Quick Links: Thailand Law Seminars and Conference | Thai Law Forum Past Issues | About Thailand Law Forum | Advertising Guidelines | Publishing Guidelines

Feature Articles :

History of Cannabis
  and Anti-Marijuana
  Laws in Thailand



Thailand’s Notable
  Criminal Extradition
  Cases


Guide for Tourists
  to Laws in Thailand



Neither Free nor Fair:
  Burma’s Sham Elections



Sex Laws in Thailand:
  Part 1



Renewable Energy
  in Thailand



Transsexuals and
  Thai Law



Foreign Mafia in
  Thailand

Submissions:

Based in Bangkok, Thailand, Chaninat & Leeds has expertise providing legal assistance in a range of areas, including property acquisition and corporate registration, as well as US immigration for Thais, including US K1 fiancée visas for Thais.




Thailand Lawyer Blog:
 Thai Government to
  Review Post-2006
  Prosecutions
 Courts Order Thai
  Military to Cease
  Labeling Transsexuals
  as Mentally Ill
 Work Permit Law
  Changes in Thailand
 Bahamian Supreme Court
  Ruling Backs
  Prenuptial Agreement
 The US FATCA:
  “The Neutron Bomb
  the Global Financial
  System”?
 The Effects of the US
  Government’s Policies
  on Americans Living
  Abroad
 Chinese Assimilation
  in Thailand vs. Malaysia
 Illegal Wildlife
  Trafficking in Asia:
  Thailand as a Hub?
 Rabbi Enforcing
  Jewish Divorce Order
  Arrested by FBI
 U.S. Prenuptial
  Agreements in Thailand:
  Why Thai Law is
  Important
 US Immigration in
  Decline?
 Abortion and Family
  Planning Law in
  the Philippines
 U.S. Courts and the
  Application of Foreign
  Law to International
  Prenuptial Agreements
 Thailand Blasted by 2011
  Human Trafficking Report
 US Expats on Alert:
  New US Tax Law
  Extends IRS’s Reach
  Internationally
 Hangover 2 and
  the Thai Censors
 Thailand’s Film
  Industry Steps Up
 

18 มกราคม 2553

กฎกระทรวง
ว่าด้วยการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร
พ.ศ. ๒๕๕๒๑1
                  

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๑๗ และมาตรา ๖๕ ทศ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎกระทวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป

ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้
“สนธิสัญญา” หมายความว่า สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร ทำขึ้น ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓

“ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับตามสนธิสัญญา

“คำขอระหว่างประเทศ” หมายความว่า คำขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ที่ยื่นตามสนธิสัญญา

“ผู้ขอ” หมายความว่า ผู้ยื่นคำขอระหว่างประเทศ

“วันยื่นคำขอครั้งแรก” หมายความว่า
(๑) วันยื่นคำขอระหว่างประเทศ หรือ
(๒) วันยื่นคำขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ที่ผู้ขอได้ยื่นไว้ครั้งแรกก่อนการยื่นคำขอระหว่างประเทศในกรณีที่มีการขอถือสิทธิตามข้อ ๑๖

“สำนักระหว่างประเทศ” หมายความว่า สำนักระหว่างประเทศขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

“องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ” หมายความว่า สำนักงานสิทธิบัตรของประเทศสมาชิกหรือองค์การระหว่างประเทศ ที่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมสมัชชาของสนธิสัญญาให้มีอำนาจดำเนินการตรวจค้นและรายงานความเห็นเกี่ยวกับงานที่ปรากฏอยู่แล้วที่เกี่ยวข้องกับการ
ประดิษฐ์ตามคำขอระหว่างประเทศ

“องค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ” หมายความว่า สำนักงานสิทธิบัตรของประเทศสมาชิกหรือองค์การระหว่างประเทศ ี่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมสมัชชาของสนธิสัญญาให้มีอำนาจดำเนินการพิจารณาและจัดทำความเห็นเบื้องต้นว่าการประดิษฐ์ที่ปรากฏตามข้อถือสิทธิของคำขอระหว่างประเทศเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม

ข้อ ๓ กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับแก่การขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ตามสนธิสัญญา ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญา เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

หมวด ๑
การยื่นคำขอระหว่างประเทศเพื่อขอรับความคุ้มครอง
การประดิษฐ์ในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญา

ข้อ ๔ บุคคลผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาในประเทศไทยอาจยื่นคำขอระหว่างประเทศต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาบุคคลผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยให้หมายความรวมถึงบุคคลที่อยู่ในระหว่างการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมอย่างแท้จริงและจริงจังในประเทศไทย และนิติบุคคลที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทยด้วยในกรณีที่บุคคลผู้มีสัญชาติหรือมีภูมิลำเนาในประเทศภาคีอื่นแห่งสนธิสัญญายื่นคำขอระหว่างประเทศต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ผู้ขอชำระค่าดำเนินการในอัตราเท่ากับค่าดำเนินการเพื่อจัดส่งคำขอระหว่างประเทศตามข้อ ๑๐ และให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาส่งคำขอระหว่างประเทศนั้นไปยังสำนักระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการต่อไปในกรณีที่เป็นคำขอระหว่างประเทศของผู้ขอหลายคน ผู้ขออย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นบุคคลตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี

ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ขอประสงค์จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ให้มอบอำนาจแก่ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นผู้กระทำการแทนการมอบอำนาจให้แก่ตัวแทนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอยื่นหนังสือมอบอำนาจตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ประกอบคำขอระหว่างประเทศ หรือในกรณีที่ผู้ขอเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอระหว่างประเทศ ู้ขออาจแต่งตั้งตัวแทนโดยระบุการมอบอำนาจนั้นไว้ในคำขอระหว่างประเทศก็ได้

ข้อ ๖ คำขอระหว่างประเทศ ให้มีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) คำร้อง
(๒) รายละเอียดการประดิษฐ์
(๓) ข้อถือสิทธิ
(๔) รูปเขียน (ถ้ามี) และ
(๕) บทสรุปการประดิษฐ์
รายการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบคำขอระหว่างประเทศตามที่อธิบดีประกาศกำหนดตามสนธิสัญญา

ข้อ ๗ คำขอระหว่างประเทศจะต้องไม่มีข้อความหรือรูปเขียนที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือดูหมิ่นบุคคลใด ๆ หากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเห็นว่าคำขอระหว่างประเทศปรากฏข้อความหรือรูปเขียนในลักษณะดังกล่าว ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอแก้ไขข้อความหรือรูปเขียน พร้อมทั้งแจ้งให้สำนักระหว่างประเทศและองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศทราบด้วย

ข้อ ๘ ให้ผู้ขอยื่นคำขอระหว่างประเทศและเอกสารประกอบที่มีรายการและข้อความถูกต้องครบถ้วนเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำนวนสามชุดให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาระบุเลขที่คำขอไว้ในคำขอระหว่างประเทศ และประทับข้อความในคำขอระหว่างประเทศแต่ละชุดว่าเป็นคำขอระหว่างประเทศฉบับสำนักระหว่างประเทศ คำขอระหว่างประเทศฉบับองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ หรือคำขอระหว่างประเทศฉบับสำนักงานรับคำขอ

ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ขอยื่นคำขอระหว่างประเทศและเอกสารประกอบเป็นภาษาไทยให้ผู้ขอจัดทำคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ และยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับคำขอระหว่างประเทศในกรณีที่กรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ได้รับคำแปลก่อนที่มีหนังสือแจ้งตามข้อ ๑๓ (๑) ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาแจ้งเตือนกำหนดระยะเวลาการจัดทำคำแปลตามวรรคหนึ่งไปพร้อมกับหนังสือแจ้งด้วยในกรณีที่ผู้ขอไม่อาจยื่นคำแปลภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้ขออาจยื่นคำแปลได้ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่กรมทรัพย์สินทางปัญญามีหนังสือแจ้งตามข้อ ๑๓ (๑) หรือภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับคำขอระหว่างประเทศ แล้วแต่ว่ากำหนดระยะเวลาใดจะสิ้นสุดลงภายหลัง โดยต้องชำระค่ายื่นคำแปลล่าช้าในอัตราร้อยละยี่สิบห้าของค่ายื่นคำขอระหว่างประเทศเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม หากปรากฏว่าผู้ขอไม่ยื่นคำแปลต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ถือว่าผู้ขอถอนคำขอระหว่างประเทศ และให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศการถอนคำขอระหว่างประเทศในที่เปิดเผย ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งแจ้งไปยังสำนักระหว่างประเทศและผู้ขอเพื่อทราบ เว้นแต่ผู้ขอได้ยื่นคำแปลและชำระค่ายื่นคำแปลล่าช้าก่อนการประกาศการถอนคำขอระหว่างประเทศและก่อนครบกำหนดระยะเวลาสิบห้าเดือนนับแต่วันยื่นคำขอครั้งแรก


Next Page
[1]  [2]  [3]


ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๘๗ ก/หน้า ๓๕/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

 

 

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)