การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศภายใต้พิธีสารมาดริด

by admin on พฤศจิกายน 3, 2017

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศภายใต้พิธีสารมาดริด

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีพิธีสารมาดริดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 โดยผู้ประกอบการไทยสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนไปยังต่างประเทศทั้งในกลุ่มประเทศอาเซียนหรือในประเทศอื่น ๆ ได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยระบบมาดริดจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ต้องเตรียมคำขอจดทะเบียนในแต่ละประเทศ ซึ่งระบบมาดริดนี้จะช่วยกระจายคำขอจดทะเบียนไปยังประเทศที่ผู้ขอจดทะเบียนเลือกโดยไม่จำเป็นต้องตั้งตัวแทนเครื่องหมายการค้า โดยใช้คำขอเพียง 1 ฉบับ และสามารถขอรับความคุ้มครองได้ 91 ประเทศทั่วโลก ซึ่งช่วยให้     ผู้ยื่นคำขอประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก

ระบบมาดริดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักระหว่างประเทศ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ซึ่งสำนักระหว่างประเทศจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้า และสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศต่าง ๆ สำนักระหว่างประเทศจะกระจายคำขอจดทะเบียนไปยังประเทศต่าง ๆ ที่ถูกระบุขอรับความคุ้มครองใน    คำขอจดทะเบียน และสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศต่าง ๆ จะเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องหมายการค้านั้นว่ามีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้หรือไม่ตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ โดยสำนักระหว่างประเทศจะแจ้งผลการตรวจสอบภายใน 1 ปี หรือ 18 เดือน ทั้งนี้ สำนักระหว่างประเทศจะเป็นผู้แจ้งสถานะคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่าง ๆ ให้แก่ผู้ยื่นคำขอ ในกรณีที่สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศใด ๆ ไม่รับจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิในการขอให้ทบทวนคำสั่ง อุทธรณ์ หรือฟ้องศาลได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายภายในประเทศนั้นกำหนด

 

ทั้งนี้ ระบบมาดริด เป็นเพียงทางเลือกนอกเหนือจากระบบการจดทะเบียนภายในประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนยังคงสามารถเลือกได้ว่าจะยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบมาดริด หรือจะยื่นคำขอจดทะเบียนตามระบบการจดทะเบียนภายในประเทศของประเทศนั้น ๆ ได้เช่นเดิม

 

เมื่อเครื่องหมายการค้าได้รับการจดทะเบียนผ่านระบบมาดริดในประเทศใด ๆ แล้ว เครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองทั้งในทางแพ่งและทางอาญาตามที่กฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ บัญญัติไว้

 

โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเริ่มใช้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศภายใต้พิธีสารมาดริดในวันที่

7 พฤศจิกายน 2560

***ทนายความที่สามารถจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยของสำนักงานทนายความชนินาฎ แอนด์ ลีดส์ มีประสบการณ์หลายสิบปีในคดีครอบครัว และเชี่ยวชาญในคดีไทยและนานาชาติที่ประสบความสำเร็จ***

 

Questions & Answers

Q: การยื่นคำขอเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ

A: การยื่นคำขอภายใต้ระบบมาดริดต้องมีคำขอพื้นฐานในประเทศไทย (คำขอที่ยื่นขอจดทะเบียน หรือ ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย) โดยคำขอที่ยื่นไว้ดังกล่าวจะถูกใช้เป็นฐานในการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

กล่าวคือ ต้องเป็นเจ้าของ และที่อยู่เดียวกัน รูปเครื่องหมายเดียวกัน ทั้งสินค้าและบริการ ในการยื่นคำขอต่างประเทศต้องครอบคลุมคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย นอกจากนี้ การยื่นคำขอในประเทศไทยและในต่างประเทศต้องเหมือนกัน

 

หากคุณมีเครื่องหมายการค้าจำนวนมาก IB สามารถระบุลงในการยื่นคำขอระหว่างประเทศฉบับเดียวกัน ตราบใดที่เครื่องหมายการค้านั้นเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน

—————————————————————————————————————————————————

Q: คุณสมบัติในการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ

 

A:             1. มีสัญชาติไทย

  1. มีภูมิลำเนาในประเทศไทย หรือ
  2. มีสถานประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมที่ยังคงประกอบกิจการอยู่ในประเทศไทย

—————————————————————————————————————————————————

Q: ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

 

A: ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับจำนวนประเทศที่คุณต้องการยื่นคำขอเครื่องหมายการค้าและจำนวนจำพวก

ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศมี 4 ประเภท

  1. ค่าธรรมเนียมเบื้องต้นสำหรับการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศหนึ่งคำขอ

– เครื่องหมายขาวดำ             653  สวิสฟรังค์

– เครื่องหมาย                         903  สวิสฟรังค์

  1. ค่าธรรมเนียมสำหรับจำพวกสินค้าและ/หรือบริการ ที่ยื่นขอจดทะเบียนเกิน 3 จำพวก โดยเสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่จำพวกที่ 4 ขึ้นไป จำพวกละ 100  สวิสฟรังค์
  2. ค่าธรรมเนียมสำหรับประเทศที่ระบุเพื่อขอจดทะเบียน ประเทศละ 100  สวิสฟรังค์
  3. ค่าธรรมเนียมเฉพาะประเทศ

* หมายเหตุ 1 สวิสฟรังค์ = 33.77 บาท

————————————————————————————————————————————————————————————

Q: หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ

 

A: 1. กรมทรัพย์สินทางปัญญาไทย 2. สำนักระหว่างประเทศ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก 3. กรมทรัพย์สินทางปัญญาประเทศที่ยื่นคำขอ

————————————————————————————————————————————————————————————-

 

 

 

 

 

Q: ระบบมาดริดมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง

 

A: หากคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ใช้เป็นฐานในการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศถูกเพิกถอน ปฏิเสธ หรือละทิ้ง หรือมีเหตุอื่น ๆ ซึ่งมีผลให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้านั้นสิ้นผลไป ภายในระยะเวลา     5 ปี นับจากวันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ เครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ

————————————————————————————————————————————————-

Q: การปฏิเสธการให้ความคุ้มครองชั่วคราว (Provisional refusal) มีระยะเวลาเท่าไหร่

 

A: กรมทรัพย์สินทางปัญญาของแต่ละประเทศที่ผู้ยื่นคำขอระบุขอรับความคุ้มครองจะต้องแจ้งการปฏิเสธชั่วคราวแก่สำนักระหว่างประเทศภายในระยะเวลา 12 – 18 เดือน

โดยการปฏิเสธชั่วคราวจะถูกบันทึกในทะเบียนระหว่างประเทศ และตีพิมพ์ในหนังสือประกาศโฆษณา และส่งสำเนาแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ

————————————————————————————————————————————————-

Q: การดำเนินการหลังจากได้รับคำสั่งปฏิเสธการให้ความคุ้มครองชั่วคราว ต้องทำอย่างไร

 

A: ผู้ยื่นคำขอต้องดำเนินการ เช่น การขอให้ทบทวนการตรวจสอบ การอุทธรณ์ หรือการโต้แย้งคำคัดค้าน ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเทศ

—————————————————————————————————————————————————

 

Leave a Comment

Previous post:

Next post: