การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแทนการขึ้นสู่กระบวนการศาลยุติธรรม

by admin on มิถุนายน 6, 2019

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2562 มีพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฉบับใหม่ประกาศใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี

กำหนดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา โดยแยกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
(1) ความผิดอันยอมความได้
(2) ความผิดลหุโทษ คือ ความผิดฐานประมาท, ทำร้ายร่างกาย, ขู่เข็ญ, ดูหมิ่น, ต้อนไล่สัตว์ผู้อื่น, ปล่อยสัตว์ละเลย, รังแกข่มแหงผู้อื่นทำให้อับอาย ตามประมวลกฎหมายอาญา
(3) ความผิดลหุโทษอื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกา

ปัจจุบันข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญาเกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก จึงมีความเห็นว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่มากและข้อพิพาททางอาญาบางประเภทมากําหนดเป็นกฎหมายกลางเพื่อให้หน่วยงานของรัฐ  หรือศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนใช้ในการยุติหรือระงับข้อพิพาท เพื่อลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้ง

Leave a Comment

Previous post:

Next post: