Hot! พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.๒๕๕๘

พระราชบัญญัติ
หลักประกันทางธุรกิจ
พ.ศ. ๒๕๕๘
________________

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
                            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
                            โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ
                            จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล่าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะตำและยินยอมของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
                            มาตรา  ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘”
                            มาตรา  ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป  เว้นแต่มาตรา๓ มาตรา๔ มาตรา๑๕ มาตรา๕๔ มาตรา๕๕ มาตรา๕๖
เป็นต้นไป
                            มาตรา  ๓  ในพระราชบัญญัตินี้
                            “กิจการ”  หมายความว่า   ทรัพย์สินที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจและสิทธิต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนั้นที่ผู้ให้หลักประกันนำมาใช้เป็นประกันการชำระหนี้ ซึ่งผู้ให้หลักประกัน
อาจโอนบรรดาทรัพย์สินและสิทธิต่าง  ๆ  ที่เกี่ยวข้องนั้นให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่ผู้รับโอนสามารถ
ประกอบธุรกิจดังกล่าวต่อไปได้ทันที
                            “ทรัพย์สินมีทะเบียน”  หมายความว่า  ทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนดให้มีทะเบียนสิทธิ
                            “เจ้าพนักงานทะเบียน”  หมายความว่า  เจ้าพนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ
                            “นายทะเบียน”  หมายความว่า  ผู้มีอำนาจหน้าที่จดทะเบียนสิทธิตามกฎหมาย
                            “ผู้บังคับหลักประกัน”  หมายความว่า  บุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งผู้ให้หลักประกันและผู้รับ
หลักประกันตกลงกันให้เป็นผู้บังคับหลักประกันในกรณีที่นำกิจการมาเป็นหลักประกัน
                            “ผู้รับใบอนุญาต”  หมายความว่า  ผู้รับใบอนุญาตทำการเป็นผู้บังคับหลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้
                            “สถาบันการเงิน”  หมายความว่า
                            (๑)  สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
                            (๒)  บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
และบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
                            (๓)  ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
                            “สิทธิเรียกร้อง”  หมายความว่า  สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้และสิทธิอื่น ๆ แต่ไม่หมายความรวมถึง
สิทธิที่มีตราสาร
                            “รัฐมนตรี”  หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                            มาตรา  ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตรา
ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น หรือออกประกาศเพื่อปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตน
                            กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ 
___________________
                            มาตรา ๕ สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ  คือสัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า
ผู้ให้หลักประกัน  ตราทรัพย์สินไว้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับหลักประกัน เพื่อเป็นประกัน
การชำระหนี้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้รับหลักประกัน
                            ผู้ให้หลักประกันอาจตราทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันการชำระหนี้อันบุคคลอื่นต้องชำระก็ได้
                            มาตรา ๖ ผู้ให้หลักประกันจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
                            มาตรา ๗ ผู้รับหลักประกันต้องเป็นสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                            มาตรา ๘ หลักประกันต้องเป็นสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                            (๑)  กิจการ
                            (๒)  สิทธิเรียกร้อง
                            (๓)  สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้ประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง
หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า
                            (๔)  อสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง
                            (๕)  ทรัพย์สินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                            มาตรา ๙ ผู้ให้หลักประกันจะนำทรัพย์สินที่ตนมีสิทธิอยู่ในปัจจุบันหรือที่จะได้มาในอนาคต
ตามสัญญาหรือนิติสัมพันธ์ใด ๆ มาใช้เป็นหลักประกันก็ได้ แต่สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสิทธิ
ที่เป็นหลักประกันตามสัญญาจะมีขึ้นเมื่อผู้ให้หลักประกันได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น
                            มาตรา ๑๐  ผู้ให้หลักประกันมีสิทธิในทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันภายใต้บังคับเงื่อนไขเช่นใด
จะใช้ทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันได้ภายใต้บังคับเงื่อนไขเช่นนั้น
                            มาตรา ๑๑ คู่สัญญาอาจตกลงกันกำหนดเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกัน
ทางธุรกิจเป็นประการใดก็ได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ของประชาชน
                            มาตรา ๑๒ ในกรณีที่นำกิจการมาเป็นหลักประกัน ให้คู่สัญญาตกลงกันเลือกผู้รับใบอนุญาต
คนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้บังคับหลักประกัน
                            มาตรา ๑๓ สัญญาหลักประกันทางธุรกิจต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน
ทะเบียนตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒
                            ในกรณีที่นำกิจกรรมมาเป็นหลักประกัน สัญญาตามวรรคหนึ่งต้องระบุชื่อผู้รับใบอนุญาตคนหนึ่ง
หรือหลายคนซึ่งยินยอมเป็นผู้บังคับหลักประกันไว้ด้วย
หมวด ๒
การดำเนินการทางทะเบียน
___________________
                            มาตรา ๑๔ ให้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจขึ้นในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
                            สำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจมีหน้าที่รับจดทะเบียน แก้ไขรายการจดทะเบียน
และยกเลิกการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจตามพระราชบัญญัตินี้ และจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับ
การจดทะเบียนและข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้
                            มาตรา ๑๕ ให้อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นเจ้าพนักงานทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
                            มาตรา ๑๖ ให้เจ้าพนักงานทะเบียนรับจดทะเบียน แก้ไขรายการจดทะเบียน หรือยกเลิก
การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากผู้มีหน้าที่ดำเนินการทางทะเบียน
ตามหมวดนี้ โดยผู้มีหน้าที่ดำเนินการทางทะเบียนเป็นผู้รับผิดชอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล
 ที่ตนเป็นผู้แจ้งนั้น
                            ในกรณีข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากผู้มีหน้าที่ดำเนินการทางทะเบียนมีรายการไม่ครบถ้วนตามมาตรา ๑๘
เจ้าพนักงานทะเบียนต้องไม่รับจดทะเบียน แก้ไขรายการจดทะเบียน หรือยกเลิกการจดทะเบียนสัญญา
หลักประกันทางธุรกิจ
                            มาตรา ๑๗ ให้ผู้รับหลักประกันโดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้หลักประกัน
เป็นผู้ดำเนินการขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทะเบียน
                            เมื่อได้รับจดทะเบียนตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้รับหลักประกันเป็นเจ้าหนี้ประกัน
ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
                            ในกรณีที่นำกิจการมาเป็นหลักประกัน ผู้รับหลักประกันต้องยื่นหนังสือของผู้รับใบอนุญาตซึ่งยินยอม
เป็นผู้บังคับหลักประกันไปพร้อมกับคำขอจดทะเบียน
                            หากผู้ให้หลักประกันต้องได้รับความยินยอมจากผู้อนุญาให้ใช้สิทธิที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ
กิจการก่อนจึงจะโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นได้ ผู้รับหลักประกันต้องยื่นหนังสือของผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิ
ที่ยินยอมให้ผู้ให้หลักประกันโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นได้ต่อเจ้าพนักงานทะเบียนไปพร้อมกับคำขอ
จดทะเบียนด้วย
                            มาตรา ๑๘ การจดทะเบียนอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
                            (๑)  วัน เดือน ปี และเวลาที่จดทะเบียน
                            (๒)  ชื่อและที่อยู่ของลูกหนี้และผู้ให้หลักประกัน
                            (๓)  ชื่อและที่อยู่ของผู้รับหลักประกัน
                            (๔)  ชื่อและที่อยู่ของผู้รับใบอนุญาตซึ่งยินยอมเป็นผู้บังคับหลักประกันและอัตรหรือจำนวน
ค่าตอบแทนของผู้บังคับหลักประกัน ในกรณีที่นำกิจกรรมมาเป็นหลักประกัน
                            (๕)  หนี้ที่กำหนดให้มีการประกันการชำระ
                            (๖)  รายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน หากเป็นทรัพย์สินมีทะเบียนให้ระบุ
ประเภทของทะเบียน หมายเลขทะเบียน และนายทะเบียนไปด้วย หากเป็นสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกัน
ใช้ในการประกอบธุรกิจ ให้ระบุประเภท ปริมาณ และมูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าวไว้ด้วย
                            (๗)  ข้อความที่แสดงว่าผู้ให้หลักประกันตราทรัพย์สินที่ระบุในรายการจดทะเบียนไว้แก่
ผู้รับหลักประกันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
                            (๘)  จำนวนเงินสูงสุดที่ตกลงใช้ทรัพย์สินเป็นประกัน
                            (๙)  เหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
                            (๑๐)  รายการอื่นตามที่เจ้าพนักงานทะเบียนกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                            มาตรา ๑๙ ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเป็นทรัพย์สินมีทะเบียนให้เจ้าพนักงาน
ทะเบียนแจ้งให้นายทะเบียนและเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเท่าที่ปรากฎรายชื่อ
ในหลักฐานทางทะเบียนทรายถึงการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
                            ให้นายทะเบียนบันทึกการประกันตามพระราชบัญญัตินี้ลงในทะเบียนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
โดยเร็วเมื่อได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง
                            มาตรา ๒๐ คู่สัญญาอาจตกลงแก้ไขรายการจดทะเบียนเป็นประการอื่นก็ได้ ในการนี้
ให้ผู้รับหลักประกันโดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้หลักประกันเป็นผู้ดำเนินการขอแก้ไข
รายการจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ
                            หากรายละเอียดของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเปลี่ยนแปลงไปจากที่จดทะเบียนตามที่คู่สัญญา
ตกลงกันไว้ ผู้ให้หลักประกันต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับหลักประกันทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว
ถ้าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่เป็นเหตุบังคับหลักประกัน ให้ถือว่าหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด
ของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเป็นหนังสือให้ความยินยอมของผู้ให้หลักประกัน และให้ผู้รับหลักประกัน
เป็นผู้ดำเนินการขอแก้ไขรายการจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
                            ในกรณีที่มีการนำทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันมารวมเข้ากับทรัพย์สินของบุคคลอื่นจนเป็นส่วนควบ
หรือแบ่งแยกไม่ได้ ให้ระบุชื่อและที่อยู่ของบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินอื่นนั้น รวมทั้งประเภท ปริมาณ
และมูลค่าของทรัพย์สินที่นำมารวมเข้ากับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันในเวลาที่ทรัพย์สินรวมเข้ากันไว้
ในหนังสือตามวรรคสองด้วย
                            ผู้มีหน้าที่ดำเนินการขอแก้ไขรายการจดทะเบียนตามมาตรานี้ซึ่งมิได้ดำเนินการขอแก้ไขรายการ
จดทะเบียนจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตหาได้ไม่
                            ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับแก่การแก้ไขรายการจดทะเบียนตามมาตรานี้โดยอนุโลม
                            มาตรา ๒๑ เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุอื่นใดอันมิใช่เหตุอายุความหรือเมื่อคู่สัญญา
ตกลงกันเป็นหนังสือให้ยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หรือเมื่อมีการไถ่ถอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
ให้ผู้ให้หลักประกันโดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับหลักประกันเป็นผู้ดำเนินการขอยกเลิก
การจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ
                            เมื่อมีการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันในการบังคับหลักประกันหรือเมื่อทรัพย์สินที่เป็น
หลักประกันหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับหลักประกัน ให้ผู้รับหลักประกันเป็นผู้ดำเนินการขอยกเลิกการจดทะเบียน
 ภายในสิบสี่วันนับแต่วันจำหน่ายทรัพย์สินหรือวันที่ทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิ แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้หลักประกันและผู้รับหลักประกัน
___________________
                            มาตรา ๒๒ ผู้ให้หลักประกันมีสิทธิครอบครอง ใช้สอย แลกเปลี่ยน จำหน่าย จ่ายโอน
และจำนองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน รวมทั้งใช้เป็นหลักประกัน ใช้ในการผลิต นำไปรวมเข้ากับทรัพย์สินอื่น
ใช้ไปสิ้นไปในกรณีที่ครอบครองเพื่อการใช้สิ้นเปลือง และได้ดอกผลของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
                            ผู้ให้หลักประกันจะนำทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้ไปจำนำเพื่อเป็นประกัน
การชำระหนี้ต่อไปมิได้ มิฉะนั้นการจำนำนั้นตกเป็นโมฆะ
                            มาตรา ๒๓  ภายใต้บังคับมาตรา ๒๒ ผู้ให้หลักประกันต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือ
เพื่อสงวนรักษาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเสมือนเช่นวิญญูชนจะต้องใช้ในการประกอบกิจการและอาชีวะเช่นนั้น
และต้องบำรุงรักษารวมทั้งซ่อมแซมทรัพย์สินนั้นด้วย
                            ผู้ให้หลักประกันต้องรับผิดเพื่อความเสียหายในกรณที่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันสูญหาย
หรือเสื่อมราคาลง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นจากเหตุที่ตนต้องรับผิดชอบ
                            มาตรา ๒๔ ผู้ให้หลักประกันต้องจัดทำบัญชีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามวิธีการปฏิบัติ
ทางการค้าหรือตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกัน ทั้งนี้้ เว้นแต่กฎกระทรวงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
                            มาตรา ๒๕  ผู้ให้หลักประกันต้องยอมให้ผู้รับหลักประกันหรือตัวแทนเข้าตรวจดูทรัพย์สิน
ที่เป็นหลักประกันและบัญชีทรัพย์สินเป็นครั้งคราวในเวลาและระยะอันสมควร ในการนี้ ผู้รับหลักประกัน
ต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ให้หลักประกันทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือวิธีการอื่นที่แสดงว่า
ผู้ให้หลักประกันได้รับหนังสือแล้วก่อนเข้าดำเนินการไม่น้อยกว่าสามวัน
                            การเข้าตรวจดูทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันและบัญชีทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำต่อหน้า
ผู้ให้หลักประกันหรือผู้ซึ่งผู้ให้หลักประกันมอบหมาย และผู้ให้หลักประกันต้องอำนวยความสะดวกแก่
ผู้รับหลักประกันตามสมควร
                            มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้ให้หลักประกันมีหนังสือไปยังผู้รับหลักประกันโดยระบุจำนวนหนี้
ที่ยังมิได้ชำระแก่ผู้รับหลักประกัน อันเป็นหนี้ที่มีประกันตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อให้ผู้รับหลักประกัน
รับรองความถูกต้อง ผู้รับหลักประกันต้องมีหนังสือตอบยืนยันหรือระบุจำนวนหนี้ที่เห็นว่าถูกต้องไปยัง
ผู้ให้หลักประกันภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายผู้รับหลักประกัน
ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้หลักประกัน
                            ผู้ให้หลักประกันมีสิทธิที่จะดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เว้นแต่การใช้สิทธิ
ดังกล่าวได้กระทำภายในระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่มีหนังสือไปยังผู้รับหลักประกันครั้งก่อน ในกรณีนี้
ผู้ให้หลักประกันต้องชำระค่าใช้จ่ายแก่ผู้รับหลักประกันในแต่ละครั้งตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
                            มาตรา ๒๗ ผู้ให้หลักประกันมีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันในเวลาใด ๆ ก็ได้
ก่อนมีการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหรือก่อนที่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับ
หลักประกัน โดยชำระหนี้ตามจำนวนที่กำหนดให้มีการประกันการชำระ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการสงวนรักษา
ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ค่าใช้จ่ายตามสมควร และค่าฤชาธรรมเนียมอันเกิดจากการบังคับหลักประกัน
                            มาตรา ๒๘ เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุอื่นใดอันมิใช่เหตุอายุความ หรือเมื่อคู่สัญญา
ตกลงกันเป็นหนังสือให้ยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หรือเมื่อมีการไถ่ถอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
ให้ผู้รับหลักประกันออกหนังสือยินยอมให้ยกเลิกการจดทะเบียนแก่ผู้ให้หลักประกันทันที มิฉะนั้นหากเกิด
ความเสียหายผู้รับหลักประกันต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้หลักประกัน
หมวด ๔
สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ให้หลักประกันและผู้รับหลักประกันกับบุคคลภายนอก
______________________
                            มาตรา ๒๙ ผู้รับหลักประกันมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันก่อน
เจ้าหนี้สามัญไม่ว่าสิทธิในทรัพย์สินจะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่
                            มาตรา ๓๐ ถ้านำทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันมารวมเข้ากับทรัพย์สินของบุคคลอื่นจนเป็น
ส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ ผู้รับหลักประกันมีสิทธิตามมาตรา ๒๙ เหนือทรัพย์สินที่รวมเข้ากันตามส่วนของ
ค่าแห่งทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันของตนในเวลาที่ทรัพย์สินรวมเข้ากัน
                            มาตรา ๓๑ ในกรณีผู้ให้หลักประกันได้ทรัพย์สินมาจากการจำหน่ายจ่ายโอน แลกเปลี่ยน
 หรือได้มาแทนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหรือที่มีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันรวมอยู่ด้วย รวมทั้ง
ค่าสินไหมทดแทนที่ได้มาเนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวสูญหายหรือเสียหาย ให้ถือว่าทรัพย์สินที่ได้มานั้น
เป็นหลักประกันด้วย
                            ผู้รับหลักประกันมีสิทธิตามมาตรา ๒๙ เหนือทรัพย์สินที่ได้มาแทนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
ตามวรรคหนึ่งเมื่อได้แก้ไขรายการจดทะเบียนเพื่อให้ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นหลักประกันต่อเจ้าพนักงาน
ทะเบียนแล้ว และในกรณีที่ทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้อง ผู้รับหลักประกันจะยกสิทธิดังกล่าว
ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้แห่งสิทธิได้ต่อเมื่อได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วยแล้ว
                            บทบัญญัติมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่ายจ่ายโอน แลกเปลี่ยน
หรือทรัพย์สินที่ได้มาแทนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าว
สูญหายหรือเสียหายด้วย
                            มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหรือที่มีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
รวมอยู่ด้วยหรือที่ได้มาแทนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามมาตรา ๓๑ เป็นทรัพย์สินที่ผู้ให้หลักประกัน
ใช้ในการประกอบธุรกิจและมีลักษณะหมุนเวียนเปลี่ยนมือตลอดเวลา บุคคลภายนอกซึ่งได้ทรัพย์สินนั้นไป
โดยทางการค้าปกติของทรัพย์สินนั้นหรือโดยความยินยอมของผู้รับหลักประกัน ย่อมได้ทรัพย์สินนั้น
โดยปลอดภาระหลักประกัน
                            หากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหรือที่มีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันรวมอยู่ด้วยหรือที่ได้มาแทน
ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามมาตรา ๓๑ มิใช่ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง บุคคลภายนอกซึ่งได้ทรัพย์สินนั้นไป
โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือโดยความยินยอมของผู้รับหลักประกัน ย่อมได้ทรัพย์สินนั้นโดยปลอดภาระ
หลักประกัน
                            มาตรา ๓๓ ในกรณีที่มีการนำทรัพย์สินสิ่งหนึ่งตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้
ตามพระราชบัญญัตินี้แก่ผู้รับหลักประกันหลายราย ให้ถือลำดับผู้รับหลักประกันเรียงตามวันและเวลาที่ได้รับ
การจดทะเบียน โดยผู้รับหลักประกันที่ได้รับการจดทะเบียนก่อนมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนผู้รับหลักประกัน
ที่ได้รับการจดทะเบียนภายหลัง
                            หากมีการใช้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้ไปจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ด้วย
ให้ถือลำดับผู้รับหลักประกันและผู้รับจำนองเรียงตามวันและเวลาที่ได้รับการจดทะเบียน โดยผู้รับหลักประกัน
หรือผู้รับจำนองที่ได้รับการจดทะเบียนก่อนมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนผู้รับหลักประกันหรือผู้รับจำนอง
ที่ได้รับการจดทะเบียนภายหลัง
                            มาตรา ๓๔ เมื่อมีบุริมสิทธิแย้งกับสิทธิตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจให้ถือลำดับบุริมสิทธิ
ดังนี้
                           (๑)  หากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเป็นสังหาริมทรัพย์ ให้ผู้รับหลักประกันมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกัน
กับผู้รับจำนำตามมาตรา ๒๘๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากมีการจดทะเบียนจำนอง
สังหาริมทรัพย์นั้นไว้ด้วย ให้ผู้รับหลักประกันมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกันกับผู้รับจำนองตามมาตรา ๒๘๗
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                           (๒)  หากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้ผู้รับหลักประกันมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกัน
กับผู้ร้องจำนองตามมาตรา ๒๘๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หมวด ๕
การบังคับหลักประกันที่เป็นทรัพย์สิน
_________________
                           มาตรา ๓๕ ในกรที่มีการนำทรัพย์สินที่มีการจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตามกฎหมายอื่น
มาจดทะเบียนเป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย หรือมีการนำทรัพย์สินที่จะทะเบียนเป็นหลักประกัน
ตามพระราชบัญญัตินี้ไปจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตามกฎหมายอื่นด้วย ผู้รับจำนองจะบังคับจำนอง
โดยวิธีการบังคับหลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้
                           ในระหว่างที่ผู้รับจำนองบังคับจำนองตามกฎหมาย หากปรากฏว่ามีเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญา
หลักประกันทางธุรกิจ เมื่อได้รับแจ้งเหตุดังกล่าวจากผู้รับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
ผู้รับจำนองต้องดำเนินการบังคับจำนองโดยวิธีการบังคับหลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้
                           ในกรณีที่เหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเกิดขึ้นระหว่างที่คดีบังคับจำนอง
อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ให้ผู้รับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจยื่นคำขอโดยทำเป็น
คำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งงดการพิจารณา ในการนี้ ให้ศาลดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว หากความปรากฏ
ต่อศาลว่ามีเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเกิดขึ้นจริง ให้ศาลมีคำสั่งงดการพิจารณาไว้
แต่หากไม่มีเหตุดังกล่าว หรือเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้ศาลยกคำร้องนั้นเสีย ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งงดการพิจารณาไว้ ให้ผู้รับจำนอง
ดำเนินการบังคับจำนองโดยวิธีการบังคับหลักประกันตามพระราชบัญญัตินี้และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว
ให้ผู้รับจำนองแถลงต่อศาล แต่หากเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเกิดขึ้นระหว่าง
การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล
ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
                           มาตรา ๓๖ ผู้รับหลักประกันอาจบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
หลุดเป็นสิทธิหรือโดยจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนำเงินมาชำระหนี้
                           มาตรา ๓๗ ห้ามมิให้ผู้รับหลักประกันบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
หลุดเป็นสิทธิ เว้นแต่ลูกหนี้ค้างชำระหนี้อันเป็นต้นเงินเท่ากับหรือมากกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
และลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี โดยไม่มีหลักประกันรายอื่นหรือบุริมสิทธิอื่นอันจดทะเบียนไว้
เหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
                           มาตรา ๓๘ เมื่อมีเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ และผู้รับหลักประกัน
ได้มีหนังสือแจ้งเหตุบังคับหลักประกันแล้ว ห้ามมิให้ผู้ให้หลักประกันจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
หรือกระทำการใด ๆ อันทำให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันบุบสลายหรือเสื่อมค่าลง และให้ผู้รับหลักประกัน
มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
                           การใช้สิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
                           มาตรา ๓๙ เมื่อมีเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ และผู้รับหลักประกัน
ได้มีหนังสือแจ้งเหตุบังคับหลักประกันแล้ว หากผู้ให้หลักประกันหรือผู้ที่ยึดถือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
ยินยอมส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแก่ผู้รับหลักประกันและมีหนังสือยินยอมให้นำ
หลักประกันไปจำหน่าย ห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
แต่ให้เจ้าหนี้ดังกล่าวมีหนังสือแจ้งไปยังผู้รับหลักประกัน เพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขาย
ทรัพย์สินนั้น
                           ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้รับ
หลักประกันมีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้และผู้ให้หลักประกันชำระหนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว
และให้แจ้งไปด้วยว่าหากไม่ขำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้รับหลักประกันจะบังคับหลักประกัน
โดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ หรือโดยจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนำเงิน
มาชำระหนี้ และให้ส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวให้ผู้รับหลักประกันอื่นและเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สิน
ที่เป็นหลักประกันเท่าที่ปรากฎรายชื่อในหลักฐานทางทะเบียนทราบด้วย
                           ถ้าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันมีสภาพเป็นของสดเสียได้ หรือหากหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อ
ความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะเกินส่วนกับค่าของทรัพย์สิน ผู้รับหลักประกันอาจจำหน่าย
ความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะเกินส่วนกับค่าของทรัพย์สิน ผู้รับหลักประกันอาจจำหน่าย
ทรัพยสินที่เป็นหลักประกันโดยวิธีที่เห็นสมควรเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องดำเนินการ
ตามวรรคสอง
                           ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเป็นสิทธิเรียกร้องเมื่อผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้งเหตุบังคับ
หลักประกันไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิแล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้แห่งสิทธิชำระหนี้แก่ผู้ให้หลักประกันนับแต่วันที่ได้รับ
หนังสือดังกล่าว เมื่อหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องถึงกำหนดชำระให้ลูกหนี้แห่งสิทธิชำระหนี้แก่ผู้รับหลักประกัน
                           การส่งหนังสือตามมาตรานี้ให้ทำโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือโดยวิธีการอื่นที่แสดงว่า
ผู้รับได้รับหนังสือแล้ว
                           มาตรา ๔๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้ให้หลักประกันไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลา
ที่กำหนดไว้ในหนังสือตามมาตรา ๓๙ วรรคสอง และผู้รับหลักประกันจะบังคับหลักประกันโดยการจำหน่าย
ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ให้ผู้รับหลักประกันดำเนินการจำหน่ายหลักประกัน
โดยวิธีการประมูลโดยเปิดเผย ในการนี้ ผู้รับหลักประกันต้องมีหนังสือแจ้งวัน เวลา สถานที่ และวิธีการ
จำหน่ายหลักประกันให้ผู้ให้หลักประกัน ผู้รับหลักประกันอื่น และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สิน
ที่เป็นหลักประกันเท่าที่ปรากฏรายชื่อในหลักฐานทางทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนดำเนินการ
จำหน่ายหลักประกันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือโดยวิธีการอื่นที่แสดงว่าผู้รับได้รับหนังสือแล้ว
                           มาตรา ๔๑  ในการจำ หน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามมาตรา ๓๙ วรรคสาม
และมาตรา ๔๐ ผู้รับหลักประกันต้องใช้ความระมัดระวังในการดำเนินการดังเช่นวิญญูชนจะพึงปฏิบัติ
โดยพฤติการณ์เช่นนั้น
                           ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาใช้บังคับแก่การดำเนินการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
                           มาตรา ๔๒ ผู้ซื้อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันจากการจำหน่ายตามมาตรา ๓๙ วรรคสาม
และมาตรา ๔๐ ย่อมได้รับโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยปลอดภาระหลักประกันและจำนอง
                           มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเป็นสิทธิในเงินฝากในสถาบันการเงิน
และผู้รับหลักประกันเป็นสถาบันการเงินที่รับฝากเงินนั้นไว้เองหรือเป็นผู้รับฝากเงินเพื่อประโยชน์ของผู้รับ
หลักประกันทั้งหมด ผู้รับหลักประกันอาจนำเงินฝากดังกล่าวหักชำระหนี้ได้ทันทีเมื่อมีเหตุบังคับหลักประกัน
ตามสัญญา แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ให้หลักประกันทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ดำเนินการดังกล่าว
โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือวิธีการอื่นที่แสดงว่าผู้รับได้รับหนังสือแล้ว
                           หากผู้ให้หลักประกันและผู้รับหลักประกันตกลงกันให้สถาบันการเงินผู้รับฝากเงินนำเงินฝากดังกล่าว
หักชำระหนี้ตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแทนผู้รับหลักประกัน สถาบันการเงินผู้รับฝากเงินอาจนำ
เงินฝากดังกล่าวหักชำระหนี้ได้ทันทีเมื่อได้รับหนังสือแจ้งจากผู้รับหลักประกันว่ามีเหตุบังคับหลักประกัน
ตามสัญญา
                           ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับแก่การนำเงินฝากมาหักชำระหนี้ตามมาตรานี้โดยอนุโลม
                           มาตรา ๔๔ ถ้าผู้รับหลักประกันจะบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
หลุดเป็นสิทธิ และผู้ให้หลักประกันไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือตามมาตรา ๓๙ วรรคสอง
โดยไม่มีหนังสือคัดค้านการบังคับหลักประกันหลุดเป็นสิทธิภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ทรัพย์สินที่เป็น
หลักประกันและดอกผลที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ผู้รับหลักประกันมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เป็น
หลักประกันหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับหลักประกัน แต่หากผู้รับหลักประกันได้รับหนังสือคัดค้านภายใน
ระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้รับหลักประกันจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยวิธีการประมูลโดยเปิดเผย
และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๑ มาใช้บังคับแก่การจำหน่ายหลักประกันตามมาตรานี้
โดยอนุโลม
                           การส่งหนังสือคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้ทำโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือโดยวิธีการอื่น
ที่แสดงว่าผู้รับได้รับหนังสือแล้ว
                           มาตรา ๔๕ ก่อนจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามมาตรา ๓๙ วรรคสาม มาตรา ๔๐
และมาตรา ๔๔ หรือก่อนที่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันจะหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับหลักประกันตามมาตรา ๔๔
ผู้รับหลักประกันต้องรักษาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันที่อยู่ในความครอบครองของตนให้ปลอดภัยและ
ต้องสงวนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเสมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง
                           หากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันที่อยู่ในความครอบครองของผู้รับหลักประกันชำรุดเสียหายหรือสูญหาย
โดยเหตุอันจะโทษผู้ให้หลักประกันมิได้ ให้นำจำนวนค่าเสียหายนั้นไปหักออกจากจำนวนหนี้ที่ผู้ให้หลักประกัน
ต้องรับผิดตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
                           มาตรา ๔๖ เมื่อมีเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หากผู้ให้หลักประกัน
หรือผู้ที่ยึดถือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไม่ยินยอมส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
ผู้รับหลักประกันอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาบังคับหลักประกัน โดยให้ระบุในคำร้อง
ด้วยว่าจะบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ หรือโดยจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็น
หลักประกันเพื่อนำเงินมาชำระหนี้
                           มาตรา ๔๗ เมื่อได้รับคำร้องตามมาตรา ๔๖ ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว
และออกหมายเรียกไปยังผู้ให้หลักประกัน หรือผู้ที่ยึดถือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ในหมายนั้นให้แจ้งเหตุ
ที่ผู้รับหลักประกันร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำพิพากษาบังคับหลักประกันและวิธีการบังคับหลักประกันตามคำร้อง
และข้อความว่าให้ผู้ให้หลักประกันมาศาลเพื่อให้การและสืบพยานในวันเดียวกัน และให้ศาลสั่งให้ผู้รับ
หลักประกันมาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย
                           ให้ศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันทุกวันจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
เว้นแต่กรณีมีพฤติการณ์พิเศษอันมิอาจก้าวล่วงได้
                           ให้คู่ความมาศาลในวันนัดพิจารณาทุกนัด และเพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๐
มาตรา ๒๐๑ มาตรา ๒๐๒ มาตรา ๒๐๓ มาตรา ๒๐๔ มาตรา ๒๐๕ และมาตรา ๒๐๖ แห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีของศาลตามมาตรานี้โดยอนุโลม
                           มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ศาลเห็นว่ามีเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
และข้อตกลงเกี่ยวกับเหตุบังคับหลักประกันที่ผู้รับหลักประกันยกขึ้นเป็นเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญา
หลักประกันทางธุรกิจไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้ศาลพิพากษาบังคับ
หลักประกันตามวิธีการที่ผู้รับหลักประกันร้องขอ เว้นแต่ผู้รับหลักประกันจะร้องขอให้บังคับหลักประกันหลุด
เป็นสิทธิ แต่กรณีไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๓๗ ให้ศาลพิพากษาให้จำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
โดยการขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้
                           หากศาลเห็นว่าไม่มีเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจหรือข้อตกลงเกี่ยวกับ
เหตุบังคับหลักประกันที่ผู้รับหลักประกันยกขึ้นเป็นเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง
                           คำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่
วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล และให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาหรือ
คำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การอุทธรณ์ตามมาตรานี้
โดยอนุโลม
                           คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
                           มาตรา ๔๙ ผู้รับหลักประกันอาจมีคำขอต่อศาลพร้อมคำร้องตามมาตรา ๔๖ เพื่อมีคำสั่งยึด
หรืออายัดทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา ๔๘ ได้
โดยต้องวางเงินประกันหรือให้หลักประกันเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
ที่เป็นหลักประกันตามจำนวนที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนเงินสูงสุดที่ตกลง
ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน
                           มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไว้เป็นการชั่วคราว
แต่ผู้ให้หลักประกันมีความจำเป็นต้องจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามสัญญาที่ทำไว้ต่อ
บุคคลภายนอก เมื่อผู้ให้หลักประกันร้องขอและวางเงินประกันหรือให้หลักปะรกันตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
ศาลอาจอนุญาตให้ผู้ให้หลักประกันจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันได้
                           มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเป็นทรัพย์สินมีทะเบียน เมื่อผู้รับหลักประกัน
มีหนังสือแจ้งให้ทราบถึงการจำหน่ายหลักประกันตามมาตรา ๓๙ วรรคสาม มาตรา ๔๐ หรือมาตรา ๔๔
หรือเมื่อผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงและเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันหลุด
เป็นสิทธิตามมาตรา ๔๔ หรือเมื่อผู้รับหลักประกันแสดงคำพิพากษาบังคับหลักประกันตามมาตรา ๔๘
ให้นายทะเบียนเปลี่ยนแปลงทะเบียนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยถือว่าหนักงสือแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
การบังคับหลักประกันหรือคำพิพากษาบังคับหลักประกันเป็นเสมือนการแสดงเจตนาของผู้ให้หลักประกัน
                           มาตรา ๕๒ เงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามมาตรา ๓๙ วรรคสาม
มาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๔ และดอกผลที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ผู้รับหลักประกันมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สิน
ที่เป็นหลักประกันให้จัดสรรชำระตามลำดับ ต่อไปนี้
                           (๑)  ค่าใช้จ่ายในการรักษาและสงวนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามมาตรา ๔๕
                           (๒)  ค่าใช้จ่ายตามสมควรและค่าฤชาธรรมเนียมอันเกิดจากการบังคับหลักประกัน
                           (๓)  ชำระหนี้ให้แก่ผู้รับหลักประกัน และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
เท่าที่ปรากฎรายชื่อในหลักฐานทางทะเบียนตามลำดับ
                           (๔)  ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นซึ่งขอเฉลี่ยทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สิน
ตามมาตรา ๓๙
                           (๕)  เงินที่เหลือหากมีให้ชำระคืนแก่ผู้ให้หลักประกัน
                           ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๘๗ มาตรา ๒๘๙ และมาตรา ๓๑๙ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อื่นซึ่งมีบุริมสิทธิตาม (๓) โดยอนุโลม
                           ถ้าจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ
เงินยังขาดจำนวนอยุ่เท่าใดให้ถือเป็นหนี้ที่ผู้รับหลักประกันอาจเรียกร้องจากลูกหนี้ได้ แต่ถ้าผู้ให้หลักประกัน
ไม่ได้เป็นลูกหนี้จะเรียกร้องจากผู้ให้หลักประกันไม่ได้
                           การใดที่แตกต่างจากความในมาตรานี้ตกเป็นโมฆะ
หมวด ๖
การบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ
_______________________
ส่วนที่ ๑
ผู้บังคับหลักประกัน
_______________________
                           มาตรา ๕๔ ผู้ใดจะทำการบังคับหลักประกันต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานทะเบียน
                           มาตรา ๕๕ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกันต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
และประการณ์ด้านกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ หรือการประเมินราคาทรัพย์สิน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
                           (๑)  เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต เป็นบุคคลล้มละลายหรือพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
มาแล้วไม่ถึงห้าปี
                           (๒)  เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หรือความผิด
ตามมาตรา ๘๙ หรือมาตรา ๙๐
                           (๓)  เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอน
ใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                           (๔)  เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการของผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับ
หลักประกัน
                           (๕)  เคยถูกถอดถอนจากการเป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา ๑๔๔
หรือมาตรา ๑๔๕ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายอื่น
                           (๖)  เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง
                           (๗)  เป็นข้าราชการที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
                           (๘)  มีลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                           มาตรา ๕๖ การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกันให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานทะเบียน
ตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                           หากเจ้าพนักงานทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งมีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๕ ให้เจ้าพนักงานทะเบียนออกใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกันให้
                           ให้เจ้าพนักงานทะเบียนแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบถึงการอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามวรรคสอง
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง
                           ในกรณีที่เจ้าพนักงานทะเบียนไม่ออกใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกัน ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์
ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไมอนุญาต โดยให้ผู้ขอยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานทะเบียน
                           ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ และให้คำวินิจฉัย
ของรัฐมนตรีเป็นที่สุด
                           มาตรา ๕๗ ใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกันมีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
                           การขอต่ออายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                           ในกรณีที่เจ้าพนักงานทะเบียนไม่ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่อนุญาต โดยให้ผู้ขอยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานทะเบียน
                           ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ และได้คำวินิจฉัย
ของรัฐมนตรีเป็นที่สุด
                           มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกันสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานทะเบียน
                           การขอรับใบแทนใบอนุญาต
                           มาตรา ๕๙ หากปรากฎว่าผู้รับใบอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๕
หรือศาลมีคำพิพากษาให้ผู้บังคับหลักประกันพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๗๗ ให้เจ้าพนักงานทะเบียนเพิกถอน
ใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกันดังกล่าว
                           ผู้รับใบอนุญาตที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนใบอนุญาต โดยให้ผู้รับใบอนุญาตนั้นยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานทะเบียน
                           ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ไดรับอุทธรณ์และให้คำวินิจฉัย
ของรัฐมนตรีเป็นที่สุด
                           ในระหว่างที่ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ทำการไปพลางก่อนได้
เมื่อผู้อุทธรณ์ร้องขอ
                           มาตรา ๖๐ ค่าตอบแทนผู้เบังคับหลักประกันให้เป็นไปตามอัตราหรือจำนวนที่ปรากฏ
ในรายการจดทะเบียนตรามาตรา ๑๘(๔) หรือตามที่ศาลสั่งแล้วแต่กรณี
ส่วนที่ ๒
กระบวนการบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการ
_____________________
                           มาตรา ๖๓ ในกรณีที่นำกิจการมาเป็นหลักประกัน การบังคับหลักประกันให้เป็นไปตาม
บทบัญญัติในหมวดนี้
                           มาตรา ๖๒ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๕๑ รวมทั้งบทกำหนดโทษ
ที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับแก่การบังคับหลักประกันที่เป็นกิจการตามหมวดนี้โดยอนุโลม
                           มาตรา ๖๓ หากมีเหตุบังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ให้ผู้รับหลักประกัน
มีหนังสือแจ้งผู้บังคับหลักประกันทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือโดยวิธีการอื่นที่แสดงว่า
ผู้บังคับหลักประกันได้รับหนังสือแล้ว
                           ให้ผู้บังคับหลักประกันกำหนดวัน เวลา และสถานที่ไต่สวนข้อเท็จจริงโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่เกินเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือตามวรรคหนึ่ง และมีหนังสือแจ้งผู้ให้หลักประกันและผู้รับหลักประกันทราบ
โดยไม่ชักช้าโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือโดยวิธีการอื่นที่แสดงว่าผู้รับได้รับหนังสือแล้ว ในการนี้
ให้แจ้งเหตุที่ผู้รับหลักประกันยกขึ้นบังคับหลักประกันและประเด็นการพิจารณา รวมทั้งสำเนาหนังสือของ
ผู้รับหลักประกันตามวรรคหนึ่งไปด้วย
                           ในกรณีที่ผู้บังคับหลักประกันตายหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือ
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๕ ก่อนดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คู่สัญญาตกลงกันเลือกผู้รับใบอนุญาตอื่น
เป็นผู้บังคับหลักประกัน และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๒ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การเลือกผู้บังคับหลักประกัน
ตามมาตรานี้โดยอนุโลม
                           ในกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันเลือกผู้รับใบอนุญาตอื่นเป็นผู้บังคับหลักประกันแทนภายใน
สิบห้าวันนับแต่วันที่มีเหตุตามวรรคสาม คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งแต่งตั้ง
ผู้รับใบอนุญาตคนหนึ่งหรือหลายคนตามที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้บังคับหลักประกันแทน
                           มาตรา ๖๔ ผู้ให้หลักประกันต้องมีหนังสือชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการที่เป็นหลักประกัน
ที่เป็นอยู่ในวันที่ผู้ให้หลักประกันได้รับหนังสือตามมาตรา ๖๓ วรรคสอง ต่อผู้บังคับหลักประกันภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และเมื่อมีเหตุผลพิเศษ ผู้บังคับหลักประกันอาจขยายให้ได้ตามที่เห็นสมควร
                           หากผู้ให้หลักประกันไม่ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการที่เป็นหลักประกันภายในกำหนดเวลา
ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าในวันที่ผู้รับหลักประกันได้รับหนังสือตามมาตรา ๖๓ วรรคสองนั้น กิจการที่เป็น
หลักประกันมีอยู่เท่ากับที่ปรากฏในรายการจดทะเบียนในวันที่ผู้รับหลักประกันได้รับหนังสือดังกล่าว
                           มาตรา ๖๕ เมื่อได้รับหนังสือตามมาตรา ๖๓ วรรคสอง ห้ามมิให้ผู้ให้หลักประกันจำหน่าย
จ่ายโอนกิจการที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่
                           (๑)  กิจการนั้นมีทรัพย์สินที่มีสภาพเป็นของสดเสียได้หรือหากหน่วงเข้าไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อ
ความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะเกินส่วนกับค่าของทรัพย์สินนั้นรวมอยู่ด้วย หรือมีทรัพย์สิน
ที่มีผู้ให้หลักประกันมีหน้าที่ต้องส่งมอบแก่บุคคลภายนอกตามสัญญาหรือนิติสัมพันธ์ที่ทำไว้ก่อนที่จะได้รับหนังสือ
ตามมาตรา ๖๓  วรรคสอง รวมอยู่ด้วย ผู้ให้หลักประกันอาจจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินดังกล่าวได้โดยวิธี
ที่เห็นสมควร แต่ต้องมีหนังสือแจ้งผู้บังคับหลักประกันทราบล่วงหน้าถึงเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องจำหน่าย
จ่ายโอนทรัพย์สินดังกล่าว ประเภท และปริมาณของทรัพย์สินนั้น วัน เวลา สถานที่ วิธีการจำหน่าย
และราคาจำหน่ายในท้องตลาดของทรัพย์สินนั้นในวันที่มีหนังสือแจ้ง และราคาที่จะจำหน่ายให้เป็นไป
ตามสภาพของราคาจำหน่ายในท้องตลาดของทรัพย์สินนั้น หรือ
                           (๒)  ผู้ให้หลักประกันได้วางเงินประกันหรือให้หลักประกันเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจาก
การจำหน่ายจ่ายโอนกิจการที่เป็นหลักประกันตามจำนวนที่ผู้บังคับหลักประกันกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า
ร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนเงินสูงสุดที่ตกลงใช้กิจการเป็นหลักประกัน
                           มาตรา ๖๖ ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกันจะดำเนินการ
ด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคน ให้เป็นผู้ดำเนินการแทนตนก็ได้
                           มาตรา ๖๗ เมื่อไต่สวนข้อเท็จจริงเสร็จ ให้ผู้บังคับหลักปรกันวินิจฉัยว่ามีเหตุบังคับ
หลักประกันหรือไม่ ในกรณีที่วินิจฉัยว่ามีเหตุบังคับหลักประกัน ให้ระบุจำนวนหนี้ที่ต้องชำระไว้ด้วย
                           หากคุ่สัญญาตกลงกันให้มีผู้บังคับหลักประกันหลายคน การลงมติวินิจฉัยให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก
                           ในกรณีที่มีเหตุบังคับหลักประกัน และผู้รับหลักประกันประสงค์ที่จะบังคับหลักประกันทันที
ให้ผู้บังคับหลักประกันมีคำวินิจฉัยบังคับหลักประกัน แต่หากผู้รับหลักประกันยินยอมผ่อนผันให้แก่ผู้ให้
หลักประกันเป็นหนังสือโดยให้ถือว่ายังไม่เคยมีเหตุบังคับหลักประกันดังกล่าวเกิดขึ้น ให้วินิจฉัยว่าไม่มี
เหตุบังคับหลักประกันและให้บันทึกคำยินยอมของผู้รับหลักประกันไว้ในคำวินิจฉัย
                           ในกรณีที่ไม่มีเหตุบังคับหลักประกัน ให้ผู้บังคับหลักประกันมีคำวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุบังคับหลักประกัน
                           คำวินิจฉัยต้องทำเป็นหนังสือและต้องประกอบด้วยสรุปข้อเท็จจริง ข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
เหตุผลในการวินิจฉัย ลายมือชื่อของผู้บังคับหลักประกัน และวันที่มีคำวินิจฉัย
                           มาตรา ๖๘ ผู้บังคับหลักประกันต้องวินิจฉัยคำร้องขอบังคับหลักประกันให้แล้วเสร็จภายใน
สิบห้าวันนับแต่วันไต่สวนข้อเท็จจริงวันแรก
                           มาตรา ๖๙ ให้ผู้บังคับหลักประกันมีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยตามมาตรา ๖๗ ให้ลูกหนี้
ผู้ให้หลักประกัน ผู้รับหลักประกัน และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเท่าที่ปรากฏ
รายชื่อในหลักฐานทางทะเบียนทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือโดยวิธีการอื่นที่แสดงว่า
ผู้รับได้รับหนังสือแล้ว ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยบังคับหลักประกัน ให้ผู้บังคับหลักประกันมีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัย
ดังกล่าวให้เจ้าพนักงานทะเบียน นายทะเบียน หรือนายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
                           เมื่อได้รับแจ้งคำวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานทะเบียน นายทะเบียน หรือนายทะเบียน
นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องจดบันทึกคำวินิจฉัยดังกล่าวไว้ในทะเบียนโดยเร็ว
                           มาตรา ๗๐ ห้ามมิให้คัดค้านคำวินิจฉัยตามมาตรา ๖๗ เว้นแต่การไต่สวนข้อเท็จจริง
เพื่อมีคำวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรา ๖๖ หรือคำวินิจฉัยนั้นบกพร่อง
ในข้อเท็จจริงหรือข้อกฏหมายอันเป็นสาระสำคัญ
                           ให้ผู้คัดค้านคำวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง ยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
แจ้งคำวินิจฉัย
                           การร้องคัดค้านตามมาตรานี้ไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับหลักประกันตามคำวินิจฉัยบังคับหลักประกัน
                           เมื่อได้รับคำร้องตามวรรคสอง ศาลอาจกำหนดให้ผู้ยื่นคำร้องวางประกันหรือให้หลักประกัน
ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ หากผู้ยื่นคำร้องไม่วางประกันหรือให้หลักประกันตามที่ศาลกำหนด
ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง
                           ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาคำร้องตามวรรคสองโดยเร็ว และให้นั่งพิจารณาคดีติดต่อกันทุกวัน
จนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เว้นแต่การมีพฤติการณ์พิเศษอันมิอาจก้าวล่วงได้
                           ในกรณีที่ศาลเห็นว่ามีเหตุคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัย
ตามมาตรา ๖๗ โดยอาจเพิกถอนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ ในการนี้ ศาลอาจกำหนดให้ผู้บังคับ
หลักประกันวินิจฉัยคำร้องขอบังคับหลักประกันส่วนที่ถูกเพิกถอนนั้นใหม่ โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๘
และมาตรา ๖๙ มาใช้บังคับแก่การวินิจฉัยคำร้องขอบังคับหลักประกันส่วนที่ถูกเพิกถอนนั้นโดยอนุโลม
หรือหากพยานหลักฐานตามที่ปรากฎในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลอาจพิพากษาแก้ไขและมีคำสั่ง
ตามที่เห็นสมควรก็ได้
                           ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่มีเหตุคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง
                           คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
                           มาตรา ๗๑ ในกรณีที่ผู้บังคับหลักประกันมีคำวินิจฉัยบังคับหลักประกันให้อำนาจหน้าที่
ในการจัดการกิจการที่เป็นหลักประกันของผู้ให้หลักประกันเป็นอันสิ้นสุดลง และให้อำนาจหน้าที่ดังกล่าว
กับทั้งให้บรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของผู้ให้หลักประกันในกิจการที่เป็นหลักประกัน
 ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้บังคับหลักประกันทันที และห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่น
ยึดหรืออายัดกิจการที่เป็นหลักประกัน แต่ให้เจ้าหนี้ดังกล่าวมีหนังสือแจ้งไปยังผู้บังคับหลักประกันเพื่อขอ
เฉลี่ยทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการจำหน่ายกิจการนั้น
                           มาตรา ๗๒  ภายในเจ็ดวันเมื่อได้รับคำวินิจฉัยบังคับหลักประกัน ผู้ให้หลักประกันต้องส่งมอบ
กิจการที่เป็นหลักประกัน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สินตลอดจนสิทธิต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้บังคับหลักประกัน เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า
ตนไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้เพราะเหตุสุดวิสัย ในกรณีดังกล่าวผู้ให้หลักประกันต้องแจ้งเหตุนั้นให้ผู้บังคับ
หลักประกันทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบเหตุดังกล่าว และต้องดำเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลา
ที่ผู้บังคับหลักประกันกำหนด
                           หากผู้ให้หลักประกันไมดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ผู้บังคับหลักประกันอาจยื่นคำร้องต่อศาล
เพื่อยึดหรืออายัดกิจการที่เป็นหลักประกันและส่งมอบให้แก่ผู้บังคับหลักประกัน เมื่อศาลมีคำสั่งดังกล่าว
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดหรืออายัดกิจการที่เป็นหลักประกันเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้บังคับหลักประกัน
ตามคำสั่งศาล เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้บังคับ
หลักประกันในการจัดการกิจการที่เป็นหลักประกันของผู้ให้หลักประกันเป็นการชั่วคราวในระหว่างที่ยังมิได้
ส่งมอบกิจการนั้นให้แก่ผู้บังคับหลักประกัน
                           มาตรา ๗๓ ให้ผู้บังคับหลักประกันมีอำนาจหน้าที่บำรุงรักษา จัดการและดำเนินกิจการ
ที่เป็นหลักประกันจนกว่าจะจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกันได้ ตรวจสอบและประเมินราคากิจการ
ที่เป็นหลักประกัน กำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกัน ดำเนินการจำหน่าย
กิจการที่เป็นหลักประกัน และจัดสรรเงินที่ได้จากการจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกันตามมาตรา ๗๔
เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ผู้บังคับหลักประกันอาจจำหน่ายจ่ายโอน เช่า ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือ
กระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในกิจการที่เป็นหลักประกันได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้กิจการสามารถ
ดำเนินการต่อไปได้
                           ให้ถือว่าการดำเนินการของผู้บังคับหลักประกันตามวรรคหนึ่งเป็นการดำเนินการโดยมติที่ประชุมใหญ่
ผู้ถือหุ้นหรือข้อตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันทุกคนของผู้ให้หลักประกัน
                           ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ ผู้บังคับหลักประกันต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างผู้ประกอบ
วิชาชีพจะพึงปฏิบัติโดยพฤติการณ์เช่นนั้น
                           มาตรา ๗๔ เงินที่ได้จากการจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกันให้จัดสรรชำระตามลำดับ
ดังต่อไปนี้
                           (๑)  ค่าธรรมเนียมในการยึดหรืออายัดตามมาตรา ๗๒ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา จัดการ
และดำเนินกิจการของผู้บังคับหลักประกันตามมาตรา ๗๓
                           (๒)  ค่าตอบแทนของผู้บังคับหลักประกัน ค่าใช้จ่ายตามสมควรอันเกิดจากการบังคับหลักประกัน
ค่าฤชาธรรมเนียมการบังคับหลักประกัน และค่าธรรมเนียมการจำหน่ายกิจการที่เป็นหลักประกัน
                           (๓)  ชำระหนี้ให้แก่ผู้รับหลักประกัน และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
เท่าที่ปรากฎรายชื่อในหลักฐานทางทะเบียนตามลำดับ
                           (๔)  ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นซึ่งขอเฉลี่ยทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการจำหน่าย
กิจการนั้นตามมาตรา ๗๑
                           (๕)  เงินที่เหลือหากมี ให้ชำระคืนแก่ผู้ให้หลักประกัน
                           ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๒ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การจัดสรรชำระ
ตามมาตรานี้โดยอนุโลม
ส่วนที่๓
การคัดค้านผู้บังคับหลักประกัน
__________________
                           มาตรา ๗๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้บังคับหลักประกันต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระ
และต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงที่อาจเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของตน
และนับแต่วันที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งเป็นผู้บังคับหลักประกันตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจใด ผู้บังคับ
หลักประกันต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นต่อคู่สัญญาโดยไม่ชักช้า เว้นแต่จะได้แจ้งให้คู่สัญญา
ทราบล่วงหน้าแล้ว
                           มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้บังคับหลักประกันปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่อ
ในการปฏิบัติหน้าที่และก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกัน
หรือปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของผู้บังคับหลักประกัน
หรือผู้บังคับหลักประกันขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๕ ผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับ
หลักประกันอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งให้ผู้บังคับหลักประกันพ้นจากตำแหน่ง
                           เมื่อได้รับคำร้องตามวรรหนึ่ง ศาลอาจกำหนดให้ผู้ยื่นคำร้องวางประกันหรือให้หลักประกัน
ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ หากผู้ยื่นคำร้องไม่วางประกันหรือให้หลักประกันตามที่ศาลกำหนด
ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งศาลดังกล่าวให้เป็นที่สุด
                           ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาคำร้องตามวรรคหนึ่งโดยเร็ว และได้นั่งพิจารณาคดีติดต่อกันทุกวัน
จนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เว้นแต่กรณีมีพฤติการณ์พิเศษอันมิอาจก้าวล่วงได้
                           ในระหว่างพิจารณา ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้บังคับหลักประกันหยุดการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลจะมี
คำพิพากษาหรือคำสั่งก็ได้ หากศาลมีคำสั่งดังกล่าว ให้ศาลแต่งตั้งผู้รับใบอนุญาตคนหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร
ปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับหลักประกันชั่วคราว เว้นแต่กรณีที่ไม่มีผู้รับใบอนุญาตให้ศาลแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตามมาตรา ๕๕ ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้บังคับหลักประกันชั่วคราวมีอำนาจหน้าที่
เช่นเดียวกับผู้บังคับหลักประกัน
                           ให้ผู้ยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บังคับหลักประกันชั่วคราวตามอัตรา
หรือจำนวนที่ศาลกำหนด แต่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้บังคับหลักประกันพ้นจากตำแหน่ง ให้ถือว่า
ค่าตอบแทนผู้บังคับหลักประกันชั่วคราวเป็นค่าใช้จ่ายตามสมควรอันเกิดจากการบังคับหลักประกัน
ตามมาตรา ๗๔(๒) และให้จัดสรรชำระแก่ผู้ยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง
                           มาตรา ๗๗ หากศาลเห็นว่ามีเหตุคัดค้านผู้บังคับหลักประกันตามมาตรา ๗๖ วรรคหนึ่ง
ให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้บังคับหลักประกันพ้นจากตำแหน่ง แต่หากศาลเห็นว่าไม่มีเหตุดังกล่าว ให้ศาล
มีคำสั่งยกคำร้อง
                           คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่
วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
                           ในกรณีที่ไม่มีการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือเมื่อศาลอุทธรณ์
มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แล้วแต่กรณี ให้ศาลสั่งคืนประกันหรือหลักประกันแก่ผู้วางประกันหรือหลักประกันต่อศาล
ตามมาตรา ๗๖ วรรคสอง
                           มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้บังคับหลักประกันพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๗๗
และยังมีกิจการที่จะต้องดำเนินต่อไป ให้ศาลแต่งตั้งผู้รับใบอนุญาตคนหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรเป็น
ผู้บังคับหลักประกันแทน เว้นแต่กรณีที่ไม่มีผู้รับใบอนุญาตให้ศาลแต่งตั้งผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
และประสบการณ์ตามมาตรา ๕๕
                           ให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ที่เกี่ยวกับผู้บังคับหลักประกันมาใช้บังคับแก่ผู้บังคับหลักประกันแทน
ตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
                           มาตรา ๗๙ คำพิพากษาของศาลที่ให้ผู้บังคับหลักประกันพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๗๗
ไม่กระทบถึงการใดที่ผู้บังคับหลักประกันได้กระทำไปแล้วก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาเช่นว่านั้น
หมวด ๗
ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
__________________________
                           มาตรา ๘๐ สัญญาหลักประกันทางธุรกิจจะระงับสิ้นไปเมื่อ
                           (๑)  หนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการใดอันมิใช่เหตุอายุความ
                           (๒)  ผู้รับหลักประกันและผู้ให้หลักประกันตกลงกันเป็นหนังสือให้ยกเลิกสัญญาหลักประกัน
ทางธุรกิจ
                           (๓)  มีการไถ่ถอนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
                           (๔)  มีการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันในการบังคับหลักประกันหรือเมื่อทรัพย์สินที่เป็น
หลักประกันหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับหลักประกัน
                           มาตรา ๘๑ ผู้รับหลักประกันจะบังคับหลักประกันแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้น ขาดอายุความ
แล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเกินกว่าห้าปีไม่ได้
หมวด ๘
บทกำหนดโทษ
________________________
                           มาตรา ๘๒ ผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกันผู้ใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิด
ความจริงในการดำเนินการทางทะเบียนตามมาตรา ๑๖ หรือการขอจดทะเบียนตามมาตรา ๑๗
หรือการขอแก้ไขรายการจดทะเบียนตามมาตรา ๒๐ หรือการขอยกเลิกการจดทะเบียนตามมาตรา ๒๑
หรือการดำเนินการตามมาตรา ๕๑ หรือการแจ้งเหตุตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                           มาตรา ๘๓ ผู้รับหลักประกันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
มาตรา ๒๑ วรรคสอง มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                           ผู้รับหลักประกันผู้ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                           มาตรา ๘๔ ผู้ให้หลักประกันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕
วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๖๕ ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                           ผู้ให้หลักประกันผู้ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                           มาตรา ๘๕ ผู้ให้หลักประกันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับ
ไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                           มาตรา ๘๖ ผู้ให้หลักประกันผู้ใดเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้
ไร้ประโยชน์ ย้าย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้
ผู้รับหลักประกันไม่อาจบังคับหลักประกันทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
และปรับไม่เกินสองแสนบาท
                           มาตรา ๘๗ ผู้รับหลักประกันผู้ใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จจริงหรือปกปิดความจริงในการร้องขอ
ให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับหลักประกันตามมาตรา ๔๖ หรือในการแจ้งผู้บังคับหลักประกัน เพื่อมีคำวินิจฉัย
บังคับหลักประกันตามมาตรา ๖๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
                           มาตรา ๘๘ ผู้ให้หลักประกันผู้ใดส่งมอบหรือแสดงดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสาร อันเป็นเท็จ
เกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน ตลอดจนสิทธิต่างๆที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันต่อผู้รับหลักประกัน
หรือผู้บังคับหลักประกัน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                           มาตรา ๘๙ ผู้รับหลักประกันหรือผู้บังคับหลักประกันผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลหรือความลับ
ในการประกอบธุรกิจหรือข้อมูลอื่นใดของผู้ให้หลักประกันอันเป็นข้อมูลหรือความลับที่ตามปกติวิสัยของ
ผู้ให้หลักประกันจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย และเปิดเผยหรือใช้ข้อมูลหรือความลับนั้นเพื่อประโยชน์ตนเอง
หรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่
เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน
หรือการพิจารณาคดี หรือเป็นการเปิดเผยโดยผู้ให้หลักประกันได้ให้ความยินยอมแล้ว
                           ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลหรือความลับจากบุคคลตามวรรคหนึ่งเนื่องในการปฏิบัติราชการ
หรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี แล้วเปิดเผยข้อมูลหรือความลับนั้นในประการที่น่าจะเสียหายแก่
ผู้หนึ่งผู้ใดต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
                           มาตรา ๙๐ ผู้บังคับหลักประกันผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือ
กระทำการฝ่ายฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้โดยมุ่งหมายให้เกิดความเสียหายแก่
ผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกัน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
                           มาตรา ๙๑ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งรัฐมนตรี
แต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ให้มีจำนวนสามคน
และคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                           เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกิน
สามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้รับสนองพระบรมราชโอการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
          นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ทรัพย์สินที่อาจนํามาใช้เป็นประกันการชําระหนี้ ในลักษณะที่ผู้ให้หลักประกันไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับหลักประกันหรือการจํานอง ตามมาตรา ๗๐๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จํากัดเฉพาะอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์มีทะเบียน บางประเภทเท่านั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงไม่สามารถนําทรัพย์สินอื่นที่ใช้ในการประกอบธุรกิจนอกจากทรัพย์สินดังกล่าว มาใช้เป็นประกันการชําระหนี้ในลักษณะที่ผู้ให้หลักประกันไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับ หลักประกันได้ เช่น สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ สินค้าคงคลัง วัตถุดิบที่ใช้ ในการผลิตสินค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งที่ทรัพย์สินเหล่านี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเช่นกัน อีกทั้งกระบวนการ บังคับจํานองมีความล่าช้าอันเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ สมควรตรากฎหมายเพื่อรองรับการนําทรัพย์สิน ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นประกันการชําระหนี้ในลักษณะที่ไม่ต้องส่งมอบการครอบครองแก่เจ้าหนี้ และสร้างระบบการบังคับหลักประกันที่มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมอันจะเป็นประโยชน์ต่อ การประกอบธุรกิจ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino! Martian Wallet is a secure and user-friendly platform for managing your cryptocurrencies. It supports various assets and offers seamless transactions for both beginners and experts. Learn more at martianwallet.net. To manage your Solana assets effortlessly, use phantom login for secure access to your wallet and quick interactions with NFTs and decentralized applications. Visit the metamask website to download the wallet extension for securely managing crypto assets and interacting with decentralized apps.