กฎหมายควบคุมสกุลเงินดิจิทัลในประเทศไทย

by admin on มิถุนายน 29, 2018

                                   พระราชบัญญัติเรื่องเงินดิจิตอล

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาในด้านของกฎหมายด้านสกุลเงินดิจิตอลไปยังประเทศอื่น ที่อยู่รอบประเทศไทย โดยที่ก่อนหน้านี้ ทางประเทศไทยมีเทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ที่เรียกว่า บล็อกเชน (Blockchains)    เครือข่ายการเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง ที่คนส่วนมากสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลเดียวกัน  จึงทราบได้ว่า ใครมีสิทธิและเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านี้โดยแท้จริง โดยข้อมูลเหล่านี้ จะถูกเก็บอยู่ในแต่ละบล็อก (Block) ที่เชื่อมโยงกันบนเครือข่ายเหมือนกับห่วงโซ่ (Chain) จึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เรียกรูปแบบการเก็บและแชร์ข้อมูลแบบนี้ว่า   Blockchains

นอกจากนี้ เมื่อธุรกรรมต่างๆ ได้ถูกบันทึกในบล็อกเหล่านี้แล้ว  จะไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดได้ เพราะคนส่วนใหญ่ต่างก็มีสำเนา หรือประวัติ การทำธุรกรรมทั้งหมดอยู่กับตนเอง จึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ที่จะมีบุคคลใดมาปลอมแปลงข้อมูล โดยปราศจากการรับรู้จากผู้คนส่วนใหญ่ เทคโนโลยีที่เชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละคนเข้าด้วยกัน ก็คือ บล็อกเชน สามารถได้รับข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และแม่นยำมากยิ่งขึ้นด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงการคลังไม่อยากให้ประชาชนแลก Cryptocurrency เป็นเงินบาท จึงให้ทางคณะรัฐมนตรี นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับใหม่ โดยเผยถึงสาเหตุว่า พ.ร.บ.ฉบับเก่าล้าสมัยไม่บูรณาการไม่ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และไม่สามารถคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุน

จึงทำให้มีการร่างพระราชบัญญัติเงินดิจิตอลขึ้นมา โดยอ้างอิงจากเว็บกองทุนบัวหลวง การร่างพระราชบัญญัติใหม่นี้จะเป็นการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และครอบคลุมไปถึงการระดมทุน ICO พร้อมทั้งยังจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวต้องเสนอให้กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบ ก่อนเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป

โดยก่อนหน้านั้น ทางสยามบล็อกเชนก็เคยรายงานข่าวว่า กระทรวงการคลังได้เรียกประชุมแนวทางกำกับ Bitcoin เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่าน โดยใจความสำคัญของข่าวก็คือ บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) ได้เปิดให้นักลงทุนในไทยสามารถไปลงทุน Bitcoin Futures ในต่างประเทศไทย โดยคณะทำงานร่วมที่มาหารือมีทั้งหมด 4 ฝ่ายด้วยกันก็คือ กระทรวงการคลัง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  โดยการร่างกฏหมายนี้มีจุดประสงค์สำคัญ คือการ “คุมเข้มการฉ้อโกงประชาชน แชร์ลูกโซ่”

ที่มา : Siam Blockchain , Brand Inside

 

Leave a Comment

Previous post:

Next post: