Hot! พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙

พระราชบัญญัติ

เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๓)

พ.ศ. ๒๕๕๙

_________________

ภูมิพลอดุลยเดช

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙

เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบัน

                  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ

ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

   มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๓)

พ.ศ.๒๕๕๙”

มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใน   ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติมาตรา ๓๑ จะใช้บังคับเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๓  ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “เครื่องหมาย” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เครื่องหมาย” หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ กลิ่น เสียง หรือสิ่งเหล่านี้อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน”

มาตรา ๔  ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่ากากรระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น ตลอดจนออกประกาศ ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕  ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ

(๑)  ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

(๒)  คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(๓)  คำที่ประดิษฐ์ขึ้น

(๔)  ตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์

(๕)  กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ

(๖)  ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว

(๗)  ภาพของผู้จดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น

(๘)  ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น

(๙)  ภาพอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(๑๐)  รูปร่างหรือรูปทรงอันไม่เป็นลักษณะโดยธรรมชาติของสินค้านั้นเอง หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่จำเป็นต่อการทำงานทางเทคนิคของสินค้านั้น หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่ทำให้สินค้านั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

(๑๑)  กลิ่นอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง หรือกลิ่นที่ไม่เป็นกลิ่นโดยธรรมชาติของสินค้านั้น

(๑๒)  เสียงอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือเสียงที่ไม่เป็นเสียงโดยธรรมชาติของสินค้านั้น หรือเสียงที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานของสินค้านั้น”

มาตรา ๖  ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะตามวรรคสอง (๑) ถึง (๑๒) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ”

มาตรา ๗  ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔

  มาตรา ๘  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๗ ห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนในกรณีที่เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้น

(๑)  เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน

(๒)  เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน

มาตรา ๑๔  ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือที่อยู่ในระหว่างการขดจดทะเบียนของเจ้าของเดียวกัน ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นเหมือนกันหรือคล้ายกันจนถึงกับว่า ถ้าหากบุคคลอื่นจะเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว ก็อาจจะเป็นการทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นเป็นเครื่องหมายชุด และมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า”

มาตรา ๙  ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น และมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๑๐  ให้ยกเลิกความใน (๑) และ (๒) ของวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๑) สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงการปฏิเสธว่า ไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนดังกล่าวของเครื่องหมายการค้ารายนั้น ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น

(๒)  สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงการปฏิเสธอย่างอื่น ตามที่นายทะเบียนเห็นว่าจำเป็นต่อการกำหนดสิทธิจากการจดทะเบียนของเจ้าของเครื่องหมายการค้ารายนั้น ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น”

มาตรา ๑๑  ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๙  ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด”

มาตรา ๑๒  ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ถ้าคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๗ ถูกต้องแล้ว ให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ”

มาตรา ๑๓  ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๒๐  ในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนหลายรายต่างยื่นคำขอทะเบียนเพื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้นายทะเบียนดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นไว้เป็นรายแรก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนรายหลังรอการพิจารณาดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อน

(๑)  เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวก ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน

(๒)  เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน

ในกรณีที่เครื่องหมายการค้าที่ยื่นไว้เป็นรายแรกไม่ได้รับการจดทะเบียนให้นายทะเบียนพิจารณาดำเนินการเดี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นไว้เป็นรายถัดไป และมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนรายนั้นและรายอื่นทราบโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๒๑  ผู้ขอจดทะเบียนซึ่งเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ตนขอจดทะเบียนมิได้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารายอื่นที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อน มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

มาตรา ๑๔  ให้ยกเลิกมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔

มาตรา  ๑๕  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๒๗  ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้านั้น เป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเห็นสมควรรับจดทะเบียน นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันดังกล่าวให้แก่เจ้าของหลายคนก็ได้ โดยจะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดอื่นตามที่นายทะเบียนเห็นสมควรกำหนดด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอจดทะเบียนและเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วทราบโดยไม่ชักช้า

ผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามวรรคสองให้เป็นที่สุด”

มาตรา ๑๖  ให้ยกเลิกความใน (๑) และ (๒) ของวรรคสามของมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๓๑  ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนของนายทะเบียนตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน”

มาตรา ๑๘  ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๓๕  เมื่อได้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายได้ตามมาตรา ๒๙ แล้ว บุคคลใดเห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นหรือเห็นว่าเครื่องหมายการค้ารายนั้นไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา ๖ หรือการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้น หรือเห็นว่าเครื่องหมายการค้ารายนั้นไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา ๖ หรือการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ บุคคลนั้นจะยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนก็ได้ แต่ต้องยื่นภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา ๒๙ พร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการคัดค้าน”

มาตรา ๑๙  ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ให้ผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำโต้แย้งคำคัดค้านตามแบบที่อธิบดีกำหนด โดยแสดงเหตุที่ตนอาศัยเป็นหลักในการขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในหกสิบวันแต่วันที่ได้รับสำเนาคำคัดค้าน และให้นายทะเบียนส่งสำเนาคำโต้แย้งนั้นไปยังผู้คัดค้านโดยไม่ชักช้า”

มาตรา ๒๐  ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ในการพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้าน นายทะเบียนจะมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนและผู้คัดค้านมาให้ถ้อยคำ  ทำคำชี้แจง หรือแสดงหลักฐานเพิ่มเติมก็ได้ หากผู้ขอจดทะเบียนหรือผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งให้นายทะเบียนพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านต่อไปตามหลักฐานที่มีอยู่”

มาตรา ๒๑  ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ผู้ขอจดทะเบียนหรือผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียน ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นโดยไม่ชักช้า”

มาตรา ๒๒  ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เมื่อได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ และให้ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่ง ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถ้อว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน”

  มาตรา ๒๓  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๒/๑ ของส่วนที่ ๓ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในหมวด ๑ เครื่องหมายการค้าแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔

“มาตรา ๕๒/๑  ในกรณีที่การขอจดทะเบียนการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้าไม่เป็นไปตามมาตรา ๕๑ วรรคสอง หรือการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียนไม่เป็นไปตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งนั้น

หากผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้ามิได้ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียนการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้า หรือคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี”

มาตรา ๒๔  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ และมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕๔  เจ้าของเครื่องหมายการค้าใดประสงค์จะต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตน ให้ยื่นคำขอต่ออายุต่อนายทะเบียนพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายในเก้าสิบวันก่อนวันสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นยังคงจดทะเบียนอยู่จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ในการยื่นคำขอต่ออายุตามวรรคหนึ่ง หากเจ้าของเครื่องหมายการค้าประสงค์จะขอผ่อนผันการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุ ให้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันพร้อมคำขอต่ออายุ ทั้งนี้ ให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายในสองร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียน และต้องชำระ    ค่าธรรมเพิ่มร้อยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมการต่ออายุ

การขอต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๕๕  ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ยื่นคำขอต่ออายุและชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และนายทะเบียนเห็นว่าการขอต่ออายุเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๕๔ วรรคสาม ให้นายทะเบียนต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นอีกสิบปีนับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียนเดิม นับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียนที่ได้ต่อไว้ครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณี

ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ยื่นคำขอต่ออายุและชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แต่นายทะเบียนเห็นว่าการขอต่ออายุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๕๔ วรรคสาม ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น และมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นทราบโดยไม่ชักช้า ถ้าเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

การขอต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๕๕  ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ยื่นคำขอต่ออายุและชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และนายทะเบียนเห็นว่าการขอต่ออายุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๕๔ วรรคสาม ให้นายทะเบียนต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นอีกสิบปีนับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียนเดิม หรือนับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียนที่ได้ต่อไว้ครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณี

ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ยื่นคำขอต่ออายุและชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แต่นายทะเบียนเห็นว่าการขอต่ออายุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๕๔ วรรคสาม ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น และมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นทราบโดยไม่ชักช้า ถ้าเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น

มาตรา ๕๖  ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้ามิได้ยื่นคำขอต่ออายุตามมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง หรือได้ยื่นคำขอต่ออายุและได้ขอผ่อนผันการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุ แต่มิได้ชำระค่าธรรมเนียมตามมาตรา ๕๔ วรรคสอง ให้ถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้ว”

มาตรา ๒๕  ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน ถ้าไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนเป็นที่สุด”

มาตรา ๒๖  ให้ยกเลิกความใน (๓) และ (๔) ของมาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๓) เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือ

(๔)  เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน”

มาตรา ๒๗ ให้ยกเลิกความใน (๓) และ (๔) ของมาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๓) เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน หรือ

(๔) เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหารค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน”

มาตรา ๒๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาต มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน ถ้าไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนเป็นที่สุด”

มาตรา ๒๙ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาต มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน ถ้าไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนเป็นที่สุด”

มาตรา ๓๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๙/๑ ของส่วนที่ ๕ การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าในหมวด ๑ เครื่องหมายการค้าแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔

“มาตรา ๗๙/๑ ในกรณีที่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น”

มาตรา ๓๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๑/๑ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายใต้พิธีสารมาดริด มาตรา ๗๙/๒ มาตรา ๗๙/๓ มาตรา ๗๙/๔ มาตรา ๗๙/๕ มาตรา ๗๙/๖ มาตรา ๗๙/๗ มาตรา ๗๙/๘ มาตรา ๗๙/๙ มาตรา ๗๙/๑๐ มาตรา ๗๙/๑๑ มาตรา ๗๙/๑๒ มาตรา ๗๙/๑๓ มาตรา ๗๙/๑๔ และมาตรา ๗๙/๑๕ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔

“หมวด ๑/๑

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายใต้พิธีสารมาดริด

__________________

                  มาตรา ๗๙/๒ ในหมวดนี้

                  “พิธีสารมาดริด” หมายความว่า พิธีสารที่เกี่ยวกับความตกลงมาดริดเรื่องการจดทะเบียนระหว่างประเทศของเครื่องหมาย ซึ่งได้รับรอง ณ กรุงมาดริด เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๗๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

                  “คำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศ” หมายความว่า คำขอเพื่อการจดทะเบียนระหว่างประเทศสำหรับเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ที่ยื่นภายใต้พิธีสารมาดริด

                  “สำนักระหว่างประเทศ” หมายความว่า สำนักระหว่างประเทศขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

                  “สำนักงานต้นทาง” หมายความว่า สำนักระหว่างประเทศขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

                  “สำนักงานต้นทาง” หมายความว่า สำนักงานที่รับคำขอจดทะเบียนหรือรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ใช้เป็นฐานในการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศ

                  มาตรา ๗๙/๓ การจดทะเบียนระหว่างประเทศในราชอาณาจักรต้องเป็นผู้ซึ่งได้ยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเป็นผู้ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วในราชอาณาจักร และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

                  (๑) มีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือ

                  (๒) มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือ

                  (๓) มีสถานประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมและยังคงประกอบการอย่างจริงจังในประเทศไทย

                  มาตรา ๗๙/๕ ผู้ซึ่งได้ยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศในราชอาณาจักร มีสิทธิขอรับความคุ้มครองต่อภาคีอื่น และอาจขอรับความคุ้มครองเพิ่มเติมภายหลังจากที่ได้รับการจดทะเบียนระหว่างประเทศแล้วก็ได้

                  มาตรา ๗๙/๖ เมื่อได้รับแจ้งการขอจดทะเบียนระหว่างประเทศที่ระบุขอรับความคุ้มครองในราชอาณาจักรจากสำนักระหว่างประเทศแล้ว ให้ถือว่าเป็นคำขอจดทะเบีนในราชอาณาจักร และให้นายทะเบียนดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

                  ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าตามวรรคหนึ่งไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้หรือการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน และแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังสำนักระหว่างประเทศภายในระยะเวลาและตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

                  ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าอาจมีการคัดค้านเกินระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวงตามวรรคสองให้มีหนังสือแจ้งไปยังสำนักระหว่างประเทศภายในระยะเวลาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และในกรณีที่มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเนื่องจากการคัดค้านนั้น ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุแห่งการคัดค้านไปยังสำนักระหว่างประเทศภายในระยะเวลา และตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

                  ในกรณีที่ไม่มีการแจ้งอย่างหนึ่งอย่างใดไปยังสำนักระหว่างประเทศตามวรรคสองหรือวรรคสามให้ถือว่านายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น โดยไม่ต้องประกาศโฆษณาตามมาตรา ๒๙

                  เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักร

                  มาตรา ๗๙/๗ เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายใดแล้ว ให้ถือว่าวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศต่อสำนักงานต้นทางเป็นวันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น เว้นแต่ในกรณีที่สำนักระหว่างประเทศได้รับคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศเกินระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ถือว่าวันที่สำนักระหว่างประเทศได้รับคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศเป็นวันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น

                  การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้มีอายุสิบปีนับแต่วันที่จดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง และอาจต่ออายุได้ตามพระราชบัญญัตินี้

                  มาตรา ๗๘/๘ ในกรณีที่มีการระบุขอรับความคุ้มครองในราชอาณาจักรภายหลังจากที่สำนักระหว่างประเทศได้จดทะเบียนไว้แล้ว ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๙/๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ถือว่าเครื่องหมยการค้านั้นได้รับความคุ้มครองในราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่สำนักระหว่างประเทศได้บันทึก การขอรับความคุ้มครองในทะเบียนระหว่างประเทศ และให้วันสิ้นอายุการจดทะเบียนเป็นวันเดียวกับวันสิ้นอายุในทะเบียนระหว่างประเทศนั้น และอาจต่ออายุได้ตามพระราชบัญญัตินี้

                  มาตรา ๗๙/๙ ในกรณีที่เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรเป็นเครื่องหมายเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนระหว่างประเทศซึ่งได้รับความคุ้มครองในราชอาณาจักรแล้ว และเป็นของเจ้าของเดียวกัน เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นอาจขอให้นายทะเบียนบันทึกว่าเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนระหว่างประเทศมีผลแทนเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักรสำหรับสินค้าทั้งหมดหรือบางอย่างที่ตรงกันก็ได้

                  บทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบถึงสิทธิที่ได้รับมาจากการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในราชอาณาจักรที่มีอยู่ก่อน

                  มาตรา ๗๙/๑๐ ในกรณีที่คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ยื่นไดว้ ณ สำนักงานต้นทางรวมถึคงทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนตามคำขอดังกล่าว หรือทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ ณ สำนักงานต้นทาง ซึ่งใช้เป็นฐานในการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศสำหรับเครื่องหมายการค้รายใด ถูกถอนคืน ละทิ้ง ปฎิเสธ หรือเพิกถอน แล้วแต่กรณี สำหรับสินค้าทั้งหมดหรือบางอย่างภายในระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อไดรับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนระหว่างประเทศสำหรับเครื่องหมายการค้านั้นจากสำนักระหว่างประเทศแล้ว ให้ถือว่าคำขอจดทะเบียนหรือทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ระบุขอรับความคุ้มครองในราชอาณาจักร ถูกถอนคืน ละทิ้ง ปฏิเสธ หรือเพิกถอนแล้วแต่กรณี สำหรับสินค้าทั้งหมดหรือบางอย่างเช่นเดียวกัน ณ วันที่ทะเบียนระหว่างประเทศถูกเพิกถอน

                  บทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับการถอนคืน ละทิ้ง ปฏิเสธ หรือเพิกถอน ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง แต่ผลของการดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากระยะเวลานั้นสิ้นสุดแล้วด้วย

                  ในกรณีที่ประเทศไทยเป็นสำนักงานต้นทาง เมื่อมีเหตุตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้นายทะเบียนแจ้งไปยังสำนักระหว่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

                  มาตรา ๗๙/๑๑ ในกรณีที่ทะเบียนระหว่างประเทศสำหรับเครื่องหมายการค้าใดซึ่งระบุขอรับความคุ้มครองในราชอาณาจักรถูกเพิกถอนโดยสำนักระหว่างประเทศเนื่องจากเหตุตามมาตรา ๗๙/๑๐  เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ทะเบียนระหว่างประเทศถูกเพิกถอนอาจยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในราชอาณาจักรสำหรับสินค้าเดียวกันได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นการยื่นภายในระยะเวลา และตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้ถือว่าวันที่จดทะเบียนระหว่างประเทศตามมาตรา ๗๙/๗ หรือวันที่บันทึกการขอรับความคุ้มครองภายหลังการจดทะเบียนระหว่างประเทศตามมาตรา ๗๙/๘ แล้วแต่กรณีเป็นวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนในราชอาณาจักร

                  มาตรา ๗๙/๑๒ หนังสือเรียก หนังสือแจ้ง หรือหนังสืออื่นใด ที่มีถึงผู้ขอจดทะเบียนระหว่างประเทศหรือเจ้าของทะเบียนระหว่างประเทศ ตัวแทน ผู้รับมอบอำนาจ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งไปยังสำนักระหว่างประเทศ เพื่อแจ้งต่อไปให้บุคคลนั้นทราบ เว้นแต่เป็นกรณีที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ การส่งหนังสือดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

                  เมื่อได้ส่งตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคหนึ่ง และเวลาได้ล่วงพ้นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ถือว่าบุคคลตามวรรคหนึ่งได้รับหนังสือนั้นแล้ว

                  มาตรา ๗๘/๑๓ การขอและการจดทะเบียน การขอบันทึกการจดทะเบียนระหว่างประเทศแทนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในราชอาณาจักร การขอรับความคุ้มครอง การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียน การอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียน และการต่ออายุการจดทะเบียน รวมทั้งการดำเนินการอื่นใดภายใต้พิธีสารมาดริด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

                  มาตรา ๗๘/๑๔ การออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๗๙/๖ มาตรา ๗๙/๗ มาตรา ๗๙/๑๐ มาตรา ๗๙/๑๑ มาตรา ๗๙/๑๒ และมาตรา ๗๙/๑๓ ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับพิธีสารมาดริด

                  ค่าดำเนินการในต่างประเทศภายใต้พิธีสารมาดริดให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศตามที่สำนักระหว่างประเทศกำหนด

                  มาตรา ๗๘/๑๕ บทบัญญัติในหมวดนี้ให้ใช้บังคับโดยอนุโลมแก่เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม ที่ขอจดทะเบียนระหว่างประเทศภายใต้พิธีสารมาดริด แล้วแต่กรณีด้วย”

มาตรา ๓๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 “มาตรา ๘๙  เจ้าของเครื่องหมายรับรองนั้นหรือบุคคลอื่นใด ที่ได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๗ หรือมาตรา ๘๘ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา ๘๗ หรือนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๘ แล้วแต่กรณี”

มาตรา ๓๓  ให้เพิ่มควมต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔

“มาตรา ๑๐๙/๑ บุคคลใดนำหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรมาใช้สำหรับสินค้าของตนเองหรือของบุคคลหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายร่วม หรือเชื่อว่าเป็นสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา ๓๔ ให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน

  มาตรา ๓๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๖ บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นคำขอตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้และให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดไว้แล้ว ให้การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศง ๒๕๓๔ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด

(๒) ในกรณีที่นายทะเบียนยังมิได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ให้การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

การดำเนินการเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมสำหรับคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญยัติเครื่องหมายการค้า พ.ศง ๒๕๓๔ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด

เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ที่มีคำสั่งให้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือเป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ที่มิได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๓๖  ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนหลายรายต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และนายทะเบียนมีคำสั่งแล้วว่า เครื่องหมายดังกล่าวเป็นเครื่องหมายที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน แต่ยังมิได้มีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนตกลงกันว่าจะให้รายหนึ่งรายใดเป็นผู้ขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายนั้นแต่ผู้เดียว ให้การดำเนินการเฉพาะในกรณีดังกล่าวเป็นไปตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๓๗  คำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนสำหรับเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ตามมาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การดำเนินการที่เกี่ยวกับคำสั่งเพิกถอนและค่าธรรมเนียมในเรื่องดังกล่าวอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการเพิกถอนหรือไม่เพิกถอนการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี

มาตรา ๓๘ บรรดากฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

  มาตรา ๓๙  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

 

อัตราค่าธรรมเนียม

(๑) คําขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม

(ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจําพวก ๑ ถึง ๕ อย่าง อย่างละ ๑,๐๐๐ บาท

(ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจําพวก มากกว่า ๕ อย่าง จําพวกละ ๙,๐๐๐ บาท

(๒) รูปเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ที่มีด้านกว้างหรือด้านยาวเกิน ๕ เซนติเมตร ให้คิดเฉพาะส่วนที่เกิน เซนติเมตรละ ๒๐๐ บาท เศษของเซนติเมตรให้คิดเป็ นหนึ่งเซนติเมตร

(๓) คําคัดค้านการขอจดทะเบียนตาม (๑) ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท

(๔) คําขอโอนสิทธิในคําขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม คําขอละ ๒,๐๐๐ บาท

(๕) การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม

(ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจําพวก ๑ ถึง ๕ อย่าง อย่างละ ๖๐๐ บาท

(ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจําพวก มากกว่า ๕ อย่าง จําพวกละ ๕,๔๐๐ บาท

(๖) ใบแทนหนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ ๒๐๐ บาท

(๗) คําขอจดทะเบียนการโอนหรือการรับมรดกสิทธิ ในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม คําขอละ ๒,๐๐๐ บาท

(๘) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ การจดทะเบียนตาม (๕) คําขอละ ๔๐๐ บาท

(๙) การต่ออายุการจดทะเบียนตาม (๕) (ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจําพวก ๑ ถึง ๕ อย่าง อย่างละ ๒,๐๐๐ บาท (ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจําพวก มากกว่า ๕ อย่าง จําพวกละ ๑๘,๐๐๐ บาท

(๑๐) คําร้องขอต่อคณะกรรมการให้สั่งเพิกถอน การจดทะเบียนตาม (๕) ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท

(๑๑) คําขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คําขอละ ๑,๐๐๐ บาท

(๑๒) การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ สัญญาละ ๒,๐๐๐ บาท

(๑๓) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ การจดทะเบียนตาม (๑๒) คําขอละ ๔๐๐ บาท

(๑๔) คําขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตาม (๑๒) คําขอละ ๔๐๐ บาท

(๑๕) คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําขอจดทะเบียน ตาม (๑) (๗) หรือ (๑๑) คําขอละ ๒๐๐ บาท

(๑๖) คําขอแกไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับว่าด้วย การใช้เครื่องหมายรับรอง (ก) ก่อนการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง คําขอละ ๒๐๐ บาท (ข) หลังการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง คําขอละ ๔๐๐ บาท

(๑๗) คําอุทธรณ์ (ก) อุทธรณ์คําสั่งของนายทะเบียนตาม มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๗ หรือคําวินิจฉัยของนายทะเบียนตามมาตรา ๓๗ ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท (ข) อุทธรณ์ตามมาตราอื่น ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท

(๑๘) การตรวจค้นข้อมูลทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม หรือสารบบเครื่องหมายดังกล่าว ชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท เศษของชั่วโมงให้คิดเป็ นหนึ่งชั่วโมง

(๑๙) การขอสําเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม พร้อมคํารับรอง ฉบับละ ๔๐๐ บาท

(๒๐) การขอคัดสําเนาเอกสาร หน้าละ ๒๐ บาท

(๒๑) การขอให้รับรองสําเนาเอกสารเรื่องเดียวกัน

(ก) เอกสารไม่เกิน ๔๐ หน้า หน้าละ ๒๐ บาท

(ข) เอกสารเกิน ๔๐ หน้า ฉบับละ ๘๐๐ บาท

(๒๒) การขอหนังสือรับรองรายการการจดทะเบียน ฉบับละ ๑๐๐ บาท

(๒๓) คําขออื่น ๆ คําขอละ ๒๐๐ บาท

(๒๔) การจัดเตรียมและจัดส่งคําขอจดทะเบียน ระหว่างประเทศและคําขออื่นภายใต้พิธีสารมาดริด

(ก) บริการจัดเตรียมและจัดส่งคําขอจดทะเบียน คําขอละ ๒,๐๐๐ บาท

(ข) บริการจัดเตรียมและจัดส่งคําขอต่ออายุ คําขอโอน คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง และคําขออื่น ๆ คําขอละ ๑,๐๐๐ บาท

(ค) คําขอให้บันทึกการจดทะเบียนระหว่างประเทศ แทนการจดทะเบียนในราชอาณาจักร คําขอละ ๒,๐๐๐ บาท

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า ในระดับสากลได้มีการขยายขอบเขตการให้ความคุ้มครองไปยังเครื่องหมายประเภทใหม่ๆ ซึ่งบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ยังไม่ครอบคลุม ประกอบกับประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีแห่งพิธีสาร ที่เกี่ยวกับความตกลงมาดริดเรื่องการจดทะเบียนระหว่างประเทศของเครื่องหมาย (พิธีสารมาดริด) ซึ่งพิธีสาร ดังกล่าวมีสาระสําคัญเป็นการกําหนดให้มีการยื่นคําขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม ในประเทศภาคีแห่งพิธีสารมาดริด โดยการยื่นคําขอจดทะเบียนระหว่างประเทศ เพียงครั้งเดียวเพื่อขอรับความคุ้มครองไปยังประเทศต่างๆ ที่เป็นภาคีแห่งพิธีสารมาดริดได้ สมควรขยายขอบเขต การให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับพิธีสาร มาดริดดังกล่าว นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีการนําหีบห่อหรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วมาใช ้ในลักษณะเป็นการหลอกลวงซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อสาธารณชนและเจ้าของเครื่องหมายดังกล่าว สมควรกําหนดฐานความผิดและโทษทางอาญาสําหรับการกระทํา ดังกล่าว รวมทั้งสมควรปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาในการดําเนินการจดทะเบียนให้มีความชัดเจนและรวดเร็ว มากขึ้น และปรับอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino! Immediate Vault Immediate Byte Pro Invest Wave Max Cógaslann ar líne Clonaslee Pharmacy leis na praghsanna is fearr in Éirinn