ให้มีการบริการข้อมูลแก่รัฐบาลของรัฐภาคี และผู้มีสัญชาติ และผู้มีภูมิลำเนาในรัฐเหล่านั้นสมัชชาอาจอนุญาตให้บริการเหล่านี้แก่ผู้อื่นอีกด้วยก็ได้
(5) (เอ) การให้บริการใดๆ แก่รัฐบาลของรัฐภาคีให้คิดค่าใช้จ่ายในราคาต้นทุน แต่ถ้าเป็นรัฐบาลของรัฐภาคีซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ให้คิดค่าใช้จ่ายในราคาต่ำกว่าต้นทุน ถ้าส่วนต่างนั้นสามารถนำผลกำไรที่ได้รับจากการให้บริการแก่ผู้อื่นที่มิใช่รัฐบาลของรัฐภาคี หรือจากแหล่งต่างๆ ที่กล่าวถึงในข้อ 51 (4) มาชดเชยให้ได้
(บี) ต้นทุนที่กล่าวถึงในอนุวรรค (เอ) นั้น ให้เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากและนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายปกติที่เกิดจากการให้บริการต่างๆ ของสำนักงานในประเทศหรือพันธกรณีขององค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ
(6) รายละเอียดเกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งข้อนี้ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของสมัชชา และคณะทำงานที่สมัชชาอาจจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์นี้ ทั้งนี้ ภายใต้ขอบเขตตามที่สมัชชากำหนด
(7) หากสมัชชาเห็นว่ามีความจำเป็น ให้สมัชชาเสนอแนะวิธีการจัดหาเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้แก่การดำเนินการที่กล่าวถึงในวรรค (5)

ข้อ 51
ความช่วยเหลือทางเทคนิค

(1) ให้สมัชชาจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความช่วยเหลือทางเทคนิคขึ้นคณะหนึ่ง (ในข้อนี้ให้เรียกว่า “คณะกรรมการ”)
(2) (เอ) ให้เลือกสมาชิกของคณะกรรมการจากรัฐภาคีด้วยกัน โดยให้คำนึงถึงการเป็นตัวแทนของประเทศกำลังพัฒนาด้วย
(บี) ให้ผู้อำนวยการใหญ่เชิญผู้แทนองค์การระดับระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ประเทศกำลังพัฒนาเข้าร่วมในการทำงานของคณะกรรมการ โดยการริเริ่มของผู้อำนวยการใหญ่เอง หรือตามการร้องขอของคณะกรรมการ
(3) (เอ) คณะกรรมการ มีหน้าที่ในการจัดการและกำกับดูแลการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่รัฐภาคีซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนาระบบสิทธิบัตรเป็นรายประเทศหรือทั้งภูมิภาค
(บี) การให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค ให้ประกอบด้วย การฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญการให้ยืมตัวผู้เชี่ยวชาญและการจัดหาเครื่องมือเพื่อการสาธิตและเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน เป็นต้น
(4) ให้สำนักระหว่างประเทศพยายามทำความตกลงกับองค์การทางการเงินระหว่างประเทศต่างๆ และองค์การระดับระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์การสหประชาชาติ หน่วยงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติและหน่วยงานชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้องกับองค์การสหประชาชาติในเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคทางหนึ่ง และอีกทางหนึ่งให้ทำความตกลงกับรัฐบาลของประเทศผู้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค เพื่อจัดหาเงินทุนให้แก่โครงการต่างๆ ตามข้อนี้
(5) รายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามบทบัญญัติของข้อนี้ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของสมัชชา และของคณะทำงานที่สมัชชาอาจจัดตั้งขึ้นเพื่อการนั้น ทั้งนี้ ภายใต้ขอบเขตตามที่สมัชชากำหนด

ข้อ 52
ความสัมพันธ์กับบทบัญญัติอื่นๆ แห่งสนธิสัญญานี้

ห้ามมิให้บทบัญญัติในหมวดนี้กระทบกระเทือนบทบัญญัติทางการเงิน ที่บัญญัติไว้ในหมวดอื่นของสนธิสัญญาฉบับนี้ และห้ามนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับกับหมวดนี้ หรือการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้


Next Page
[1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  [10]  [11]  [12]  [13]  [14]  [15]

 
 

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)