Thailand Law Forum Thailand Law Forum  
 

 

ข้อ ๘

๑. ภาคีแต่ละฝ่ายจะประสาทให้แก่ผลิตผลของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะมา จากถิ่นที่ใดและโดยยานพาหนะแบบใดก็ตาม และแก่ผลิตผลที่กำหนดไว้ เพื่อการ ส่งออกไปยังอาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ไม่ว่าจะโดยเส้นทางใดและโดย ยานพาหนะแบบใด ก็ตามซึ่งผลประติบัติที่เป็นการอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าที่ประสาท ให้แก่ผลิตผลเช่นเดียวกัน ของประเทศที่สามใดหรือที่กำหนดไว้เพื่อการส่งออกไปยัง ประเทศที่สามในเรื่องทั้งปวง ที่เกี่ยวกับ (ก) อากรศุลกากรตลอดจนค่าภาระอื่นใด ข้อบังคับและแบบพิธีที่ตั้งไว้เพื่อหรือ เกี่ยวกับการ นำเข้าและการส่งออก และ (ข) การเก็บภาษีอากรภายใน การซื้อขาย การจำหน่าย การเก็บรักษา และการใช้ หลักเกณฑ์อย่างเดียวกันนี้ จะได้นำมาใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการโอนการชำระเงิน ระหว่างประเทศ สำหรับสินค้าเข้าและสินค้าออก

๒. ภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะไม่ตั้งบังคับข้อกำกัดหรือข้อห้ามแก่การนำเข้าซึ่ง ผลิตผลใดของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งหรือแก่การส่งออกซึ่งผลิตผลใด ไปยังอาณาเขตของ ภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากว่าการนำเข้าซึ่งผลิตผลเช่นเดียวกันของประเทศที่สาม ทั้งปวงหรือการส่งออก ซึ่งผลิตผลเช่นเดียวกันไปยังประเทศที่สามทั้งปวงจะถูก กำกัดหรือห้ามในทำนองเดียวกัน ด้วย

๓. ถ้าภาคฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตั้งบังคับข้อกำกัดปริมาณแก่การนำเข้าหรือการ ส่งออกซึ่งผลิตผลใด ซึ่งภาคีอีกฝ่ายหนึ่งมีผลประโยชน์สำคัญ
(ก) เมื่อมีการร้องขอ ภาคีนั้นจะแจ้งให้ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบถึงจำนวน ทั้งหมดโดยประมาณของผลิตผล จะโดยปริมาณหรือมูลค่า ซึ่งอาจนำเข้าหรือส่งออก ในระหว่างกำหนดระยะเวลาหนึ่ง และให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใดในเรื่องจำนวน หรือระยะเวลาเช่นว่านั้น และ
(ข) ถ้าภาคีนั้นจัดส่วนแบ่งสรรให้แก่ประเทศที่สามใด ภาคีดังกล่าวจะให้ ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้รับส่วนแบ่งที่ได้สัดส่วนกับจำนวนผลิตผล จะโดยปริมาณ หรือมูลค่าซึ่งได้จัดส่งให้โดยหรือแก่ภาคีนั้นในระหว่างระยะเวลาซึ่งถือเป็น ตัวอย่างได้ก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ โดยให้มีการพิจารณาตามสมควรถึงปัจจัยพิเศษใด ที่กระทบต่อการค้าผลิตผลเช่นว่านั้น

๔. ภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจตั้งบังคับข้อห้ามหรือข้อกำกัดโดยอาศัยเหตุทาง สุขาภิบาลหรือทางธรรมเนียมประเพณีอื่น ที่มีลักษณะอันมิใช่ทางพาณิชย์ หรือเพื่อ ประโยชน์ในการป้องกันการปฏิบัติอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่เป็นธรรม โดยมี เงื่อนไขว่าข้อห้าม หรือข้อกำกัดเช่นว่านั้นจะไม่เลือกประติบัติโดยพลการต่อการ พาณิชย์ของ ภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง

๕. ภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจกำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้ความมั่นใจใน การใช้ประโยชน์จากเงินตราสกุลที่แลกเปลี่ยนเป็นเงินตราสกุลอื่นไม่ได้ซึ่งได้ พอกพูนขึ้นหรือเพื่อจัดการกับการขาดแคลนของเงินตราต่างประเทศ อย่างไรก็ดี มาตรการเช่นว่า จะต้องไม่เบี่ยงเบนเกินกว่าที่จำเป็นไปจากนโยบายที่มุ่งจะ ส่งเสริมการพัฒนาอย่างมากที่สุด ซึ่งการค้าระหว่างประเทศโดยไม่เลือกประติบัติ และที่จะเร่งรัดให้บรรลุถึงซึ่งฐานะของ ดุลการชำระเงิน อันจะทำให้พ้นจากความ จำเป็นในการมีมาตรการเช่นว่านั้น

๖. ภาคีแต่ละฝ่ายสงวนสิทธิที่จะประสาทให้อาณาประโยชน์พิเศษ (ก) แก่ ผลิตผลจากการประมงของคนชาติของตน (ข) แก่ประเทศที่ประชิดกันเพื่อที่จะยัง ความสะดวกแก่ การไปมาค้าขายชายแดน หรือ (ค) โดยอาศัยสหภาพศุลกากร หรือเขตการค้าเสรีซึ่งภาคีฝ่าย หนึ่งฝ่ายใดอาจเข้าเป็นสมาชิก หรือความตกลง ชั่วคราวที่จะนำไปสู่การก่อตั้งสหภาพ ศุลกากรหรือเขตการค้าเสรี ซึ่งภาคีฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดอาจเข้าเป็นภาคี นอกจากนั้น ภาคีแต่ละฝ่ายสงวนสิทธิและข้อผูกพันที่ตน อาจมีอยู่ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และการค้า และอาณา ประโยชน์พิเศษที่ตนอาจประสาทให้ตามความตกลงนั้น

ข้อ ๙

๑.     ในการดำเนินการใช้ข้อบังคับและระเบียบการทางศุลกากรของตน ภาคีแต่ละฝ่ายจะ (ก) พิมพ์โฆษณาข้อกำหนดทั้งมวลที่ใช้โดยทั่วไปอันมี ผลกระทบถึงการนำเข้าและการส่งออก (ข) ใช้ข้อกำหนดเช่นว่าในทำนอง อันเป็นเอกรูปไม่ลำเอียง และชอบด้วย เหตุผล (ค) ละเว้น โดยถือเป็นทาง ปฏิบัติทั่วไปจากการใช้บังคับข้อกำหนดใหม่หรือที่ เป็นภาระเพิ่มขึ้นจนกว่า จะได้มีการประกาศโดยเปิดเผยแล้ว และ (ง) ยอมให้มีการอุทธรณ์ คำชี้ขาด ของเจ้าหน้าที่ศุลกากร นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ศุลกากรของภาคีแต่ละฝ่ายจะไม่ตั้ง บังคับการลงโทษที่หนักกว่าการลงโทษพอเป็นพิธีสำหรับการละเมิด เนื่องมาจาก ความพลั้งเผลอในการพิมพ์และขีดเขียน หรือจากการสำคัญผิดโดยสุจริตใจ ตามแต่เจ้าหน้าที่ ศุลกากรจะเห็นสมควร
๒. คนชาติและบริษัทของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้รับผลประติบัติที่เป็นการ อนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าที่ประสาทให้แก่คนชาติและบริษัทของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งหรือ ของประเทศ ที่สามใด ในเรื่องที่เกี่ยวกับการทั้งปวงที่เกี่ยวกับการนำเข้า และการส่งออก

๓.    ภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะไม่ตั้งบังคับมาตรการใดซึ่งมีลักษณะเป็นการเลือก ประติบัติที่ขัดขวางหรือกีดกันผู้นำเข้าหรือส่งออกซึ่งผลิตผลของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในการที่จะเอาประกันภัยทางทะเล สำหรับผลิตผลเช่นว่านั้นกับบริษัทของภาคีอีก ฝ่ายหนึ่ง

ข้อ ๑๐

๑.   ระหว่างอาณาเขตของภาคีทั้งสองฝ่าย จะให้มีเสรีภาพในการพาณิชย์และ การเดินเรือ

๒.  เรือที่ชักธงของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และมีกระดาษเอกสารที่กฎหมาย ของภาคีนั้นได้กำหนดไว้อยู่เพื่อเป็นข้อพิสูจน์สัญชาติ จะถือว่าเป็นเรือ ของภาคีนั้น ทั้งในทะเล หลวง และภายในเมืองท่า ถิ่นที่และน่านน้ำของภาคอีกฝ่ายหนึ่ง

๓. เรือของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมีเสรีภาพตามข้อกำหนดอันเท่าเทียมกัน กับเรือ ของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง และกับเรือของประเทศที่สามใดในอันที่จะมาพร้อมด้วย ของบรรทุก ของตนยังเมืองท่า ถิ่นที่ และน่านน้ำทั้งปวงของภาคอีกฝ่ายหนึ่งเช่นว่า ที่เปิดให้แก่การ พาณิชย์และการเดินเรือต่างประเทศ เรือและของบรรทุกเช่นว่านั้น จะได้รับในประการ ทั้งปวงซึ่งผลประติบัติอย่างคนชาติ และผลประติบัติอย่างชาติ ที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง ภายในเมืองท่า ถิ่นที่ และน่านน้ำของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น แต่ภาคีแต่ละฝ่ายอาจ สงวนสิทธิโดยจำเพาะและเอกสิทธิไว้ให้แก่เรือของตนเอง ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดิน เรือค้าชายฝั่ง การเดิน เรือภายในประเทศ และการประมง ของคนชาติ

๔.   เรือของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้รับผลประติบัติอย่างคนชาติ และผล ประติบัติ อย่างชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งจากภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิ ที่จะขนผลิตผลทั้งปวงซึ่งอาจขนโดยเรือไปยังหรือมาจากอาณาเขตของภาคีอีก ฝ่ายหนึ่งนั้น และผลิตผล เช่นว่าจะได้รับผลประติบัติที่เป็นการอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่า ที่ประสาทให้แก่ผลิตผล อย่างเดียวกันที่ขนไปในเรือของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ในเรื่อง ที่เกี่ยวกับ (ก) อากรและค่าภาระ ทุกประเภท (ข) การบริหารงานศุลกากร และ (ค) เงินอุดหนุน การคืนอากรและเอกสิทธิ อื่นๆ ในลักษณะนี้

๕. เรือของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดซึ่งตกอยู่ในทุกขภัย จะได้รับอนุญาตให้เข้า กำบัง อาศัยในเมืองท่า หรือที่จอดเรือที่ใกล้ที่สุดของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง และจะได้รับผล ประติบัติ และความช่วยเหลือฉันมิตร

๖. คำว่า "เรือ" ตามที่ใช้ในที่นี้ หมายถึงเรือทุกชนิด ไม่ว่าเป็นของหรือ ดำเนินการโดยเอกชนหรือโดยสาธารณะ แต่คำนี้ไม่รวมถึงเรือประมงหรือเรือรบ เว้นแต่ที่เกี่ยวกับวรรค ๒ และ ๕ ของข้อนี้

หน้า 4

1  2  3  4



This website is maintained with the assistance of Chaninat and Leeds, a Thailand Law Firm specializing in Thailand Amity Treaty Companies. For any submissions, comments, or questions, e-mail the Thailand Law Forum at:info@thailawforum.com Please read our Disclaimer.

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)