Quick Links: Thailand Law Seminars and Conference | Thai Law Forum Past Issues | About Thailand Law Forum | Advertising Guidelines | Publishing Guidelines

Feature Articles :

History of Cannabis
  and Anti-Marijuana
  Laws in Thailand



Thailand’s Notable
  Criminal Extradition
  Cases


Guide for Tourists
  to Laws in Thailand



Neither Free nor Fair:
  Burma’s Sham Elections



Sex Laws in Thailand:
  Part 1



Renewable Energy
  in Thailand



Transsexuals and
  Thai Law



Foreign Mafia in
  Thailand

Thailand Lawyer Blog:
 Thai Government to
  Review Post-2006
  Prosecutions
 Courts Order Thai
  Military to Cease
  Labeling Transsexuals
  as Mentally Ill
 Work Permit Law
  Changes in Thailand
 Bahamian Supreme Court
  Ruling Backs
  Prenuptial Agreement
 The US FATCA:
  “The Neutron Bomb
  the Global Financial
  System”?
 The Effects of the US
  Government’s Policies
  on Americans Living
  Abroad
 Chinese Assimilation
  in Thailand vs. Malaysia
 Illegal Wildlife
  Trafficking in Asia:
  Thailand as a Hub?
 Rabbi Enforcing
  Jewish Divorce Order
  Arrested by FBI
 U.S. Prenuptial
  Agreements in Thailand:
  Why Thai Law is
  Important
 US Immigration in
  Decline?
 Abortion and Family
  Planning Law in
  the Philippines
 U.S. Courts and the
  Application of Foreign
  Law to International
  Prenuptial Agreements
 Thailand Blasted by 2011
  Human Trafficking Report
 US Expats on Alert:
  New US Tax Law
  Extends IRS’s Reach
  Internationally
 Hangover 2 and
  the Thai Censors
 Thailand’s Film
  Industry Steps Up

Submissions :

Chaninat & Leeds has assisted with content preparation for the Thailand Law Forum. Managed by an American lawyer, the law firm oversees all types of legal assistance, including property law and corporate registration, as well as family law, including surrogacy in Thailand.



 

หมวด 8
บทบัญญัติสุดท้าย

ข้อ 62
การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา

(1) รัฐใดๆ ที่เป็นสมาชิกของสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรมอาจสมัครเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาฉบับนี้ได้โดย
(i) การลงนาม ที่ตามด้วยการมอบสัตยาบันสาสน์ หรือ
(ii) การมอบภาคยานุวัติสาสน์
(2) สัตยาบันสาสน์และภาคยานุวัติสาสน์ให้ส่งมาให้ผู้อำนวยการใหญ่เก็บรักษาไว้
(3) ให้นำบทบัญญัติข้อ 24 ของอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม ฉบับกรุงสต็อคโฮล์ม มาใช้บังคับกับสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย
(4) ห้ามมิให้เข้าใจไปว่าบทบัญญัติในวรรค (3) เป็นการรับรองหรือยอมรับโดยปริยายของรัฐภาคีประเทศหนึ่งในสถานการณ์จริงเกี่ยวกับดินแดนที่รัฐภาคีอื่นๆ อาจบังคับใช้สนธิสัญญานี้ได้โดยอาศัยบทบัญญัติในวรรคนั้น

ข้อ 63
การเริ่มต้นมีผลบังคับใช้ของสนธิสัญญา

(1) (เอ) ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งวรรค (3) ให้สนธิสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อครบกำหนด 3 เดือนหลังจากที่มีรัฐต่างๆ จำนวน 8 รัฐมอบสัตยาบันสาสน์หรือภาคยานุวัติสาสน์แล้ว โดยที่รัฐดังกล่าวอย่างน้อย 4 รัฐได้เป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(i) ตามสถิติรายปีของปีล่าสุดที่ประกาศโดยสำนักระหว่างประเทศมีจำนวนคำขอที่ยื่นในรัฐนั้นเกินกว่า 40,000 คำขอ
(ii) ตามสถิติรายปีของปีล่าสุดที่ประกาศโดยสำนักระหว่างประเทศ ผู้ที่มีสัญชาติหรือมีภูมิลำเนาของรัฐนั้นได้ยื่นคำขอในประเทศอื่นหนึ่งประเทศ อย่างน้อย 1,000 คำขอ
(iii) ตามสถิติรายปีของปีล่าสุดที่ประกาศโดยสำนักระหว่างประเทศ สำนักงานในประเทศของรัฐนั้นได้รับคำขออย่างน้อย 10,000 คำขอ จากผู้ที่มีสัญชาติหรือภูมิลำเนาในประเทศอื่น
(บี) เพื่อประโยชน์ของวรรคนี้ คำว่า “คำขอ” ไม่รวมคำขอรับอนุสิทธิบัตรด้วย
(2) ภายใต้บังคับของบทบัญญัติในวรรค (3) รัฐใดซึ่งมิได้เข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาฉบับนี้ในขณะที่สนธิสัญญามีผลบังคับใช้ตามวรรค (1) ให้สนธิสัญญานี้มีผลผูกพันเมื่อครบ กำหนดสามเดือนนับแต่วันที่ประเทศนั้นได้ส่งมอบสัตยาบันสาสน์หรือภาคยานุวัติสาสน์
(3) อย่างไรก็ตาม ให้บทบัญญัติหมวด 2 และบทบัญญัติตามข้อบังคับที่สอดคล้องกันซึ่งอยู่แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่รัฐต่างๆ จำนวน 3 รัฐ ซึ่งแต่ละรัฐเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในวรรค (1) อย่างน้อยหนึ่งในสามข้อ ได้เข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาแล้วโดยมิได้ประกาศตามที่บัญญัติในข้อ 64 (1) ว่าไม่ประสงค์จะผูกพันในบทบัญญัติของหมวด 2 อย่างไรก็ตาม วันดังกล่าวจะต้องมิใช่วันก่อนวันที่สนธิสัญญานี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตามวรรค (1)

ข้อ 64
ข้อสงวน

(1) (เอ) รัฐใดๆ อาจประกาศว่าไม่ประสงค์จะผูกพันกับบทบัญญัติในหมวด 2
(บี) รัฐต่างๆ ที่ทำคำประกาศตามอนุวรรค (เอ) ไม่ต้องผูกพันกับบทบัญญัติในหมวด 2 และบทบัญญัติต่างๆ ในข้อบังคับที่สอดคล้องกัน
(2) (เอ) รัฐใดๆ ที่มิได้ทำคำประกาศตามวรรค (1) (เอ) อาจประกาศว่า
(i) ไม่ประสงค์จะผูกพันกับบทบัญญัติข้อ 39 (1) ในเรื่องการจัดให้มีสำเนาคำขอระหว่างประเทศและคำแปลของคำขอนั้น (ตามที่กำหนด)
(ii) พันธกรณีในการชะลอการดำเนินการภายในประเทศตามที่กำหนดในข้อ 40 จะต้องไม่ขัดขวางการประกาศโฆษณาคำขอระหว่างประเทศหรือคำแปลของคำขอนั้นโดยหรือผ่านสำนักงานในประเทศของรัฐนั้น อย่างไรก็ตาม ให้เป็นที่เข้าใจว่ารัฐดังกล่าวจะไม่ได้รับยกเว้นจากข้อจำกัดที่บัญญัติในข้อ 30 และข้อ 38
(บี) ประเทศต่างๆ ที่ทำคำประกาศเช่นนั้นย่อมต้องผูกพันตามนั้น
(3) (เอ) รัฐใดๆ อาจประกาศว่าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐนั้น คำขอระหว่างประเทศไม่จำต้องมีการประกาศโฆษณาระหว่างประเทศก็ได้
(บี) ถ้าในขณะที่สิ้นสุดระยะเวลา 18 เดือนนับแต่วันยื่นคำขอครั้งแรก คำขอระหว่างประเทศนั้นมีแต่เพียงการมอบหมายรัฐที่ได้ทำคำประกาศตามอนุวรรค (เอ) คำขอระหว่างประเทศนั้นจะไม่ถูกประกาศโฆษณาตามนัยข้อ 21 (2)
(ซี) อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ใช้บังคับบทบัญญัติในอนุวรรค (บี) ให้สำนักระหว่างประเทศประกาศโฆษณาคำขอระหว่างประเทศนั้น ถ้าหากว่า
(i) ผู้ยื่นคำขอร้องขอตามที่บัญญัติในข้อบังคับ
(ii) มีการประกาศโฆษณาคำขอในประเทศ หรือสิทธิบัตรที่มีรากฐานมาจากคำขอระหว่างประเทศ ซึ่งกระทำโดยหรือในนามของสำนักงานในประเทศของรัฐที่ได้รับมอบหมายที่ได้ทำคำประกาศตามอนุวรรค (เอ) ให้สำนักระหว่างประเทศประกาศโฆษณาในทันทีหลังจากการประกาศโฆษณาของสำนักงานในประเทศของรัฐนั้นแต่จะต้องไม่ประกาศโฆษณาก่อนสิ้นสุด ระยะเวลา 18 เดือนนับแต่วันยื่นคำขอครั้งแรก
(4) (เอ) รัฐใด ซึ่งมีกฎหมายภายในบัญญัติให้สิทธิบัตรในรัฐนั้นมีผลเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วตั้งแต่วันก่อนการประกาศโฆษณา แต่ไม่มีผลเทียบเท่ากับวันยื่นคำขอที่แท้จริงในรัฐนั้นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณางานที่ปรากฏอยู่แล้ว ึ่งวันยื่นคำขอครั้งแรกถูกขอถือสิทธิตามอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม รัฐนั้นอาจประกาศว่า การยื่นคำขอระหว่าง ประเทศที่มอบหมายรัฐนั้นนอกราชอาณาจักร ไม่มีผลเทียบเท่ากับการยื่นคำขอที่แท้จริงในรัฐนั้นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณางานที่ปรากฏอยู่แล้ว
(บี) รัฐใดที่ทำคำประกาศตามอนุวรรค (เอ) ไม่ต้องผูกพันกับบทบัญญัติในข้อ 11 (3) เท่าที่ทำคำประกาศนั้น
(ซี) รัฐใดที่ทำคำประกาศตามอนุวรรค (เอ) จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาเดียวกันว่าคำขอระหว่างประเทศที่มอบหมายรัฐนั้น เริ่มมีผลเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วในรัฐนั้นตั้งแต่วันใด และภายใต้เงื่อนไขใด คำประกาศดังกล่าวอาจมีการปรับแก้เมื่อใดก็ได้ โดยแจ้งไปยัง ผู้อำนวยการใหญ่
5) แต่ละรัฐอาจประกาศว่ารัฐของตนไม่ประสงค์ที่จะผูกพันตนเองกับข้อ 59 เมื่อมีข้อพิพาทใด ๆ เกิดขึ้นระหว่างรัฐภาคีที่ได้ทำคำประกาศนั้นกับรัฐภาคีอื่นใด ห้ามมิให้นำบทบัญญัติในข้อ 59 มาใช้บังคับ
(6) (เอ) คำประกาศใดๆ ที่ได้ทำขึ้นตามข้อนี้ ให้ทำเป็นหนังสือ โดยอาจทำในขณะลงนามในสนธิสัญญานี้ ในขณะมอบสัตยาบันสาสน์หรือภาคยานุวัตรสาสน์ หรือในเวลาใดภายหลังจากนั้นโดยการแจ้งไปยังผู้อำนวยการใหญ่เว้นแต่กรณีที่กล่าวถึงในวรรค (5) ในกรณีที่มีการแจ้ง ดังกล่าว ให้คำประกาศนั้นมีผลบังคับเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่ผู้อำนวยการใหญ่ได้รับแจ้ง และมิให้มีผลกระทบต่อคำขอระหว่างประเทศซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนสิ้นสุดระยะเวลา 6 เดือนดังกล่าว
(บี) คำประกาศใดๆ ที่ได้ทำขึ้นตามข้อนี้อาจถูกถอนไปเมื่อใดก็ได้ โดยแจ้งไปยังผู้อำนวยการใหญ่ การถอนดังกล่าว ให้มีผลเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 3 เดือนนับจากวันที่ผู้อำนวยการใหญ่ได้รับแจ้ง และในกรณีที่มีการถอนคำประกาศตามวรรค (3) การถอนดังกล่าวมิให้กระทบต่อคำขอระหว่างประเทศที่ได้ยื่นไว้ก่อนสิ้นสุดระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าว
(7) ห้ามมิให้ตั้งข้อสงวนอื่นใดต่อสนธิสัญญานี้นอกจากข้อสงวนตามวรรค (1) ถึงวรรค (5)

ข้อ 65
การใช้บังคับแบบค่อยเป็นค่อยไป

(1) ถ้าความตกลงกับองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศหรือองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศใดๆ บัญญัติไว้เป็นการชั่วคราวให้จำกัดจำนวนหรือประเภทของคำขอระหว่างประเทศที่องค์กรดังกล่าวรับที่จะดำเนินการ ให้สมัชชาลงมติให้นำมาตรการที่จำเป็นสำหรับการบังคับใช้แบบค่อยเป็นค่อยไปของสนธิสัญญาฉบับนี้และข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับประเภทของคำขอระหว่างประเทศที่ระบุมาใช้ บทบัญญัตินี้ให้นำมาใช้บังคับกับคำร้องขอให้ตรวจค้นแบบระหว่างประเทศตามข้อ 15 (5) ด้วย


Next Page
[1]  [2]  [3]  [4]  [5]  [6]  [7]  [8]  [9]  [10]  [11]  [12]  [13]  [14]  [15]

 
 

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)