ในการตัดสินคดีของศาลฎีกาในประเทศไทยที่น่าทึ่งนี้คือ สามีคนหนึ่งฟ้องชายอื่นในข้อหาล่วงประเวณีกับภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของเขา หลังจากชนะคดีชู้สาวกับชู้ของภริยาแล้ว สามีเป็นโจทก์ฟ้องในคำฟ้องใหม่ว่าชู้ไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาเป็นคดีอาญาเอาผิดชู้ข้อหาโกงเจ้าหนี้ และอันที่จริงได้โอนเงินของตนไปให้บุคคลที่สามเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระตามคำพิพากษา
สามีภรรยาสามารถฟ้องคดีอาญาเอาผิดชู้หรือเมียน้อยได้ ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติว่า “ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เจ้าหนี้ที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ มิได้หมายถึงเฉพาะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมายรวมถึงเจ้าหนี้อื่นซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิฟ้องให้ชำระหนี้ด้วย นอกจากนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า “สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้…” แสดงว่าสภาพความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยเป็นชู้กับภริยาโจทก์ ส่วนคำพิพากษาของศาลที่บังคับให้มีการชดใช้ค่าทดแทนกันมิได้ก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย แต่เป็นการบังคับความรับผิดแห่งหนี้ที่โจทก์กับจำเลยมีต่อกัน กรณีถือได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
บทความนี้ไม่ได้แนะนำในฐานะทนายความคดีอาญา หากคุณต้องการปรึกษากฎหมายหรือฟ้องชู้เป็นคดีอาญา คุณต้องติดต่อทำนัดหมายเพื่อปรึกษาทนายความคดีอาญาผู้เชียวชาญคดีนี้
credit photo : Hernán Piñera