Thailand Law Forum Thailand Law Forum  
 

 

16 July 2009

สนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
ระหว่าง
ราชอาณาจักรไทยกับสหรัฐอเมริกา

ลงนาม ณ กรุงเทพฯ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕o๙
------------------------------------------------------------------

ราชอาณาจักรไทยและสหรัฐอเมริกา มีความปรารถนาที่จะส่งเสริมความ สัมพันธ์ฉันมิตรซึ่งมีอยู่ตามประเพณีนิยมระหว่างทั้งสองฝ่าย และที่จะเกื้อหนุน การค้า อันเป็นคุณประโยชน์ซึ่งกันและกัน และความเกี่ยวพันทางเศรษฐกิจและ วัฒนธรรม ระหว่าง ประชาชน ของทั้งสองฝ่ายให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น จึงได้ตกลงทำสนธิสัญญาทาง ไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และเพื่อความมุ่งประสงค์นั้น ได้แต่งตั้งผู้มี อำนาจเต็มคือ

ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
   ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์
     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
       แห่งราชอาณาจักรไทย และ

ฝ่ายประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา
   ฯพณฯ แกรแฮม มาร์ติน
      เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม
        แห่งสหรัฐอเมริกา ประจำราชอาณาจักรไทย

ทั้งสองฝ่าย เมื่อได้ส่งหนังสือมอบอำนาจเต็มให้แก่กันและกัน และได้ตรวจ เห็นว่าเป็นไปตามแบบที่ถูกต้องแล้ว ได้ทำความตกลงกันดังต่อไปนี้

ข้อ ๑

๑. ภายในบังคับแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเข้ามาและการพำนักของ คนต่างด้าว คนชาติของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้รับอนุญาตให้เข้ามาในอนาณาเขต ของภาคีอีก ฝ่ายหนึ่งให้เดินทางในอาณาเขตนั้นโดยเสรี และให้มีถิ่นที่อยู่ ณ ที่ที่ตน เลือก และโดย เฉพาะอย่างยิ่งให้เข้ามาในอาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งและคงอยู่ใน อาณาเขตนั้น เพื่อความมุ่งประสงค์ ที่จะ (ก) กระทำการค้าระหว่างอาณาเขตของภาคี ทั้งสอง และ ประกอบกิจกรรมทางพาณิชย์ที่เกี่ยวเนื่อง หรือ (ข) พัฒนาและอำนวย การการดำเนิน งานวิสาหกิจซึ่งตนได้ลงทุนไว้หรืออยู่ในระหว่างดำเนินการ อย่างจริงจังในการลงทุน ด้วยทุนจำนวนมาก ภาคีแต่ละฝ่ายสงวนสิทธิที่จะห้าม คนต่างด้าวเข้า กำกัดการเคลื่อน ไหวของคนต่างด้าว หรือขับไล่คนต่างด้าว โดยอาศัย เหตุเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม สุขภาพ และความปลอดภัยของประชาชน บทแห่งข้อ (ข) ข้างต้นนั้น ให้แปลความว่าขยายไปถึงคนชาติของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซึ่ง แสวงที่จะเข้ามาใน อาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งเฉพาะเพื่อความมุ่งประสงค์ ที่จะพัฒนา และอำนวยการ การดำเนินงานวิสาหกิจในอาณาเขตของภาคีอีก ฝ่ายหนึ่งนั้น ซึ่งนายจ้างของตนได้ ลงทุนไว้หรืออยู่ในระหว่างดำเนินการอย่าง จริงจังในการลงทุนด้วยทุนจำนวนมาก โดยมีเงื่อนไขว่า นายจ้างนั้นเป็นคนชาติ หรือบริษัทที่มีสัญชาติ เดียวกับผู้ขอและ ผู้ขอเป็นผู้รับจ้าง คนชาติหรือบริษัทนั้น ในตำแหน่งฐานะที่มีความ รับผิดชอบ

๒. คนชาติของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดภายในอาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งจะ ได้รับความคุ้มครอง และความมั่นคงเป็นเนืองนิตย์ ซึ่งไม่ว่าในกรณีใดจะไม่น้อยกว่า ที่กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ เมื่อคนชาติเช่นว่านั้นผู้ใดถูกคุมขัง ก็ให้ได้รับ ผลประติบัติในทุก ทางตามสมควร และอย่างมีมนุษยธรรม และเมื่อผู้นั้นเรียกร้อง ก็ให้ แจ้งให้ผู้แทนทางทูตหรือ ทางกงสุลแห่งประเทศของผู้นั้นทราบโดยทันที และให้ โอกาสอย่างเต็มที่ที่จะพิทักษ์รักษาผล ประโยชน์ของผู้นั้น คนชาติผู้นั้น จะได้รับ แจ้งข้อกล่าวหาที่ตั้งแก่ตโดยพลัน และจะได้รับ ความสะดวกมากพอ ที่จะสู้คดี

๓. คนชาติของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้อุปโภคเสรีภาพบริบูรณ์ในทาง ความนึกคิดในอาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง และภายในบังคับแห่งกฎหมาย กฎ และ ข้อบังคับที่ใช้อยู่จะได้อุปโภคสิทธิในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ ของตน ทั้งที่เป็นการส่วนตัวและเป็น การสาธารณะ

ข้อ ๒

๑. บริษัทที่ตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ของภาคีฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ให้ถือว่ามีสัญชาติของภาคีนั้น และให้สถานภาพทางกฎหมายของบริษัทดังกล่าวได้รับ การยอมรับนับถือภายในอาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ตามที่ใช้ในสนธิสัญญานี้ "บริษัท" หมายถึง

ก. เมื่อกล่าวถึงบริษัทไทย ได้แก่นิติบุคคลภายใต้กฎหมายไทย ไม่ว่าจำกัด ความรับผิดหรือไม่ และไม่ว่าเพื่อผลกำไรเป็นเงินหรือไม่
ข. เมื่อกล่าวถึงบริษัทสหรัฐ ได้แก่บรรษัท ห้างหุ้นส่วน บริษัทและสมาคม อื่นๆ ไม่ว่าจำกัดความรับผิดหรือไม่ และไม่ว่าเพื่อผลกำไรเป็นเงินหรือไม่

๒. คนชาติและบริษัทของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเข้าถึงศาลยุติธรรมและทบวง การฝ่ายบริหารโดยเสรีในทุกระดับอำนาจภายในอาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งใน การป้องกัน และในการเรียกร้องสิทธิของตน การเข้าถึงเช่นว่านี้ จะยอมให้กระทำได้ ตามข้อกำหนด ที่เป็นการอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าที่ใช้แก่คนชาติ และบริษัทของภาคีอีก ฝ่ายหนึ่งนั้น หรือของ ประเทศที่สามใด รวมทั้งข้อกำหนดที่ใช้กับหลักเกณฑ์ในการ วางหลักประกัน เป็นที่เข้าใจกันว่า บริษัทซึ่งมิได้ประกอบกิจกรรมภายในประเทศจะ ได้อุปโภคสิทธิในการเข้าถึงเช่นว่านั้น โดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียนหรือดำเนินการ ให้เป็นบริษัทตามกฎหมายภายใน

๓. สัญญาที่ได้กระทำขึ้นระหว่างคนชาติและบริษัทของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกับ คนชาติและบริษัทของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้มีการระงับข้อขัดแย้งโดยการ อนุญาโตตุลา การ จะไม่ถือว่าใช้บังคับไม่ได้ภายในอาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น โดยอาศัยเหตุเพียงว่า ถิ่นที่กำหนดไว้สำหรับกระบวนพิจารณาในการอนุญาโตตุลาการ อยู่นอกอาณาเขตนั้น หรือว่าสัญชาติของอนุญาโตตุลาการคนหนึ่งหรือหลายคนไม่ใช่ สัญชาติ ของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น คำชี้ขาดใดที่ได้ให้โดยถูกต้องตามสัญญาใดเช่นว่านี้ และถึงที่สุด และใช้บังคับได้ภายใต้กฎหมาย ของถิ่นที่ได้ให้คำชี้ขาดจะไม่ถือว่าไม่ สมบูรณ์หรือ ถูกปฏิเสธวิธีการอันมีประสิทธิภาพในการใช้บังคับภายในอาณาเขต ของภาคีฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดโดยอาศัยเหตุเพียงว่าถิ่นที่ที่ได้ให้คำชี้ขาดนั้นอยู่นอก อาณาเขตเช่นว่า หรือว่าสัญชาติของอนุญาโตตุลาการคนหนึ่งหรือหลายคน ไม่ใช่สัญชาติของภาคีนั้น

ข้อ ๓

๑. ภาคีแต่ละฝ่ายจะประสาทให้ผลประติบัติอันเป็นธรรมและเที่ยงธรรมทุกเมื่อ แก่คนชาติและบริษัทของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง และแก่ทรัพย์สินและวิสาหกิจของคนชาติ และ บริษัทนั้น จะละเว้นจากการใช้มาตรการอันไม่สมเหตุผล หรือเป็นการเลือก ประติบัติซึ่ง อาจทำให้ เสื่อมเสียสิทธิและผลประโยชน์ที่ได้มาแล้วตามกฎหมาย และจะให้ความมั่นใจ ว่าสิทธิตามสัญญาอันชอบด้วยกฎหมายของคนชาติและบริษัท เหล่านั้นจะได้มีวิธีการ อันมีประสิทธิภาพ ในการใช้บังคับตามกฎหมายที่ใช้อยู่

๒. ทรัพย์สินของคนชาติและบริษัทของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด รวมทั้ง ผลประโยชน์ ทางตรงหรือทางอ้อมในทรัพย์สินจะได้รับความคุ้มครองและความ มั่นคงเป็นเนืองนิตย์ ภายในอาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ทรัพย์สินนั้นจะไม่ถูก เอาไปโดยปราศจากกระบวน การทางกฎหมายที่ถูกต้องหรือโดยปราศจากการชำระ ค่าทดแทนที่ยุติธรรมตามหลัก กฎหมายระหว่าง ประเทศ

๓. การเข้าไปหรือการทำความรบกวนในเคหสถาน สำนักงาน คลังสินค้า โรงงาน และสถานที่อื่นของคนชาติและบริษัทของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ที่ตั้งอยู่ ภายในอาณาเขต ของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง จะกระทำมิได้โดยปราศจากเหตุอันสมควร การค้นและการตรวจเป็น ทางการ ซึ่งสถานที่เช่นว่า และสิ่งที่มีอยู่ในสถานที่นั้น จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัย กฎหมายและโดยคำนึงอย่างรอบคอบถึงความสะดวก ของผู้ครอบครองและการดำเนิน ธุรกิจ

หน้า 2

1  2  3  4



This website is maintained with the assistance of Chaninat and Leeds, a Thailand Law Firm specializing in Thailand Amity Treaty Companies. For any submissions, comments, or questions, e-mail the Thailand Law Forum at:info@thailawforum.com Please read our Disclaimer.

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)