Quick Links: Thailand Law Seminars and Conference | Thai Law Forum Past Issues | About Thailand Law Forum | Advertising Guidelines | Publishing Guidelines

Feature Articles :

History of Cannabis
  and Anti-Marijuana
  Laws in Thailand



Thailand’s Notable
  Criminal Extradition
  Cases


Guide for Tourists
  to Laws in Thailand



Neither Free nor Fair:
  Burma’s Sham Elections



Sex Laws in Thailand:
  Part 1



Renewable Energy
  in Thailand



Transsexuals and
  Thai Law



Foreign Mafia in
  Thailand

Submissions :

Chaninat & Leeds—a law firm managed by an American lawyer in Bangkok—provides support for this website. They are well-known for their legal assistance in cases of family law, including paternity rights in Thailand.



 

ข้อ 38
ลักษณะอันเป็นความลับของการตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ

(1) เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอร้องขอหรืออนุญาตให้กระทำได้ ห้ามมิให้สำนักระหว่างประเทศหรือองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศยินยอมให้บุคคลหรือองค์กรใดเข้าถึง แฟ้มข้อมูลการตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ ตามความหมายและหลักเกณฑ์ในข้อ 30 (4) ไม่ว่าเวลาใดเว้นแต่เป็นการยินยอมให้สำนักงานที่ถูกเลือกเข้าถึงแฟ้มข้อมูลดังกล่าวเมื่อรายงานการตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศได้จัดทำเสร็จสิ้นแล้ว
(2) ภายใต้บังคับของบทบัญญัติในวรรค (1) และข้อ 36 (1) และ (3) และข้อ 37 (3) (บี) ห้ามมิให้สำนักระหว่างประเทศหรือองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศให้ข้อมูลเกี่ยวกับการออกหรือไม่ออกรายงานการตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ และการถอนหรือไม่ถอนคำร้องหรือการเลือกใดๆ เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอร้องขอหรืออนุญาตให้กระทำได้

ข้อ 39
การส่งสำเนา คำแปล และค่าธรรมเนียม ให้แก่สำนักงานที่ถูกเลือก

(1) (เอ) ถ้าได้มีการเลือกรัฐภาคีแล้วก่อนครบกำหนด 19 เดือนนับแต่วันยื่นคำขอครั้งแรก ห้ามมิให้นำบทบัญญัติข้อ 22 มาใช้บังคับแก่รัฐภาคีนั้นและให้ผู้ยื่นคำขอจัดส่งสำเนาคำขอระหว่างประเทศ (เว้นแต่ได้มีการสื่อสารตามที่กำหนดในข้อ 20 แล้ว) และคำแปลคำขอระหว่างประเทศ (ตามที่กำหนด) และชำระค่าธรรมเนียมในประเทศ (ถ้ามี) ไปยังสำนักงานที่ถูกเลือกแต่ละแห่งก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลา 30 เดือนนับแต่วันยื่นคำขอครั้งแรก (บี) กฎหมายภายในประเทศใดๆ อาจกำหนดกรอบเวลาสำหรับการดำเนินการตามอนุวรรค(เอ)ให้สิ้นสุดภายหลังจากกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในอนุวรรคดังกล่าวก็ได้
(2) ถ้าผู้ยื่นคำขอมิได้ปฏิบัติตามที่กล่าวไว้ในวรรค (1) (เอ) ภายในกรอบเวลาที่ใช้บังคับตามวรรค (1) (เอ) หรือ (บี) ให้ผลตามที่บัญญัติในข้อ 11 (3) สิ้นสุดลงในรัฐที่ถูกเลือก โดยมีผลเช่นเดียวกับการขอถอนคำขอในประเทศในรัฐนั้น
(3) สำนักงานที่ถูกเลือกใดๆ อาจคงไว้ซึ่งผลตามข้อ 11 (3) ถึงแม้ว่าผู้ยื่นคำขอจะมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่บัญญัติในวรรค (1) (เอ) หรือ (บี) ข้อ 40 การชะลอการตรวจสอบภายในประเทศและกระบวนการอื่น
(1) ถ้าการเลือกรัฐภาคีใดๆ เกิดขึ้นก่อนสิ้นสุดเดือนที่ 19 นับจากวันยื่นคำขอครั้งแรกห้ามมิให้นำบทบัญญัติในข้อ 23 มาบังคับใช้กับรัฐภาคีนั้น ละภายใต้บังคับบทบัญญัติวรรค (2) ห้ามมิให้สำนักงานในประเทศของรัฐนั้น หรือที่ทำการแทนรัฐนั้น เริ่มการตรวจสอบหรือการ ดำเนินการอื่นๆ กับคำขอระหว่างประเทศก่อนวันสิ้นสุดกรอบเวลาที่ใช้บังคับได้ตามข้อ 39
(2) โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติใน (1) เมื่อผู้ยื่นคำขอร้องขออย่างชัดแจ้ง สำนักงานที่ถูกเลือกใดๆอาจเริ่มการตรวจสอบและกระบวนการอื่นกับคำขอระหว่างประเทศในเวลาใดก็ได้

ข้อ 41
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อถือสิทธิ รายละเอียดการประดิษฐ์
และรูปเขียน ต่อสำนักงานที่ถูกเลือก

(1) ผู้ยื่นคำขอจะต้องมีโอกาสที่จะแก้ไขเพิ่มเติมข้อถือสิทธิ รายละเอียดการประดิษฐ์และ รูปเขียนต่อสำนักงานที่ถูกเลือกแต่ละแห่ง ภายในกรอบเวลาที่กำหนด ห้ามมิให้สำนักงานที่ถูกเลือกรับจดทะเบียนสิทธิบัตร หรือปฏิเสธการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรก่อนวันสิ้นสุดกรอบเวลาดังกล่าว เว้นแต่ได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากผู้ยื่นคำขอ
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องไม่เกินไปกว่าที่ได้เปิดเผยไว้ในคำขอระหว่างประเทศที่ได้ยื่นไว้เว้นแต่กฎหมายภายในของรัฐที่ถูกเลือกจะยินยอมให้แก้ไขเพิ่มเติมเกินไปกว่าที่ได้เปิดเผย ดังกล่าวได้
(3) การแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามกฎหมายภายในของรัฐที่ถูกเลือก ในทุกประเด็นที่มิได้กำหนดไว้ในสนธิสัญญาฉบับนี้และข้อบังคับ
(4) ในกรณีที่สำนักงานที่ถูกเลือกกำหนดให้ต้องมีคำแปลของคำขอระหว่างประเทศ การแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องทำเป็นภาษาเดียวกับคำแปลนั้นด้วย

ข้อ 42
ผลของการตรวจสอบในประเทศของสำนักงานที่ถูกเลือก

ห้ามมิให้สำนักงานที่ถูกเลือกซึ่งได้รับรายงานการตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศแล้วกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอจัดให้มีสำเนาหรือข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาของเอกสารใด ี่เชื่อมโยงกับการตรวจสอบที่เกี่ยวกับคำขอระหว่างประเทศฉบับเดียวกันในสำนักงานที่ถูกเลือกอื่นใด

หมวด 3
บทบัญญัติสามัญ

ข้อ 43
การขอรับความคุ้มครองบางประเภท

ในกรณีที่รัฐที่ได้รับมอบหมายหรือรัฐที่ถูกเลือกมีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสำหรับหนังสือรับรองผู้ประดิษฐ์ หนังสือรับรองอรรถประโยชน์ อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรหรือหนังสือรับรองการต่อยอดการประดิษฐ์ หนังสือรับรองผู้ประดิษฐ์ที่มีการต่อยอดการประดิษฐ์ หรือหนังสือรับรองอรรถประโยชน์ที่ต่อยอดการประดิษฐ์ ผู้ยื่นคำขออาจระบุตามที่กำหนดในข้อบังคับว่า คำขอระหว่างประเทศของตนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐนั้น เป็นการขอรับหนังสือรับรองผู้ประดิษฐ์หนังสือรับรองอรรถประโยชน์ อนุสิทธิบัตร มิใช่การขอรับสิทธิบัตร หรือเป็นการขอรับสิทธิบัตรหรือหนังสือรับรองการต่อยอดการประดิษฐ์ หนังสือรับรองผู้ประดิษฐ์ที่มีการต่อยอดการประดิษฐ์หรือหนังสือรับรองอรรถประโยชน์ที่ต่อยอดการประดิษฐ์ และให้ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามที่ผู้ยื่นคำขอเลือก เพื่อประโยชน์แห่งข้อนี้และข้อบังคับใดๆ ตามข้อนี้ ห้ามมิให้นำข้อ 2 (ii) มาใช้บังคับ

ข้อ 44
การขอรับความคุ้มครองสองประเภท

ในกรณีที่รัฐที่ได้รับมอบหมายหรือรัฐที่ถูกเลือกมีกฎหมายที่อนุญาตให้คำขอ ที่อยู่ระหว่างการขอรับสิทธิบัตรหรือความคุ้มครองประเภทอื่นที่กล่าวถึงในข้อ 43 เป็นคำขอรับความคุ้มครองอีกประเภทหนึ่งด้วยก็ได้ ในการนี้ผู้ยื่นคำขออาจระบุความคุ้มครองทั้งสองประเภทที่ต้องการขอรับตามที่กำหนดในข้อบังคับ และให้ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามที่ผู้ยื่นคำขอระบุ เพื่อประโยชน์แห่งข้อนี้ ห้ามมิให้นำข้อ 2 (ii) มาใช้บังคับ

ข้อ 45
สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิบัตรภูมิภาค

(1) สนธิสัญญาใดที่บัญญัติเกี่ยวกับการขอรับสิทธิบัตรภูมิภาค (“สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิบัตรภูมิภาค”) และให้สิทธิในการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าวแก่บุคคลทุกคนซึ่งตามบทบัญญัติแห่งข้อ 9 เป็นผู้มีสิทธิยื่นคำขอระหว่างประเทศ สนธิสัญญานั้นอาจกำหนดให้คำขอระหว่างประเทศที่มอบหมายหรือเลือกรัฐที่เป็นภาคีทั้งสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิบัตรภูมิภาคและสนธิสัญญาฉบับนี้ ยื่นเป็นคำขอรับสิทธิบัตรภูมิภาคด้วยก็ได้
(2) กฎหมายภายในของรัฐที่ได้รับมอบหมายหรือรัฐที่ถูกเลือกดังกล่าวอาจกำหนดให้การมอบหมายหรือการเลือกรัฐนั้นในคำขอระหว่างประเทศ มีผลเป็นการแสดงความประสงค์ที่จะขอรับสิทธิบัตรภูมิภาคตามสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิบัตรภูมิภาค


Next Page
[1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  [10]  [11]  [12]  [13]  [14]  [15]

 
 

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)