ทนายความอาญาชนินาฏ แอนด์ ลีดส์ ได้ชนะคดีศาลยกฟ้องโทษประหารชีวิต จากศาลฎีกาในคดียาเสพติด

by admin on มีนาคม 22, 2023

ทนายความอาญาชนินาฏ แอนด์ ลีดส์ ได้ชนะคดีศาลยกฟ้องโทษประหารชีวิต จากศาลฎีกาในคดียาเสพติด ช่วยให้จำเลยกลับมามีอิสรภาพใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่   ๑๓ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๐/๑๕๖๖

เรื่อง        ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ความผิดต่อพระราชบัญญัติ จราจรทางบก ความผิดต่อพระราชบัญญัติรถยนต์

โดยศาลได้มีคำพิพากษาว่าที่จําเลยที่ ๒ ยื่นคําร้องขอให้กําหนดโทษของจําเลยที่ ๒ ใหม่ ซึ่งต้องพิจารณาในส่วนความผิดของจําเลยที่ ๒ ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน และความผิดของ จําเลยที่ ๓ ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ปรากฏว่าได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๔ ออกใช้บังคับ โดยใน มาตรา ๔ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวแทน โดยความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ ต้องด้วยบทกําหนดโทษตามมาตรา ๙๑ ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทําความผิดมีระวางโทษจําคุกตั้งแต่ ๖ เดือน ถึง ๓ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาท ถึง ๖๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ส่วนประมวลกฎหมายยาเสพติด ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๐๔ และต้องด้วยบทกําหนดโทษตามมาตรา ๑๖๒ มีระวางโทษจําคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ดังนี้ จะเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทําผิดและเป็นกฎหมายใหม่ยังคงบัญญัติให้การเสพเมทแอมเฟตามีนยังเป็นความผิดอยู่เช่นเดิม

สําหรับความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนนั้น พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๔ มาตรา ๗ กําหนดให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่อ้างถึงบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นอ้างถึงบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดในมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน เมื่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๕๗/๑ วรรคสอง อ้างถึงพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๙๑ จึงถือว่าอ้างถึงประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๖๒ ซึ่งเป็นบทกําหนดความผิดเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดให้โทษในการเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จึงต้องด้วยบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๕๗/๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษสูงกว่าที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม ซึ่งหมายความรวมถึงประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๖๒ ด้วย และที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษจําเลยที่ ๓ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๙๗ นั้น เมื่อตามกฎหมายเดิมมาตรา ๘๗ ที่บัญญัติให้ศาลเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งแก่ผู้กระทําความผิดตามกฎหมายเติมอีกในระหว่าง ที่ยังต้องรับโทษอยู่หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษได้ถูกยกเลิกไปแล้ว

ส่วนกฎหมายใหม่ก็ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษเช่นเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงไม่อาจเพิ่มโทษทั้งตามกฎหมายเก่าที่ถูกยกเลิกไปแล้วและตามกฎหมายใหม่ได้ แต่เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗ บัญญัติว่า บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาให้นําไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอันเป็นกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติเรื่องเพิ่มโทษเพราะกระทําผิดอีกไว้ ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจําเลยที่ ๓ กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีกโดยไม่เข็ดหลาบและโจทก์ได้ขอให้เพิ่มโทษจําเลยที่ ๓ ตามกฎหมายเดิม มาตรา ๙๗ ไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในคําฟ้องตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๙ วรรคหนึ่ง แล้วด้วย ศาลย่อมมีอํานาจเพิ่มโทษจําเลยที่ ๓ หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๒ ที่เป็นบททั่วไปได้ปัญหาดังกล่าวล้วนเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอํานาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕ วรรคสอง และมาตรา ๒๒๕ ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓

พิพากษาแก้เป็นว่า จําเลยที่ ๒ มีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๐๔, ๑๖๒ จําคุก ๖ เดือน จําเลยที่ ๒ มีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๐๔, ๑๖๒ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ ทวิ วรรคหนึ่ง, ๑๕๗/๑ วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๖๒ การกระทําของจําเลยที่ ๓ เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๕๗/๑ วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา ๑๖๒ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๙๐ จําคุกจําเลยที่ ๓ มีกําหนด ๘ เดือน เพิ่มโทษจําเลยที่ ๓ หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๒ เป็นจําคุก ๑๐ เดือน ๒๐ วัน เมื่อลดโทษให้จําเลยที่ ๒ และที่ ๓ กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ แล้ว คงจําคุก จําเลยที่ ๒ มีกําหนด ๓ เดือน จําคุกจําเลยที่ ๓ มีกําหนด ๕ เดือน ๑๐ วัน เมื่อรวมกับโทษปรับในความผิดฐานขับรถเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุของจําเลยที่ ๓ ตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว เป็นจําคุกจําเลยที่ ๓ มีกําหนด ๕ เดือน ๑๐ วัน และปรับ ๑,๐๐๐บาท ให้ยกฟ้องโจทก์สําหรับจําเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์

Leave a Comment

Previous post:

Next post: