การแก้ไข พ.ร.บ. ต่างด้าว ดีจริงหรือไม่

by admin on พฤศจิกายน 5, 2014

กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอให้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เพื่อให้บทบัญญัติบางประการและบัญชีประเภทธุรกิจท้าย พ.ร.บ.มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในปัจจุบัน ซึ่งครม. มีมติผ่านร่างแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542  โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. เพิ่มเติมนิยามของคนต่างด้าวให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเพิ่มการพิจาณาสิทธิการออกสียงคนต่างชาติ 2. แก้ไขบทลงโทษกรณีการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือถือหุ้นแทน โดยให้เพิ่มโทษปรับเพิ่มขึ้น 3. ปรับปรุงบัญชีแนบท้ายในส่วนของบัญชีที่ 3

ทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจ

การแก้ไขนิยามดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อบริษัทต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจบัญชีที่ 3 และธุรกิจที่ไม่ได้มีกฎหมายใดจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นโดยชาวต่างชาติ หรือได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น ธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ ธุรกิจส่งออก อย่างไรก็ตามยังมีธุรกิจอีกหลายประเภทที่ได้รับผลกระทบ เช่น ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งออกจะได้รับผลกระทบจากการที่ได้มีการตัดข้อกำหนดเรื่องทุนขั้นต่ำของธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งออก ผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ถือหุ้นโดยผ่านตัวแทน ในกรณีธุรกิจที่อยู่ในบัญชี 1 และ 2 ผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรง ซึ่งแยกพิจารณาเป็น 3 ประเด็น คือ ผลกระทบต่อนักลงทุนที่มีการลงทุนในประเทศไทยอยู่แล้ว ผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนโดยตรงในระยะข้างหน้า และผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผลกระทบต่อนักลงทุนรายเดิม การที่ร่างปรับปรุงพรบ.ได้กำหนดบทเฉพาะกาลซึ่งกำหนดให้ บริษัทต่างชาติที่ประกอบธุรกิจตามบัญชี 1 และบัญชี 2 ปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นและสิทธิออกเสียงให้ถูกต้องภายใน 2 ปี ส่วนบริษัทต่างชาติที่ประกอบธุรกิจตามบัญชี 3 ให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งทำให้ผลกระทบต่อธุรกิจต่างชาติที่มีการลงทุนในไทยอยู่แล้วโดยส่วนใหญ่คง มีจำกัด ผลกระทบต่อนักลงทุนใหม่ นักลงทุนจะมีข้อกังวลต่อกฎหมายที่เปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการรายใหม่จะเสียเปรียบผู้ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนใหม่จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจและมีอำนาจบริหารจัดการได้ภายใต้เงื่อนไขเดียวกับที่นักลงทุนที่มีการลงทุนอยู่แล้ว และผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งแม้ว่ากฎหมายจะเปิดให้มีการลงทุนของต่างชาติได้โดยไม่ จำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ แต่ในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะธุรกิจส่งออก จะต้องพึ่งพาธุรกิจบริการที่สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท

จะเห็นได้ว่าการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มีผลกระทบค่อนข้างมาก  ทำให้ต่างชาติลดความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งสร้างแรงกดดันให้นักลงทุนในกรณีนักลงทุนรายเดิมที่เข้าข่ายต้องปรับโครงสร้างใหม่ โดยส่งผลให้ต้องมีการลดสัดส่วนหุ้นที่ถืออยู่ให้กับนักลงทุนชาวไทย

อ่านเพิ่มเติม

Leave a Comment

Previous post:

Next post: