Hot! พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๙

  พระราชบัญญัติ

   วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์

พ.ศ. ๒๕๕๙

——————————————

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัตแหิ ่งชาติ ดังต่อไปนี้

              มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๙”

              มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

              มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “คดีค้ามนุษย์” หมายความว่า คดีที่มีข้อหาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ ไม่ว่าจะมีข้อหาความผิดอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม

              ความในวรรคหนึ่งมิให้รวมถึง

              (๑) คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

              (๒) คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลเยาวชนและครอบครัวตามกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว

              “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

              มาตรา ๔ ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๘ ไปใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีค้ามนุษย์ ในศาลทหารด้วย โดย

              (๑) การดําเนินการเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนและค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร

              (๒) การจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลทหารตั้งให้แก่จําเลยตามมาตรา ๒๔ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร

              (๓) การจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่นแก่บุคคลตามมาตรา ๓๒ ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงกลาโหมกาหนดโดยความเห ํ ็นชอบของกระทรวงการคลัง

              (๔) การอุทธรณ์และฎีกาในศาลทหารให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร

              (๕) ให้คําว่า “พนักงานอัยการ” หมายความรวมถึงอัยการทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร

              ให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการพระธรรมนูญในศาลทหารสูงสุดมีอํานาจออกระเบียบเกี่ยวกับการดําเนินคดี เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

               มาตรา ๕ ห้ามมิให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ และศาลล้มละลายตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณา คดีล้มละลายรับคดีที่มีข้อหาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ไว้พิจารณาพิพากษา

              มาตรา ๖ ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีค้ามนุษย์หรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็น ผู้วินิจฉัย คําวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาใดๆ ที่ได้ กระทําไปก่อนที่จะมีคําวินิจฉัยนั้น

              การขอให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาตามวรรคหนึ่ง ต้องกระทําอย่างช้าในวันตรวจ พยานหลักฐานหรือวันสืบพยานในกรณีไม่มีการตรวจพยานหลักฐาน หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ห้ามมิให้มีการขอให้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอีก และเมื่อได้รับคําขอจากศาลชั้นต้นแล้ว ให้ประธาน ศาลอุทธรณ์มีคําวินิจฉัยและแจ้งผลไปยังศาลชั้นต้นโดยเร็ว

             เพื่อให้การดําเนินคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว การดําเนินการใดๆ ระหว่างศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ ตามมาตรานี้ จะดําเนินการโดยทางโทรสารหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดก็ได้

             มาตรา ๗ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

             ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีอํานาจออกข้อบังคับเพื่อให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑

บททั่วไป

——————————

              มาตรา ๘    วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ให้ใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปโดยรวดเร็วตามที่กําหนด ในพระราชบัญญัตินี้และข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อบังคับดังกล่าว ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับบทบัญญัติตามพระราชบัญญัตินี้

               คดีค้ามนุษย์ใดมีข้อหาความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาเสพติด รวมอยู่ด้วย ให้นําบทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ข้อหาความผิดนั้นเท่าที่ไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติตามพระราชบัญญัตินี้

              มาตรา ๙    ในการสืบพยานก่อนฟ้องคดี การไต่สวนมูลฟ้อง หรือการพิจารณาคดี หากมี เหตุจําเป็นอันไม่อาจนําพยานมาเบิกความในศาลได้ เมื่อคู่ความร้องขอหรือศาลเห็นสมควร ศาลอาจอนุญาต ให้พยานดังกล่าวเบิกความที่ศาลอื่นหรือสถานที่ทําการของทางราชการหรือสถานที่แห่งอื่นซึ่งอยู่ในประเทศ หรือต่างประเทศ โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพได้ ทั้งนี้ การเบิกความดังกล่าวให้ถือเสมือนว่าพยานเบิกความในห้องพิจารณาของศาล

              หลักเกณฑ์และวิธีดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

               มาตรา ๑๐    ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทําข้อมูลประวัติ ผลกระทบ หรือความเสียหายที่เกิดต่อร่างกายหรือจิตใจ และข้อวิตกกังวลหรือข้อคิดเห็นอย่างอื่นของผู้เสียหาย ตลอดจนพฤติการณ์อื่นใดที่เกี่ยวข้องซึ่งศาลเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยคําร้องขอปล่อยชั่วคราว หรือการพิจารณาพิพากษาคดี

               มาตรา ๑๑     นอกจากที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การวินิจฉัย คําร้องขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิดว่ามีลักษณะ เป็นเครือข่ายหรือเป็นองค์กรอาชญากรรมหรือผู้ต้องหาหรือจําเลยนั้นเป็นผู้มีอิทธิพลหรือมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทําผิดหรือไม่ประกอบด้วย โดยคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้เสียหายและ ภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่พยานหลักฐานเป็นสําคัญ

              มาตรา ๑๒     ในการสั่งปล่อยชั่วคราว จะต้องกําหนดมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนี และภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นอย่างเพียงพอ และในกรณีที่เป็นคําสั่งของศาล หากมีการสั่งให้ใช้อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจํากัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ให้ศาลมีอํานาจกําหนดเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งจะต้องรับผิดชอบดําเนินการให้เป็นไปตามคําสั่งได้ด้วย

              มาตรา ๑๓ การเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับฟ้องคดีอาญาหรือจะยื่นคําร้องในระหว่าง การพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่จะยื่นคําร้องเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทน เพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก่อนที่ศาลจะมีคําวินิจฉัยชี้ขาดคดี

             ถึงแม้ไม่มีคําขอให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่ง หากศาลมีคําพิพากษาลงโทษจําเลย ศาลจะสั่งในคําพิพากษาคดีอาญาให้จําเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามจํานวนที่เห็นสมควรก็ได้ คําสั่งดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้เสียหายในอันที่จะฟ้องจําเลยเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน ในส่วนที่ยังขาดอยู่

              มาตรา ๑๔   นอกจากการให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๑๓ แล้ว ถ้าปรากฏว่า ในการกระทําความผิดมีการกระทําทารุณกรรม หน่วงเหนี่ยวกักขัง ทําร้ายร่างกาย หรือกดขี่ข่มเหง โดยขาดมนุษยธรรมอย่างร้ายแรงต่อผู้เสียหาย เมื่อศาลมีคําพิพากษาให้จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ผู้เสียหาย ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้จําเลยจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร โดยคํานึงถึงพฤติการณ์ต่างๆ เช่น ความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้น ผลประโยชน์ที่จําเลยได้รับ ฐานะทางการเงินของจําเลย ตลอดจนประวัติการกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ของจําเลยประกอบด้วย

             มาตรา ๑๕ คําพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนและค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ ให้รวมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคําพิพากษาในคดีอาญา และในกรณีที่ต้องมีการบังคับคดีให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษา ในการนี้ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดําเนินการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เพื่อบังคับคดี ให้เป็นไปตามคําพิพากษา

                            ในการดําเนินกระบวนพิจารณาเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๑๓ ตลอดจนการบังคับคดี ตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวง

            มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ศาลอาญาสั่งรับคดีค้ามนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นนอกเขตศาลไว้พิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือได้รับโอนคดีค้ามนุษย์จากศาลอื่นภายใต้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ให้ศาลอาญามีอํานาจดําเนินกระบวนพิจารณาใดๆ นอกเขตศาลได้ตามที่เห็นสมควร การดําเนินคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาญาอาจกําหนดให้ทําการไต่สวนมูลฟ้อง หรือนั่งพิจารณา และพิพากษาคดีที่ศาลชั้นต้นอื่นโดยใช้เจ้าหน้าที่ธุรการของศาลนั้นหรือของศาลอาญาเองทําหน้าที่ช่วยเหลือ ในทางธุรการก็ได้

          มาตรา ๑๗ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอาจมีคําสั่งให้คู่ความที่ดําเนินกระบวน พิจารณาไม่ถูกต้อง ดําเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควร กําหนด

          มาตรา ๑๘   ระยะเวลาที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่บทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัตินี้ให้นํามาใช้บังคับ ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา หรือตามที่ศาลกําหนด เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความมีคําขอ ศาลอาจย่นหรือขยายได้ตามความจําเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

          มาตรา ๑๙    ให้คู่ความฝ่ายที่ยื่นคําคู่ความ คําร้อง คําขอ คําแถลง และสรรพเอกสาร จัดทําสําเนายื่นต่อศาลในจํานวนที่เพียงพอต่อองค์คณะผู้พิพากษาและคู่ความฝ่ายอื่น เว้นแต่ศาลจะมี คําสั่งเป็นอย่างอื่น

          ความในวรรคหนึ่งมิให้รวมเอกสารตามมาตรา ๒๖

          มาตรา ๒๐     ในคดีค้ามนุษย์ ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทําความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สําคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตํารวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่า อัตราโทษขั้นต่ําที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นก็ได้              มาตรา ๒๑       ในการดําเนินคดีค้ามนุษย์ ถ้าผู้ต้องหาหรือจําเลยหลบหนีไปในระหว่าง ถูกดําเนินคดีหรือระหว่างการพิจารณาคดีของศาล มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ต้องหาหรือจําเลยหลบหนี รวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ

         ในกรณีมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําเลย ถ้าจําเลยหลบหนีไปในระหว่างต้องคําพิพากษา ถึงที่สุดให้ลงโทษ มิให้นําบทบัญญัติมาตรา ๙๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ

          มาตรา ๒๒ ผู้ต้องหาหรือจําเลยที่หลบหนีไปในระหว่างที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

          ความผิดตามวรรคหนึ่งไม่ระงับไปเพราะเหตุที่คดีของผู้ต้องหาหรือจําเลยนั้น มีการสั่งไม่ฟ้อง ยกฟ้อง จําหน่ายคดี หรือถอนฟ้อง

          ให้ผู้ซึ่งชี้ช่องจนนําไปสู่การจับกุมผู้ต้องหาหรือจําเลยตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับ มีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

หมวด ๒

วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น

———————————————–

          มาตรา ๒๓      ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือมีข้อความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๘ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีที่ศาลเห็นว่าฟ้องไม่ถูกต้อง ให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์แก้ฟ้อง ให้ถูกต้อง

          มาตรา ๒๔      ในคดีที่มีการไต่สวนมูลฟ้อง ก่อนเริ่มไต่สวนมูลฟ้อง ถ้าจําเลยมาศาล ให้ศาล ถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าจําเลยไม่มี ก็ให้ศาลพิจารณาตั้งทนายความให้โดยให้นําบทบัญญัติ มาตรา ๑๗๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม

          ในการไต่สวนมูลฟ้อง จําเลยอาจแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันสําคัญ ที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล และจะระบุในคําแถลงถึงตัวบุคคล เอกสารหรือวัตถุที่จะสนับสนุนข้อเท็จจริง ตามคําแถลงของจําเลยด้วยก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ ศาลอาจเรียกบุคคล เอกสารหรือวัตถุดังกล่าวมาเป็นพยานศาล เพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งคดีได้ตามที่เห็นสมควร โดยโจทก์และจําเลยอาจถามพยานศาลได้เมื่อได้รับ อนุญาตจากศาล

          คําสั่งของศาลที่ว่าคดีมีมูลให้แสดงเหตุผลอย่างชัดเจนประกอบด้วย

           มาตรา ๒๕    ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบ พยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าจําเลยไม่ได้กระทําความผิดหรือคดีที่มีข้อหา ความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้นกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างต่ําให้จําคุกตลอดชีวิตหรือโทษสถานที่ หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําความผิดจริง

          มาตรา ๒๖      ในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าจําเลยให้การปฏิเสธ ให้โจทก์ส่งสํานวน การสอบสวนพร้อมสําเนาต่อศาลก่อนวันตรวจพยานหลักฐานหรือวันสืบพยานในกรณีไม่มีการตรวจพยานหลักฐาน ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ทั้งนี้ สําเนาสํานวนการสอบสวนดังกล่าวอาจจัดทําในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

          มาตรา ๒๗       คู่ความทั้งสองฝ่ายอาจอ้างตนเอง บุคคล หรือหลักฐานอื่นเป็นพยานได้ ตามที่ศาลเห็นสมควร มีสิทธิขอตรวจพยานหลักฐาน และมีสิทธิคัดสําเนาพยานหลักฐานของตนเอง หรือของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้มีการสืบพยานหลักฐานนั้นแล้วได้

          ในกรณีจําเป็นเพื่อความปลอดภัยของบุคคล ให้ปกปิดชื่อและที่อยู่ของบุคคลหรือข้อมูลอย่างอื่น ที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

           มาตรา ๒๘       ในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ให้ศาลนําสํานวนการสอบสวนของโจทก์ มาเป็นแนวทางในการพิจารณา และอาจสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานได้ตามที่ เห็นสมควร

            มาตรา ๒๙        ศาลมีอํานาจเรียกพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานหรือบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคํา หรือดําเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา รวมทั้งมีอํานาจสั่งให้ หน่วยงานหรือบุคคลใดตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม แล้วรายงานให้ศาลทราบและจัดส่ง พยานหลักฐานดังกล่าวต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด

            ศาลมีอํานาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย

             มาตรา ๓๐        ให้ศาลพิจารณาและสืบพยานหลักฐานต่อเนื่องติดต่อกันไปจนกว่าจะเสร็จ การพิจารณา เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้

             มาตรา ๓๑         ในการสืบพยานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลเรียกมาเอง ให้ศาลแจ้งให้พยานทราบประเด็นและข้อเท็จจริงที่จะทําการสืบพยาน แล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้น ด้วยตนเองหรือตอบคําถามศาล ให้ศาลมีอํานาจถามพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคดี แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างก็ตาม แล้วจึงอนุญาตให้คู่ความถามพยานเพิ่มเติม

             การถามพยานของคู่ความตามวรรคหนึ่งจะใช้คําถามนําก็ได้

             หลังจากคู่ความถามพยานตามวรรคหนึ่งแล้ว ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดถามพยานอีก เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากศาล

             มาตรา ๓๒         ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลขอให้มาให้ความเห็นและพยานที่ศาลเรียกมาเอง รวมทั้งบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๒๙ วรรคสอง มีสิทธิได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการศาลยุติธรรมกําหนด                 มาตรา ๓๓        การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทําโดยเปิดเผยต่อหน้าจําเลย               เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า ศาลมีอํานาจพิจารณา และสืบพยานลับหลังจําเลยได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

               (๑) จําเลยไม่อาจมาฟังการพิจารณาและการสืบพยานได้เนื่องจากความเจ็บป่วยหรือมีเหตุจําเป็นอื่น อันมิอาจก้าวล่วงได้ เมื่อจําเลยมีทนายและจําเลยได้รับอนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟังการพิจารณาและสืบพยาน

               (๒) จําเลยเป็นนิติบุคคลและศาลได้ออกหมายจับผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นแล้ว แต่ยังจับตัวมาไม่ได้

               (๓) จําเลยอยู่ในอํานาจศาลแล้วแต่ได้หลบหนีไปและศาลได้ออกหมายจับแล้ว แต่ยังจับตัวมาไม่ได้

               (๔) ในระหว่างพิจารณาหรือสืบพยาน ศาลมีคําสั่งให้จําเลยออกจากห้องพิจารณาเพราะเหตุขัดขวาง การพิจารณา หรือจําเลยออกไปจากห้องพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล

                ในกรณีดังกล่าว เมื่อศาลพิจารณาคดีเสร็จสิ้นแล้ว ให้ศาลมีคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไป

                 มาตรา ๓๔      เมื่อคู่ความร้องขอและมีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้คัดคําเบิกความพยาน และรายงานกระบวนพิจารณาของศาลได้โดยกําหนดวิธีการและเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร

                มาตรา ๓๕ เมื่อการสืบพยานหลักฐานเสร็จสิ้น คู่ความมีสิทธิแถลงปิดคดีของตนด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือภายในเวลาที่ศาลกําหนด

                มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ศาลนัดฟังคําพิพากษาหรือคําสั่ง แต่จําเลยไม่อยู่หรือไม่มาฟังคําพิพากษา หรือคําสั่ง ให้ศาลเลื่อนการอ่านไป และออกหมายจับจําเลยมาฟังคําพิพากษาหรือคําสั่ง เมื่อได้ออกหมายจับแล้ว ไม่ได้ตัวจําเลยมาศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันออกหมายจับ ให้ศาลอ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งลับหลัง จําเลยได้ และให้ถือว่าจําเลยได้ฟังคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นแล้ว

หมวด ๓

อุทธรณ์

——————————————

                 มาตรา ๓๗     ให้จัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ขึ้นในศาลอุทธรณ์ โดยให้มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี ค้ามนุษย์ที่มีการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นและตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

                มาตรา ๓๘       ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๔๐ การอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของ ศาลชั้นต้นในคดีค้ามนุษย์ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกําหนด หนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง

                เมื่อศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์หรือเมื่อมีการยื่นคําร้องอุทธรณ์คําสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งอุทธรณ์หรือคําร้องเช่นว่านั้นพร้อมสํานวนไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์เพื่อพิจารณา พิพากษาหรือมีคําสั่งโดยเร็ว

                 มาตรา ๓๙      ในกรณีที่จําเลยซึ่งไม่ได้ถูกคุมขังเป็นผู้อุทธรณ์ จําเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อ แสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลให้ขยายระยะเวลาแสดงตน มิฉะนั้นให้ศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์มีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์

                 มาตรา ๔๐       คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจําคุกตลอดชีวิตเมื่อไม่มี การอุทธรณ์คําพิพากษา ให้ศาลชั้นต้นส่งสํานวนและคําพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ ตามมาตรา ๒๔๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา                       มาตรา ๔๑      ให้ศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์พิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๔๓ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ ให้เป็นที่สุด

                  มาตรา ๔๒ การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ ให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณา และการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๔

ฎีกา

———————————–

                 มาตรา ๔๓      การฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ ให้ผู้ฎีกา ยื่นคําร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาตามมาตรา ๔๕ พร้อมกับคําฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น ที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งในคดีนั้นภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษา หรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์แล้วให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องพร้อมคําฟ้องฎีกาดังกล่าวไปยัง ศาลฎีกา และให้ศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยคําร้องให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

                 ให้นําบทบัญญัติมาตรา ๓๙ มาใช้บังคับกับการฎีกาด้วยโดยอนุโลม

                 มาตรา ๔๔      คําร้องตามมาตรา ๔๓ ให้พิจารณาและวินิจฉัยโดยองค์คณะผู้พิพากษา ที่ประธานศาลฎีกาแต่งตั้ง ซึ่งประกอบด้วยรองประธานศาลฎีกาหนึ่งคนและผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่ง ไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาอีกอย่างน้อยสามคน

                 การวินิจฉัยให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้บังคับตามความเห็นของฝ่ายที่ เห็นควรรับฎีกา

                 มาตรา ๔๕     ให้ศาลฎีกามีอํานาจรับฎีกาตามมาตรา ๔๓ ไว้พิจารณาได้ เมื่อเห็นว่าปัญหา ตามฎีกานั้นเป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย

                  ปัญหาสําคัญตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้

                  (๑) ปัญหาที่เกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ

                  (๒) เมื่อคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สําคัญ ขัดกันหรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลฎีกา

                  (๓) คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สําคัญ ซึ่งยังไม่มีแนวคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลฎีกามาก่อน

                  (๔) เมื่อคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ขัดกับคําพิพากษาหรือคําสั่ง อันถึงที่สุดของศาลอื่น

                  (๕) เพื่อเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมาย

                  (๖) เมื่อจําเลยต้องคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์ให้ประหารชีวิต หรือจําคุก ตลอดชีวิต

                  (๗) เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วอาจมีผลเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญในคําพิพากษา หรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีค้ามนุษย์

                  (๘) ปัญหาสําคัญอื่นตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

                  ในกรณีที่ศาลฎีกามีคําสั่งไม่รับฎีกาไว้พิจารณา ให้คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดี ค้ามนุษย์เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น

                  ในกรณีที่อัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรอง ในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย ให้ถือว่าเป็นปัญหาสําคัญและให้ศาลฎีกา รับฎีกา

                   มาตรา ๔๖      หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคําร้อง การพิจารณาวินิจฉัยและระยะเวลา ในการพิจารณาคําร้องตามมาตรา ๔๓ การตรวจรับฎีกา การแก้ฎีกา การพิจารณา และการพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

                   มาตรา ๔๗      การพิจารณาและการพิพากษาคดีของศาลฎีกา ให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นฎีกา มาใช้บังคับโดยอนุโลม

บทเฉพาะกาล

—————————————-

                   มาตรา ๔๘ บรรดาคดีค้ามนุษย์ที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลซึ่งคดีนั้นค้างพิจารณาอยู่คงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้นํากฎหมายซึ่งใช้บังคับอยู่ใน วันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาใช้บังคับจนกว่าคดีน้นจะถึงที่สุด

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

        นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่กระทบต่อ สิทธิมนุษยชน เป็นอันตรายต่อเสถียรภาพความมั่นคงทางสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ หากไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน นอกจากจะส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของรัฐแล้ว ยังส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศอีกด้วย ดังนั้น เพื่อให้การป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ดําเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและคดีความที่เกี่ยวข้องทั้งหลายได้รับการพิจารณา พิพากษาอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ขึ้น จึงจําเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino! Immediate Vault Immediate Byte Pro Invest Wave Max Cógaslann ar líne Clonaslee Pharmacy leis na praghsanna is fearr in Éirinn