ค่าชดเชยหลังถูกเลิกจ้าง

by admin on มกราคม 9, 2020

การที่บริษัทเอกชนไม่มีการกำหนดอายุเกษียณที่แน่นอนสำหรับลูกจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดย่อมเพื่อให้ลูกจ้างลาออกเองและหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

โดยทั่วไปแล้วสัญญาจ้างส่วนใหญ่จะจ้างกันจนถึงอายุ 55 ปี และจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ในบางบริษัทที่มีขนาดเล็กอาจจะไม่มีการทำสัญญาจ้างและไม่มีกำหนดเวลาเกษียณเพื่อให้ลูกจ้างทำงานต่อไปเรื่อยๆ ถ้าใครทำไม่ไหวก็ลาออกไปเองเพื่อเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย

แต่ความจริงแล้วกฎหมายแรงงานนั้นได้บัญญัติให้ได้รับค่าชดเชยหลังเกษียณถึงแม้ว่าบริษัทนั้นจะไม่ได้กำหนดอายุเกษียณของลูกจ้างไว้ ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ในกรณีแรกคือ เกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

ในกรณีที่สองที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น

Leave a Comment

Previous post:

Next post: