Hot! พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน  (ฉบับที่  ๗) พ.ศ.  ๒๕๖๒

พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน  (ฉบับที่  ๗) พ.ศ.  ๒๕๖๒

พระราชบัญญัติ

คุ้มครองแรงงาน  (ฉบับที่  ๗)

พ.ศ.  ๒๕๖๒

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ  บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วนที่  ๔  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔  ในรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ซึ่งมาตรา  ๒๖  ประกอบกับมาตรา  ๔๐  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  บัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เหตุผลและความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  อันจะทําให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการท างานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  และจะเป็น ประโยชน์แก่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ  ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไข ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา  ดังต่อไปนี้

มาตรา    ๑     พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  “พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  (ฉบับที่  ๗)

พ.ศ.  ๒๕๖๒”

มาตรา    ๒     พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา    ๓     ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา  ๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา   ๙    ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงินตามมาตรา  ๑๐  วรรคสอง

ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา ๑๗/๑ หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเวลาที่กําหนดตามมาตรา   ๗๐  หรือไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการ

ตามมาตรา  ๗๕  หรือค่าชดเชยตามมาตรา  ๑๑๘  ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือ

ค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๒๐/๑ มาตรา ๑๒๑ และมาตรา ๑๒๒ ให้นายจ้าง เสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี”

มาตรา    ๔     ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๓ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง  โอน  หรือควบกับนิติบุคคลใด  หากมีผลทําให้ลูกจ้างคนหนึ่งคนใด ไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่  การไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจาก ลูกจ้างคนนั้นด้วย  และให้สิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมคงมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ”

มาตรา     ๕    ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๑๗/๑  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.  ๒๕๔๑

“มาตรา ๑๗/๑  ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบ

ตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจํานวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง โดยให้จ่าย ในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน”

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๓๔  ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจําเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่าสามวันทํางาน”

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๔๑ ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบแปดวัน วันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรานี้ให้หมายความรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย วันลาตามวรรคหนึ่ง  ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย”

มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕๓   ให้นายจ้างกําหนดค่าจ้าง  ค่าล่วงเวลา  ค่าทํางานในวันหยุดและค่าล่วงเวลา ในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างที่ท างานอันมีลักษณะ คุณภาพ  และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกัน ในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง”

มาตรา  ๙  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๕๗/๑  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.  ๒๕๔๑

“มาตรา  ๕๗/๑  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจําเป็นตามมาตรา  ๓๔ เท่ากับค่าจ้างในวันทํางานตลอดระยะเวลาที่ลา  แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามวันทํางาน”

มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕๙ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่ง เป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา ๔๑ เท่ากับค่าจ้างในวันทํางานตลอดระยะเวลาที่ลา  แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน”

มาตรา   ๑๑    ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๗๐  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด  ค่าล่วงเวลาในวัน และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถูกต้องและตามกําหนดเวลา  ดังต่อไปนี้

หยุด

(๑)   ในกรณีที่มีการคํานวณค่าจ้างเป็นรายเดือน  รายวัน  รายชั่วโมง  หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่น ที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย  ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่ จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง

(๒)   ในกรณีที่มีการคํานวณค่าจ้าง  นอกจาก  (๑)  ให้จ่ายตามกําหนดเวลาที่นายจ้างและ ลูกจ้างตกลงกัน

(๓)   ค่าล่วงเวลา  ค่าทํางานในวันหยุด  ค่าล่วงเวลาในวันหยุด  และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย ตามพระราชบัญญัตินี้ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง

ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด ค่าล่วงเวลา

ในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้าง ภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง”

มาตรา   ๑๒    ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

พ.ศ.  ๒๕๔๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  (ฉบับที่  ๒)  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๗๕  ในกรณีที่นายจ้างมีความจําเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สําคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทําให้นายจ้างไม่สามารถ ประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้า ของค่าจ้างในวันทํางานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้าง ทํางาน ณ  สถานที่จ่ายเงินตามมาตรา  ๕๕  และภายในกําหนดเวลาการจ่ายเงินตามมาตรา  ๗๐  (๑)”

มาตรา   ๑๓    ให้ยกเลิกความใน  (๕)  ของมาตรา  ๙๓  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

พ.ศ.  ๒๕๔๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  (ฉบับที่  ๒)  พ.ศ.  ๒๕๕๑  และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๕) ออกคัาสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ

ตามมาตรา  ๑๒๐/๑”

มาตรา   ๑๔    ให้ยกเลิกความใน (๕) ของมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

พ.ศ.  ๒๕๔๑  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๕) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบสิบปี  แต่ไม่ครบยี่สิบปี  ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย สามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการท างานสามร้อยวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา   ๑๕   ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น    (๖)  ของมาตรา   ๑๑๘  แห่งพระราชบัญญัติ

คุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.  ๒๕๔๑

“(๖) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบยี่สิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย สี่ร้อยวัน  หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการท างานสี่ร้อยวันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคํานวณเป็นหน่วย”

มาตรา   ๑๖   ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒๐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๒๐ นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่ หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ ในที่เปิดเผย ณ  สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน  ติดต่อกันเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ  และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจน

เพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ

แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปท  างาน   ณ  สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการท างานสามสิบวันสุดท้ายส าหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย

หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสําคัญต่อการดํารงชีวิต ตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทํางาน ณ  สถานประกอบ กิจการแห่งใหม่  ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือ นับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่า สัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา  ๑๑๘

ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองหรือค่าชดเชยพิเศษ ตามวรรคสามให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด

ในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้างตามวรรคสาม   ให้นายจ้างยื่นคําร้องต่อ คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ”

มาตรา ๑๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒๐/๑ และมาตรา ๑๒๐/๒ แห่งพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.  ๒๕๔๑

“มาตรา  ๑๒๐/๑  เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาคําร้องตามมาตรา   ๑๒๐ วรรคห้าแล้ว  เห็นว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือ ค่าชดเชยพิเศษ  แล้วแต่กรณี  ให้แก่ลูกจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบคําสั่ง

ในกรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้ว เห็นว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับ ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการ สวัสดิการแรงงานแจ้งคําสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบ

ในการพิจารณาและมีคําสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้อง และแจ้งคําสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีคําสั่ง

คําสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด  เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์ค าสั่ง ต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่ง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนําคดีไปสู่ศาล  นายจ้าง ต้องวางหลักประกันต่อศาลตามจํานวนที่ต้องจ่ายตามคําสั่งนั้น  จึงจะฟ้องคดีได้

การส่งคําสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้นํามาตรา  ๑๔๓  มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๑๒๐/๒ ในกรณีที่นายจ้างได้อุทธรณ์คําสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานต่อศาล

ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามมาตรา  ๑๒๐/๑  วรรคสี่  และได้ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง

ของศาลแล้ว  การดําเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับไป”

มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๑๒๔/๑  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๒๔/๑ ในกรณีที่นายจ้างได้ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา  ๑๒๔ ภายในระยะเวลาที่กําหนด  การด าเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับไป”

มาตรา   ๑๙    ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๑๒๕/๑  ของหมวด  ๑๒  การยื่นค าร้องและ การพิจารณาคําร้อง  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.  ๒๕๔๑

“มาตรา ๑๒๕/๑ ในกรณีที่นายจ้างได้น าคดีไปสู่ศาลภายในระยะเวลาที่กําหนดตามมาตรา  ๑๒๕ และได้ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลแล้ว  การดําเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับไป” มาตรา  ๒๐ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๑๔๔  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

พ.ศ.  ๒๕๔๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  (ฉบับที่  ๖)  พ.ศ.  ๒๕๖๐  และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๑)  มาตรา  ๑๐  มาตรา  ๑๗/๑  มาตรา  ๒๓  วรรคสอง  มาตรา  ๒๔  มาตรา  ๒๕

มาตรา  ๒๖  มาตรา  ๓๗  มาตรา  ๓๘  มาตรา  ๓๙  มาตรา  ๓๙/๑  มาตรา  ๔๐  มาตรา  ๔๒

มาตรา  ๔๓  มาตรา  ๔๖  มาตรา  ๔๗  มาตรา  ๔๘  มาตรา  ๕๑  มาตรา  ๕๗/๑  มาตรา  ๖๑

มาตรา  ๖๒  มาตรา  ๖๓  มาตรา  ๖๔  มาตรา  ๖๗  มาตรา  ๗๐  มาตรา  ๗๑  มาตรา  ๗๒ มาตรา  ๗๖  มาตรา  ๙๐  วรรคหนึ่ง  มาตรา  ๑๑๘  วรรคหนึ่ง  หรือมาตรา  ๑๑๘/๑  วรรคสอง” มาตรา   ๒๑  ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๑๔๔ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

พ.ศ.  ๒๕๔๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  (ฉบับที่  ๕)  พ.ศ.  ๒๕๖๐  และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๒)  มาตรา  ๑๒๐  มาตรา  ๑๒๐/๑  มาตรา  ๑๒๑  หรือมาตรา  ๑๒๒  ในส่วนที่เกี่ยวกับ การไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ”

มาตรา   ๒๒    ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๔๕  นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษ

ปรับไม่เกินห้าพันบาท”

มาตรา   ๒๓    ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๖ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๔๖ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙

มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๕ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘

มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๗

มาตรา ๙๙  มาตรา ๑๐๘  มาตรา ๑๑๑  มาตรา ๑๑๒  มาตรา ๑๑๓  มาตรา ๑๑๔  มาตรา ๑๑๕

มาตรา  ๑๑๗  หรือไม่บอกกล่าวล่วงหน้า  ตามมาตรา  ๑๒๑  วรรคหนึ่ง  หรือมาตรา  ๑๓๙  (๒)

หรือ  (๓)  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท”

มาตรา   ๒๔    ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๕๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

พ.ศ.  ๒๕๔๑  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  (ฉบับที่  ๔)  พ.ศ.  ๒๕๕๓  และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา ๑๒๔ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจําทั้งปรับ”

มาตรา ๒๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา  ๑๕๕/๑  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๑๕๕/๑  นายจ้างผู้ใดไม่ยื่นหรือไม่แจ้งแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน ตามมาตรา  ๑๑๕/๑  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท”

ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 ห ม า ย เ ห ตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ  เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทำให้บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและ ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการเพื่อให้ความคุ้มครองลูกจ้าง สมควรแก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดให้การเปลี่ยนแปลง ตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง  กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นปีหนึ่งไม่น้อยกว่า สามวันทำงาน กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรได้โดยให้ถือเป็น วันลาเพื่อคลอดบุตร  เพิ่มอัตราค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบยี่สิบปีขึ้นไป กำหนดให้การย้ายสถานประกอบกิจการ ให้รวมทั้งการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่  หรือสถานที่อื่น ของนายจ้าง และแก้ไขให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด  และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในอัตราเท่ากันทั้งลูกจ้างชายและหญิงในงานที่มีค่าเท่าเทียมกันเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino! Martian Wallet is a secure and user-friendly platform for managing your cryptocurrencies. It supports various assets and offers seamless transactions for both beginners and experts. Learn more at martianwallet.net. MetaMask Extension