Thailand Law Forum Thailand Law Forum  
 

 

ข้อ ๑๑

๑. ภาคีแต่ละฝ่ายให้สัญญาว่า (ก) วิสาหกิจที่รัฐบาลของตนเป็นเจ้าของ หรือ ควบคุมและองค์การผูกขาด หรือองค์การที่ได้รับเอกสิทธิโดยจำเพาะหรือพิเศษภายใน อาณาเขตของตน จะทำการซื้อและขายที่เกี่ยวพันไม่ว่ากับของที่นำเข้าหรือของที่ส่ง ออก อันกระทบต่อการพาณิชย์ของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ตามข้อคำนึงทางพาณิชย์ แต่ถ่ายเดียว รวมทั้งราคา คุณภาพ การหาได้ การจำหน่ายในตลาดได้ การขนส่ง และ ภาวะอื่น ในการซื้อหรือขาย และ (ข) คนชาติ บริษัท และการพาณิชย์ของภาคีอีก ฝ่ายหนึ่งนั้น จะได้รับโอกาสอย่างเพียงพอตาม ทางปฏิบัติธุรกิจอันเป็นธรรมเนียม ประเพณี ในอันที่จะแข่งขันเพื่อมีส่วน ร่วมใน การซื้อและขายเช่นว่า

๒. ภาคีแต่ละฝ่ายจะประสาทให้แก่คนชาติ บริษัท และการพาณิชย์ ของภาคี อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งผลประติบัติที่เป็นธรรมและเที่ยงธรรม เมื่อเปรียบเทียบกับที่ได้ประสาท ให้แก่คนชาติบริษัท และการพาณิชย์ของประเทศที่สามใดในเรื่องที่เกี่ยวกับ (ก) การซื้อ พัสดุของรัฐบาล (ข) การให้สัมปทาน และการทำสัญญาอื่นของรัฐบาล และ (ค) การขาย บริการใด โดยรัฐบาล หรือองค์การผูกขาด หรือองค์การใดที่ได้รับเอกสิทธิโดยจำเพาะ หรือพิเศษ

ข้อ ๑๒

๑. สนธิสัญญานี้ จะไม่กีดกันการใช้มาตรการ
(ก) ที่จัดระเบียบการนำเข้า หรือการส่งออกซึ่งทองคำหรือเงิน
(ข) เกี่ยวกับวัสดุที่สามารถแยกนิวเคลียร์ของปรมาณูได้ ผลพลอยได้ กัมมันตรังสีหรือแหล่งที่มาของวัสดุนั้น
(ค) ที่จัดระเบียบการผลิต หรือการค้าอาวุธ กระสุนและดินระเบิด และ ยุทโธปกรณ์หรือการค้าวัสดุอย่างอื่นที่กระทำโดยทางตรง หรือทางอ้อม เพื่อความ มุ่งประสงค์ในการจัดหาส่งให้สถานการทหาร
(ง) ที่จัดระเบียบ โดยมูลฐานแห่งการไม่เลือกประติบัติ ในการเรียกเกณฑ์ ทางทหารซึ่งเสบียงพัสดุ และยุทโธปกรณ์ในยามฉุกเฉินหรือยามสงคราม
(จ) ที่จำเป็นในการปฏิบัติตามพันธกรณีของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพื่อการธำรง รักษาหรือกลับสถาปนาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ หรือที่จำเป็นในการ คุ้มครองผลประโยชน์อันเป็นสารัตถสำคัญทางความมั่นคงของตน หรือ
(ฉ) ที่ปฏิเสธไม่ยอมให้บริษัทใดซึ่งคนชาติของประเทศที่สามประเทศเดียว หรือหลายประเทศ มีผลประโยชน์ควบคุมโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกรรมสิทธิ์หรือ ในการอำนวยการนั้น ได้รับอาณาประโยชน์ตามสนธิสัญญานี้ เว้นแต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับ การยอมรับนับถือสถานภาพทางกฎหมาย และในเรื่องที่เกี่ยวกับการเข้าถึงศาลยุติธรรม และสภาตุลาการ และทบวงการฝ่ายบริหาร

๒. สนธิสัญญานี้ไม่ประสาทให้สิทธิใดที่จะประกอบกิจกรรมทางการเมือง

๓. บทว่าด้วยชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งของสนธิสัญญานี้เกี่ยวกับผลประติบัติ ต่อ สินค้าจะไม่ขยายไปถึงอาณาประโยชน์ที่สหรัฐอเมริกา หรืออาณาเขตและดินแดน ในกรรมสิทธิ์ของตน โดยไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงใดในอนาคตในสถานภาพ ทางการ เมืองของอาณาเขตและดินแดนเหล่านี้ ประสาทให้แก่กันและกันแก่ สาธารณรัฐคิวบา แก่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ แก่อาณาเขตหมู่เกาะแปซิฟิกในภาวะทรัสตี หรือแก่เขตคลอง ปานามา

๔. บทแห่งสนธิสัญญานี้ ในเรื่องผลประติบัติอย่างชาติที่รับอนุเคราะห์ยิ่งนั้น ไม่ใช้แก่
(ก) ความอนุเคราะห์ที่ให้อยู่ หรือที่อาจให้ในภายหลังแก่รัฐเพื่อนบ้านเกี่ยว กับการ เดินเรือใน หรือการใช้ทางน้ำเขตแดนที่เดินเรือจากทะเลไม่ได้
(ข) ความอนุเคราะห์ที่ให้อยู่ หรือที่อาจให้ในภายหลังโดยอาศัยอำนาจกฎหมาย แห่งชาติ ในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนทางอุตสาหกรรม

ข้อ ๑๓

๑. ภาคีแต่ละฝ่ายจะให้การพิจารณาด้วยความเห็นใจแก่การร้องเรียนตามที่ภาคี อีกฝ่ายหนึ่งอาจทำขึ้นในเรื่องที่เกี่ยวกับการใด อันกระทบต่อการดำเนินไปของ สนธิสัญญานี้ และจะให้โอกาสอย่างเพียงพอสำหรับการปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับ การร้องเรียนนั้น

๒. ข้อพิพาทใดระหว่างภาคีในเรื่องการตีความหรือการใช้สนธิสัญญานี้ ที่มิได้ปรับให้เป็นที่พอใจกันโดยการทูตหรือสันติวิธีอื่น หากว่าภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ร้องขอก็ให้เสนอต่อคณะอนุญาโต ตุลาการเพื่อการระงับตามหลักกฎหมาย ระหว่างประเทศที่ใช้อยู่ คณะอนุญาโตตุลาการจะประกอบด้วยสมาชิกสามคน ภาคีแต่ละฝ่ายเลือกฝ่ายละหนึ่งคน และคนที่สามได้รับเลือกโดยสมาชิกที่ภาคีได้ เลือกมานั้น ในกรณีที่สมาชิกซึ่งภาคีได้เลือกมาไม่สามารถตกลงกัน เกี่ยวกับสมาชิก คนที่สามภายในหนึ่งเดือน สมาชิกคนที่สามจะได้ แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยเลขา ธิการสหประชาชาติ โดยการร้องขอของภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

ข้อ ๑๔

๑. สนธิสัญญานี้ จะได้รับสัตยาบันและจะมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกัน ณ กรุง วอชิงตันโดยเร็วเท่าที่จะเป็นไปได้

๒. สนธิสัญญานี้ จะเริ่มใช้บังคับหนึ่งเดือนหลังจากวันที่มีการแลกเปลี่ยน สัตยา บันสารจากนั้นสนธิสัญญานี้จะใช้แทนและยกเลิกสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และ การเดินเรือที่ได้ลงนามกัน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๓๗

๓. สนธิสัญญานี้ จะคงใช้บังคับเป็นเวลาสิบปี และจะใช้บังคับต่อไปหลังจาก นั้น จนกว่าจะได้ยกเลิกไปตามที่ได้กำหนดไว้ในที่นี้

๔. ภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจเลิกสนธิสัญญานี้ โดยการบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์ อักษรล่วงหน้าหนึ่งปีไปยังภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อสิ้นกำหนดเวลาสิบปีแรก หรือใน เวลาใด หลังจากนั้น

เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้มีอำนาจเต็มแต่ละฝ่ายได้ลงนามในสนธิสัญญานี้ และได้ ประทับตราไว้เป็นสำคัญ

ทำคู่กันไปสองฉบับ เป็นภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ ทั้งสองฉบับใช้เป็นหลักฐาน ได้เท่าเทียมกัน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ยี่สิบเก้า พฤษภาคม พุทธศักราชสองพันห้าร้อยเก้า ตรงกับคริสต์ศักราชหนึ่งพันเก้า ร้อยหกสิบหก

ฝ่ายราชอาณาจักรไทย                                  ฝ่ายสหรัฐอเมริกา
(ลงนาม) ถ. คอมันตร์                                   (ลงนาม) Graham Martin

1  2  3  4

Related Articles:

U.S. - Thailand Treaty of Amity and Economic Relations 2005
U.S. - Thailand Treaty of Amity and Economic Relations 1966

15 May 2006 Circular Letter from the Ministry of Interior Re: Land Acquisition by Juristic Persons with Foreign Shareholders

Accession of the States of Johore, Kedah, Perlis, Kelantan, and Trengganu to the Extradition Treaty between Great Britain and Siam
Treaty of Extradition between Thailand and Great Britain
Supplementary Article to the Treaty between Great Britain and Siam
Treaty owinsgan Extradition between The Kingdom of Thailand and The Republic of Korea
Treaty of Extradition between Thailand and United States of America
Treaty between The Kingdom of Thailand and The People's Republic of Bangladesh Relating to Extradition
Treaty between The Kingdom of Thailand and The People's Republic of China on Extradition
Treaty between The Government of The Kingdom of Thailand and The Government of The Republic of The Philippines Relating to Extradition
Thai-Malaysian Exchange of Notes Regarding Extradition Treaty
Treaty between The Government of The Kingdom of Thailand and The Government of The-Republic of Indonesia Relating to Extradition


Chaninat and Leeds have assisting with providing control and translations for this website Chaninat and Leeds has been assisting Americans form companies under the Amity Treaty since 2001. For any submissions, comments, or questions, e-mail the Thailand Law Forum at:info@thailawforum.com Please read our Disclaimer.

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)