Quick Links: Thailand Law Seminars and Conference | Thai Law Forum Past Issues | About Thailand Law Forum | Advertising Guidelines | Publishing Guidelines

Feature Articles :

History of Cannabis
  and Anti-Marijuana
  Laws in Thailand



Thailand’s Notable
  Criminal Extradition
  Cases


Guide for Tourists
  to Laws in Thailand



Neither Free nor Fair:
  Burma’s Sham Elections



Sex Laws in Thailand:
  Part 1



Renewable Energy
  in Thailand



Transsexuals and
  Thai Law



Foreign Mafia in
  Thailand

Thailand Lawyer Blog:
 Thai Government to
  Review Post-2006
  Prosecutions
 Courts Order Thai
  Military to Cease
  Labeling Transsexuals
  as Mentally Ill
 Work Permit Law
  Changes in Thailand
 Bahamian Supreme Court
  Ruling Backs
  Prenuptial Agreement
 The US FATCA:
  “The Neutron Bomb
  the Global Financial
  System”?
 The Effects of the US
  Government’s Policies
  on Americans Living
  Abroad
 Chinese Assimilation
  in Thailand vs. Malaysia
 Illegal Wildlife
  Trafficking in Asia:
  Thailand as a Hub?
 Rabbi Enforcing
  Jewish Divorce Order
  Arrested by FBI
 U.S. Prenuptial
  Agreements in Thailand:
  Why Thai Law is
  Important
 US Immigration in
  Decline?
 Abortion and Family
  Planning Law in
  the Philippines
 U.S. Courts and the
  Application of Foreign
  Law to International
  Prenuptial Agreements
 Thailand Blasted by 2011
  Human Trafficking Report
 US Expats on Alert:
  New US Tax Law
  Extends IRS’s Reach
  Internationally
 Hangover 2 and
  the Thai Censors
 Thailand’s Film
  Industry Steps Up

Appreciation:

Materials for this website has been provided with help from Chaninat & Leeds, a Thailand law firm specializing in corporate and family law, including US K1 visas for Thai nationals.



 

ข้อ 4
คำร้อง

(1) คำร้องต้องประกอบด้วย
(i) คำร้องขอให้ดำเนินการพิจารณาคำขอระหว่างประเทศตามสนธิสัญญานี้
(ii) การระบุรัฐภาคีหนึ่งหรือหลายรัฐเพื่อขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์โดยผลของคำขอระหว่างประเทศ (“รัฐที่ได้รับมอบหมาย”) ถ้าสามารถขอรับสิทธิบัตรภูมิภาคสำหรับรัฐที่ได้รับมอบหมายได้ และผู้ยื่นคำขอประสงค์จะขอรับสิทธิบัตรภูมิภาคมากกว่าสิทธิบัตรใน
ประเทศ ให้ระบุความประสงค์ดังกล่าวไว้ในคำขอถ้าตามสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิบัตรภูมิภาคผู้ยื่นคำขอไม่สามารถจำกัดคำขอให้มีผลแต่เฉพาะบางรัฐที่เป็นภาคีแห่งสนธิสัญญานั้นได้ การระบุรัฐภาคีแห่งสนธิสัญญาดังกล่าวรัฐใดรัฐหนึ่ง และระบุว่าประสงค์จะขอรับสิทธิบัตรภูมิภาค ให้ถือว่าเป็นการระบุรัฐที่เป็นภาคีแห่งสนธิสัญญานั้นทุกรัฐ และถ้าตามกฎหมายภายในของรัฐที่ได้รับมอบหมาย กำหนดให้การระบุรัฐนั้นมีผลเป็นคำขอรับสิทธิบัตรภูมิภาค ให้ถือว่าการระบุรัฐ
ดังกล่าวเป็นการระบุความประสงค์ที่จะขอรับสิทธิบัตรภูมิภาค
(iii) ชื่อและข้อมูลอื่นที่กำหนดเกี่ยวกับผู้ยื่นคำขอและตัวแทน (ถ้ามี)
(iv) ชื่อการประดิษฐ์
(v) ชื่อและข้อมูลอื่นที่กำหนดเกี่ยวกับนักประดิษฐ์ ในกรณีที่กฎหมายภายในของรัฐที่ได้รับมอบหมายอย่างน้อยหนึ่งรัฐกำหนดให้ต้องมีข้อมูลนั้นในขณะยื่นคำขอในประเทศ แต่ถ้าไม่มีกฎหมายภายในกำหนดเช่นนั้น การจัดให้มีชื่อและข้อมูลอื่นที่กำหนดเกี่ยวกับนักประดิษฐ์ อาจทำในคำร้องนั้นเอง หรือแยกแจ้งเป็นหนังสือไปยังสำนักงานที่ได้รับมอบหมายแต่ละสำนักงาน ซึ่งมีกฎหมายภายในกำหนดให้ต้องมีชื่อและข้อมูลอื่นที่กำหนดเกี่ยวกับนักประดิษฐ์ แต่อนุญาตให้แจ้งข้อมูลดังกล่าวภายหลังจากการยื่นคำขอในประเทศได้
(2) การระบุรัฐทุกครั้งต้องชำระค่าธรรมเนียมตามที่กำหนด ภายในกรอบเวลาที่กำหนด
(3) เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอต้องการขอรับความคุ้มครองประเภทอื่นใดที่กล่าวถึงในข้อ 43 การระบุรัฐ ให้หมายความว่า ความคุ้มครองที่ประสงค์จะได้รับ ประกอบด้วยการให้สิทธิบัตรโดยหรือสำหรับรัฐที่ได้รับมอบหมาย เพื่อประโยชน์ของวรรคนี้ มิให้นำข้อ 2 (ii) มาใช้บังคับ
(4) การไม่ระบุชื่อและข้อมูลอื่นที่กำหนดเกี่ยวกับนักประดิษฐ์ในคำร้อง จะไม่มีผลกระทบในรัฐที่ได้รับมอบหมายใดๆ ซึ่งมีกฎหมายภายในกำหนดให้ต้องมีข้อมูลดังกล่าว แต่
อนุญาตให้แจ้งภายหลังจากการยื่นคำขอในประเทศได้ การไม่ระบุข้อมูลดังกล่าวในหนังสือแจ้งแยกต่างหากจากคำร้อง จะไม่มีผลกระทบในรัฐที่ได้รับมอบหมายใดๆ ที่กฎหมายภายในของรัฐนั้นมิได้กำหนดให้ต้องมีชื่อและข้อมูลดังกล่าว

ข้อ 5
รายละเอียดการประดิษฐ์

รายละเอียดการประดิษฐ์จะต้องเปิดเผยการประดิษฐ์ในลักษณะที่ชัดเจนและสมบูรณ์เพียงพอที่จะทำให้บุคคลผู้มีความชำนาญในสาขานั้นสามารถทำขึ้นมาได้

ข้อ 6
ข้อถือสิทธิ

ข้อถือสิทธิจะต้องระบุสิ่งที่ประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง ข้อถือสิทธิจะต้องชัดเจนรัดกุม และมีรายละเอียดการประดิษฐ์รองรับอย่างครบถ้วน

ข้อ 7
รูปเขียน

(1) ภายใต้บังคับของบทบัญญัติในวรรค (2) (ii) จะต้องมีรูปเขียนในกรณีที่จำเป็นเพื่อให้สามารถเข้าใจการประดิษฐ์ได้
(2) ในกรณีที่รูปเขียนไม่มีความจำเป็นต่อการทำความเข้าใจการประดิษฐ์ แต่ลักษณะการประดิษฐ์สามารถอธิบายได้ด้วยรูปเขียน
(i) ผู้ยื่นคำขออาจยื่นรูปเขียนดังกล่าวมาพร้อมกับคำขอระหว่างประเทศก็ได้
(ii) สำนักงานที่ได้รับมอบหมายใดๆ อาจกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอยื่นรูปเขียนนั้นต่อสำนักงานภายในกรอบเวลาที่กำหนดก็ได้

ข้อ 8
การอ้างสิทธิก่อน

(1) คำขอระหว่างประเทศอาจมีคำประกาศตามที่กำหนดในข้อบังคับ เพื่ออ้างสิทธิก่อนในคำขอหนึ่ง หรือหลายคำขอที่ได้ยื่นก่อนหน้านี้ ในหรือสำหรับประเทศใดๆ ที่เป็นภาคีของอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม
(2) (เอ) ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในวรรคย่อย (บี) เงื่อนไขและผลของการอ้างสิทธิก่อนที่ประกาศตามวรรค (1) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ 4 ของ อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม ฉบับกรุงสต๊อกโฮล์ม
(บี) คำขอระหว่างประเทศซึ่งการมีสิทธิก่อนในคำขอหนึ่งหรือหลายคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนหน้านี้ในรัฐภาคีถูกกล่าวอ้าง อาจระบุชื่อรัฐนั้นให้เป็นรัฐที่ได้รับมอบหมายก็ได้ ในกรณีที่คำขอระหว่างประเทศได้กล่าวอ้างการมีสิทธิก่อนในคำขอในประเทศหนึ่งหรือหลายคำขอ ที่ได้ยื่นไว้ในหรือสำหรับรัฐที่ได้รับมอบหมาย หรือในกรณีที่การมีสิทธิก่อนในคำขอระหว่างประเทศที่มอบหมายรัฐภาคีเพียงรัฐเดียวถูกกล่าวอ้าง ให้เงื่อนไขและผลของสิทธิก่อนที่ถูกอ้างในรัฐภาคีนั้น
เป็นไปตามกฎหมายภายในของรัฐนั้น

ข้อ 9
ผู้ยื่นคำขอ

(1) ผู้ใด มีภูมิลำเนาหรือมีสัญชาติของรัฐภาคีอาจยื่นคำขอระหว่างประเทศก็ได้
(2) สมัชชาอาจอนุญาตให้ผู้มีภูมิลำเนาและผู้มีสัญชาติของประเทศใดๆ ที่เป็นภาคีของอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรมซึ่งมิได้เป็นภาคีของสนธิสัญญานี้ยื่นคำขอระหว่างประเทศก็ได้
(3) หลักการเรื่องภูมิลำเนา สัญชาติ และการใช้หลักการทั้งสองข้างต้นในกรณีที่มีผู้ยื่นคำขอหลายคน หรือในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเหล่านั้นมิใช่บุคคลเดียวกันในรัฐที่ได้รับมอบหมายทั้งหมดถูกบัญญัติไว้ในข้อบังคับ

ข้อ 10
สำนักงานรับคำขอ

คำขอระหว่างประเทศจะต้องยื่นต่อสำนักงานรับคำขอที่กำหนด ซึ่งสำนักงานดังกล่าวจะตรวจสอบและดำเนินการกับคำขอนั้นตามที่บัญญัติในสนธิสัญญานี้และข้อบังคับ


Next Page
[1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  [10]  [11]  [12]  [13]  [14]  [15]

 

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)