แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ (ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง)
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๒)
พ.ศ. ๒๕๖๓
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๒) พ.ศ. ๒๕๖๓”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๐ ตรี แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
“มาตรา ๒๐ ตรี ก่อนยื่นฟ้องคดี บุคคลที่จะเป็นคู่ความอาจยื่นคาร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจ
หากมีการฟ้องคดีนั้น เพื่อขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมทาหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ตกลง
หรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาท โดยคาร้องนั้นให้ระบุชื่อและภูมิลําเนาของคู่กรณี
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรายละเอียดของข้อพิพาท เมื่อศาลเห็นสมควร ให้ศาลรับคาร้องนั้นไว้แล้วดําเนินการ
สอบถามความสมัครใจของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในการเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย หากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งยินยอม
เข้าร่วมการไกล่เกลี่ย ให้ศาลมีอํานาจเรียกคู่กรณีที่เกี่ยวข้องมาศาลด้วยตนเองโดยคู่กรณีจะมีทนายความ
มาด้วยหรือไม่ก็ได้ และแต่งตั้งผู้ประนีประนอมดําเนินการไกล่เกลี่ยต่อไปโดยให้นาความในมาตรา ๒๐ ทวิ
มาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันได้
ให้ผู้ประนีประนอมเสนอข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล หากศาลพิจารณาแล้ว
เห็นว่าข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณี หลักแห่งความสุจริต
เป็นธรรม และไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ก็ให้คู่กรณีลงลายมือชื่อในข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอม
ยอมความนั้น
ในวันทําข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตามวรรคหนึ่งคู่สัญญาอาจร้องขอให้ศาล
มีคาพิพากษาตามยอม พร้อมแสดงเหตุผลความจาเป็นต่อศาล หากศาลเห็นว่ากรณีมีความจําเป็น
ที่สมควรจะมีคําพิพากษาไปในเวลานั้น ก็ให้ศาลมีคําพิพากษาไปตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอม
ยอมความดังกล่าวได้โดยให้นาความในมาตรา ๑๓๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การขอและการดําเนินการตามมาตรานี้ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
คําสั่งของศาลที่ออกตามความในมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
เมื่อศาลมีคําสั่งแต่งตั้งผู้ประนีประนอมแล้วแต่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงโดยไม่เป็นผล หากปรากฏว่า
อายุความครบกําหนดไปแล้วหลังจากยื่นคําร้องหรือจะครบกําหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่การไกล่เกลี่ย
สิ้นสุดลง ให้อายุความขยายออกไปอีกหกสิบวันนับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง”
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หน้า ๒
เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๗๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน