|
ประมวลกฎหมาย
ประมวลกฎหมายเป็นกฎหมายหลักที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ประมวลกฎหมายเหล่านี้เป็นการบัญญัติแนวทางทั่วไปซึ่งจำเป็นต้องสืบค้น กฎหมาย ข้อบังคับอื่นๆ ควบคู่กัน รวมทั้งคำพิพากษาของศาลฎีกาเพื่ออธิบายบทกฎหมายในรายละเอียดเพิ่มเติม |
|
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติก็เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยพระราชบัญญัตินั้นมีหลักมาจากประมวลกฎหมายแต่จะข้อกฎหมายจะมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าประมวลกฎหมาย |
|
พระราชกำหนด
พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจําเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ของรัฐ |
|
พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่ใช้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดสถานที่ กิจการ หรือสิ่งที่พระราชบัญญัติจะบังคับใช้ หรือสิ่งที่พระราชบัญญัติจะยกเว้นไม่บังคับใช้ |
|
กฎกระทรวง
กฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาต วิธีการยื่นอุทธรณ์ วิธีพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการตามกฎหมาย |
|
คำพิพากษาศาล
คำพิพากษาของศาลฎีกานั้น เป็นบรรทัดฐานที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในพิจารณาคดีเพื่อมีคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลฎีกายังมีรายละเอียดที่ชัดเจนกว่าพระราชบัญญัติ โดยทนายความจะใช้คำพิพากษาเหล่านี้ยกขึ้นสู้ในชั้นพิจารณาได้อีกด้วย ไม่ใช่แค่เพียงใช้หลักกฎหมายจากประมวลกฎหมายและพระราชบัญญัติ เนื่องจากประเทศไทยใช้ตัวบทกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินคดี ซึ่งแตกต่างจากคำพิพากษาของศาลชั้นต้นทั่วไปที่ไม่ได้มีความสำคัญและถูกนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจาร |
|
ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งของกระทรวงอื่นๆ
เเป็นกฎหมายที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายต่างๆ กำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเทคนิค กำหนดระยะเวลาการบังคับใช้บทบัญญัติของกฎหมาย |
|
ร่างกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นโดยสภานิติบัญญัติและอยู่ในระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา เป็นกฎหมายที่ยังไม่ประกาศใช้ ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย |