Hot! อัตราการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่(พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562)

 

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.  ๒๕๖๒

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้  ณ  วนที่  ๙  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒

เป็นปีที่  ๔  ในรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินและกฎหมายว่าด้วย ภาษีบํารุงท้องที่

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระท    าได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เหตุผลและความจําเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้  เพื่อให้การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่ บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้

มาตรา   ๑    พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า     “พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ. ๒๕๖๒”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป เว้นแต่การจัดเก็บภาษีส าหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญั ตินี้ ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่  ๑  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๖๓  เป็นต้นไป

มาตรา   ๓    ให้ยกเลิก

(๑)  พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน  พุทธศักราช  ๒๔๗๕

(๒) พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๕

(๓)  พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน  (ฉบับที่  ๓)  พุทธศักราช  ๒๔๘๕

(๔)  พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน  (ฉบับที่  ๔)  พ.ศ.  ๒๕๓๔

(๕)  พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน  (ฉบับที่  ๕)  พ.ศ.  ๒๕๔๓

(๖)  พระราชบัญญัติภาษีบ ารุงท้องที่  พ.ศ.  ๒๕๐๘

(๗)  ประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  ๑๕๖  ลงวันที่  ๔  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๑๕

(๘)  พระราชบัญญัติภาษีบํารุงท้องที่  (ฉบับที่  ๒)  พ.ศ.  ๒๕๑๖

(๙)  พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีบ ารุงท้องที่  พ.ศ.  ๒๕๐๘  พ.ศ.  ๒๕๒๔

(๑๐)  พระราชก าหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีบ ารุงท้องที่  พ.ศ.  ๒๕๐๘  (ฉบับที่  ๒) พ.ศ.  ๒๕๒๙

(๑๑)  พระราชบัญญัติภาษีบ ารุงท้องที่  (ฉบับที่  ๓)  พ.ศ.  ๒๕๔๓

(๑๒)  พระราชบัญญัติก าหนดราคาปานกลางของที่ดินส าหรับการประเมินภาษีบํารุงท้องที่ พ.ศ.  ๒๕๒๙

มาตรา   ๔    กฎหมายกฎระเบียบและข้อบังคับใดที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่

พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับที่กล่าวถึงหรืออ้างถึงภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือน

และที่ดินหรือภาษีบ ารุงท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบ ารุงท้องที่ ไม่ให้มีความหมายเป็นการกล่าวถึง

หรืออ้างถึงภาษีตามพระราชบัญญัตินี้

กฎหมายใดที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ          ซึ่งได้บัญญัติให้ทรัพย์สิน

ของบุคคลใดได้รับยกเว้นภาษีอากรตามกฎหมายโดยมิได้ระบุถึงภาษีอากรประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ

หรือได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบ ารุง

ท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบ ารุงท้องที่ ไม่ให้มีความหมายเป็นการยกเว้นภาษีตามพระราชบัญญัตินี้

ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับกับการยกเว้นภาษีอากรตามกฎหมายที่ตราขึ้นตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามความตกลง ระหว่างประเทศหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ

มาตรา   ๕    ในพระราชบัญญัตินี้

“ภาษี” หมายความว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

“ผู้เสียภาษี”   หมายความว่า   บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง

หรือเป็นผู้ครอบครองหรือทําประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ  ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้และให้หมายความรวมถึงผู้มีหน้าที่ชำระภาษีแทนผู้เสียภาษี

ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

“ที่ดิน”  หมายความว่า  พื้นดิน  และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้าด้วย

“สิ่งปลูกสร้าง”  หมายความว่า  โรงเรือน  อาคาร  ตึก  หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ หรือที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมและให้หมายความรวมถึงห้องชุดหรือแพที่บุคคลอาจใช้อยู่อาศัยได้หรือที่มีไว้เพื่อหาผลประโยชน์ด้วย

“ห้องชุด”  หมายความว่า  ห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดที่ได้ออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุดแล้ว

“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”  หมายความว่า เทศบาล องค์การบริหารส่วนต าบล  กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา   และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง   แต่ไม่หมายความรวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด

“เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”   หมายความว่า

(๑)  เขตเทศบาล

(๒)  เขตองค์การบริหารส่วนต าบล

(๓)  เขตกรุงเทพมหานคร

(๔)  เขตเมืองพัทยา

(๕)  เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดแต่ไม่หมายความรวมถึง

เขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด

“ผู้บริหารท้องถิ่น”  หมายความว่า

(๑)  นายกเทศมนตรี

(๒)  นายกองค์การบริหารส่วนตําบล

(๓)  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

(๔)  นายกเมืองพัทยา

(๕)  ผู้บริหารท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด แต่ไม่หมายความรวมถึงนายกองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัด

“ข้อบัญญัติท้องถิ่น” หมายความว่า

(๑)  เทศบัญญัติ

(๒)  ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล

(๓) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

(๔)  ข้อบัญญัติเมืองพัทยา

(๕)  ข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนด  แต่ไม่หมายความ

รวมถึงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด

“คณะกรรมการก าหนดราคาประเมินทุนทรัพย์”   หมายความว่า   คณะกรรมการกำหนด

ราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

“คณะอนุกรรมการประจำจังหวัด”   หมายความว่า   คณะอนุกรรมการประจําจังหวัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน

“คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี”   หมายความว่า   คณะกรรมการพิจารณา

อุทธรณ์การประเมินภาษีประจําจังหวัด  หรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีกรุงเทพมหานคร

แล้วแต่กรณี

“พนักงานสํารวจ”  หมายความว่า  ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่สํารวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ที่ผู้เสียภาษีเป็นเจ้าของหรือครอบครองอยู่

“พนักงานประเมิน”   หมายความว่า  ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ประเมินภาษี

“พนักงานเก็บภาษี”   หมายความว่า   ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่รับชําระภาษี   และเร่งรัด

การชําระภาษี

“ปี”  หมายความว่า  ปีปฏิทิน

“รัฐมนตรี”  หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา   ๖    ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้   และให้มีอัานาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ   และประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้  ทั้งนี้  ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของตน กฎกระทรวง  ระเบียบ  และประกาศนั้น  เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

หมวด  ๑ บททั่วไป

มาตรา   ๗   ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอํานาจจัดเก็บภาษีจากที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น  ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

ภาษีที่จัดเก็บได้ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

มาตรา   ๘    ให้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินดังต่อไปนี้ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัตินี้

(๑)  ทรัพย์สินของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐซึ่งใช้ในกิจการของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ หรือในกิจการสาธารณะ ทั้งนี้ โดยมิได้ใช้หาผลประโยชน์

(๒)  ทรัพย์สินที่เป็นที่ทําการขององค์การสหประชาชาติ  ทบวงการช านัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกพันที่ต้องยกเว้นภาษีให้ตามสนธิสัญญาหรือความตกลงอื่นใด

(๓)  ทรัพย์สินที่เป็นที่ทําการสถานทูตหรือสถานกงสุลของต่างประเทศ  ทั้งนี้  ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน

(๔) ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย

(๕)  ทรัพย์สินที่เป็นศาสนสมบัติไม่ว่าของศาสนาใดที่ใช้เฉพาะเพื่อการประกอบศาสนกิจหรือ

กิจการสาธารณะ  หรือทรัพย์สินที่เป็นที่อยู่ของสงฆ์  นักพรต  นักบวช  หรือบาทหลวง  ไม่ว่าในศาสนาใด หรือทรัพย์สินที่เป็นศาลเจ้า ทั้งนี้ เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์

(๖) ทรัพย์สินที่ใช้เป็นสุสานสาธารณะหรือฌาปนสถานสาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน

(๗) ทรัพย์สินที่เป็นของมูลนิธิหรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงการคลังประกาศกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์

(๘) ทรัพย์สินของเอกชนเฉพาะส่วนที่ได้ยินยอมให้ทางราชการจัดให้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์

ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกําหนด

(๙) ทรัพย์ส่วนกลางที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสําหรับเจ้าของร่วมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

(๑๐)  ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

(๑๑)  ที่ดินอันเป็นพื้นที่สาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

(๑๒)  ทรัพย์สินอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

 

มาตรา   ๙   ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในวันที่  ๑  มกราคม ของปีใด เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีสําหรับปีนั้น ตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ การเสียภาษีของผู้เสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นเหตุให้เกิดสิทธิตามกฎหมายอื่น

มาตรา   ๑๐   ในกรณีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองหรือการจดทะเบียนการเช่าในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างใด ให้สํานักงานที่ดินหรือสํานักงานที่ดินสาขาแจ้งการโอนหรือการจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ตามรายการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนด ทั้งนี้ ให้แจ้งเป็นรายเดือนภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป

การแจ้งการโอนหรือการจดทะเบียนการเช่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

มาตรา   ๑๑   ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอํานาจแต่งตั้งพนักงานสํารวจ  พนักงานประเมิน  และพนักงานเก็บภาษีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา   ๑๒   ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมายให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐรับชําระภาษีแทนตามมาตรา  ๕๐ ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นอาจได้รับส่วนลดหรือค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีตามอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง  แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละสามของภาษีที่รับชำระ

มาตรา   ๑๓   การส่งคําสั่งเป็นหนังสือหนังสือแจ้งการประเมินหรือหนังสืออื่นให้เจ้าหน้าที่ส่งให้แก่ผู้เสียภาษีโดยตรง หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ  โดยให้ส่ง  ณ  ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ทําการของบุคคลนั้นในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการของบุคคลนั้น  ถ้าไม่พบผู้เสียภาษี  ณ  ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ทําการของผู้เสียภาษีจะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่  ณ  ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ทําการที่ปรากฏว่าเป็นของผู้เสียภาษีนั้นก็ได้

ถ้าไม่สามารถส่งหนังสือตามวิธีการที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้จะกระทําโดยวิธีปิดหนังสือในที่ที่เห็นได้ง่าย  ณ  ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ทําการของผู้เสียภาษีนั้นหรือลงประกาศแจ้งความในหนังสือพิมพ์ก็ได้

เมื่อได้ดําเนินการตามวรรคสองและเวลาได้ล่วงพ้นไปไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ดําเนินการดังกล่าว ให้ถือว่าผู้เสียภาษีได้รับหนังสือนั้นแล้ว

มาตรา  ๑๔   กำหนดเวลาการชัาระภาษีหรือแจ้งรายการต่าง ๆ หรือกำหนดเวลาการคัดค้านการประเมินภาษีตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้  ถ้าผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าว มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้ให้ยื่นคำร้องขอขยายหรือเลื่อนกําหนดเวลาก่อนกำหนดเวลาสิ้นสุดลง  เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาเห็นเป็นการสมควรจะให้ขยายหรือให้เลื่อน กําหนดเวลาออกไปอีกตามความจําเป็นแก่กรณีก็ได้ กําหนดเวลาต่าง ๆ  ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้  เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เห็นเป็นการสมควรจะขยายหรือเลื่อนกําหนดเวลานั้นออกไปเป็นการทั่วไปตามความจําเป็นแก่กรณีก็ได้

 

หมวด  ๒ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า  “คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมธนารักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  อธิบดีกรมสรรพากร และผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นกรรมการ

ให้ผู้อํานวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังแต่งตั้งข้าราชการของสํานักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นเลขานุการ  และอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแต่งตั้งข้าราชการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา   ๑๖   คณะกรรมการวนิจฉยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่และอ านาจ  ดังต่อไปนี้

(๑)  วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีตามมาตรา  ๒๓  วรรคสาม  และตามที่กระทรวงการคลังหรือกรุงเทพมหานครร้องขอ

(๒)  ให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้กับคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจ าจังหวัดกรุงเทพมหานคร กระทรวงการคลัง  กระทรวงมหาดไทย  หรือ

(๓)  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายก าหนดให้เป็นหน้าที่และอ านาจของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

มาตรา   ๑๗  การประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจ านวนกรรมการทั้งหมด  จึงจะเป็นองค์ประชุม

ในการประชุมคณะกรรมการ  ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา   ๑๘   คําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เป็นที่สุด

และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงคําวินิจฉัยในภายหลังคําวินิจฉัยที่เปลี่ยนแปลงนั้น  ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นต้นไป

มาตรา   ๑๙  ในกรณีที่คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มีคำวินิจฉันคำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้แล้วให้แจ้งคำวินิจฉัย คำปรึกษาหรือคําแนะนําดังกล่าวไปยังผู้ที่ยื่นขอคําวินิจฉัย  คำปรึกษาหรือคำแนะนำนั้น และให้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติต่อไป

มาตรา   ๒๐   คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมอบหมายก็ได้ในการประชุมคณะอนุกรรมการให้นำความในมาตรา   ๑๗  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

หมวด  ๓

คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัด

มาตรา ๒๑ ในแต่ละจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัด ” ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ ปลัดจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ธนารักษ์พื้นที่ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สรรพากรพื้นที่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจ านวนหนึ่งคน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรีจํานวนห้าคน   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนห้าคน  เป็นกรรมการและให้ท้องถิ่นจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ

ในกรณีที่จังหวัดใดมีผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด  ให้ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดนั้นเป็นกรรมการร่วมด้วยจํานวนหนึ่งคนให้นายกเทศมนตรี  นายกองค์การบริหารส่วนตําบล  และผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดเป็นผู้พิจารณาเลือกนายกเทศมนตรี  นายกองค์การบริหารส่วนตําบลหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด

คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดมีหน้าที่และอํานาจพิจารณาให้ความเห็นชอบอัตราภาษีตามร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรา ๓๗ วรรคเจ็ดให้ความเห็นชอบการลดภาษีหรือยกเว้นภาษีของผู้บริหารท้องถิ่นตามมาตรา  ๕๖  หรือมาตรา  ๕๗ และให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่ผู้บริหารท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด รวมทั้งปฏิบัติการอื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้   คําว่า   “ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด” ให้หมายความรวมถึงนายกเมืองพัทยาด้วย

มาตรา   ๒๒   การประชุมคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัด  ให้นําความในมาตรา   ๑๗   มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา   ๒๓   เมื่อคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดได้ให้คําปรึกษาหรือคําแนะน าแก่ผู้บริหารท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดแล้วให้ส่งคําปรึกษาหรือคําแนะนําดังกล่าวไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาต่อไป

ในกรณีที่กระทรวงมหาดไทยเห็นด้วยกับคําปรึกษาหรือคําแนะนําของคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดตามวรรคหนึ่ง  ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคําปรึกษาหรือคําแนะนํา  พร้อมทั้งส่งให้คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดอื่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งทราบและถือปฏิบัติต่อไป

ในกรณีที่กระทรวงมหาดไทยไม่เห็นด้วยกับคําปรึกษาหรือคําแนะนําของคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดตามวรรคหนึ่ง   ให้กระทรวงมหาดไทยส่งเรื่องพร้อมกับความเห็นไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําปรึกษาหรือคําแนะนําดังกล่าว

การแจ้งและการส่งเรื่องตามมาตรานี้  ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนด

มาตรา   ๒๔   ในแต่ละปี  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยกเว้นกรุงเทพมหานครจัดส่งข้อมูล

เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีจํานวนภาษีที่จัดเก็บได้มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นฐานในการคํานวณภาษีให้แก่คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัด

ให้คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดรวบรวมข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งและจัดส่งให้แก่กระทรวงมหาดไทย

ให้กรุงเทพมหานครจัดส่งข้อมูลตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งให้แก่กระทรวงมหาดไทยโดยตรง ให้กระทรวงมหาดไทยประมวลผลข้อมูลที่ไดรับตามวรรคสองและวรรคสาม และให้จัดส่งข้อมูล

ที่มีการประมวลผลแล้วให้แก่กระทรวงการคลังและคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การรวบรวมและการจัดส่งข้อมูลตามมาตรานี้    ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนด

มาตรา   ๒๕   ในการจัดส่งข้อมูลให้แก่กระทรวงมหาดไทยตามมาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการ

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดและกรุงเทพมหานคร   รายงานสภาพปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี พร้อมกับเสนอแนวทางการแก้ไขด้วย

 

หมวด  ๔

การสํารวจและจัดทําบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

มาตรา ๒๖ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจัดให้มี การสํารวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวดนี้

มาตรา    ๒๗    ก่อนที่จะดําเนินการสํารวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  ให้ผู้บริหารท้องถิ่นประกาศ ก าหนดระยะเวลาที่จะท าการส ารวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  และแต่งตั้งพนักงานส ารวจเพื่อปฏิบัติการ ดังกล่าว  โดยปิดประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน  ณ  ส านักงานหรือที่ท าการขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นหรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควรภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

มาตรา   ๒๘   ให้พนักงานสํารวจมีหน้าที่และอํานาจสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวกับประเภทจํานวน ขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและรายละเอียดอื่นที่จําเป็นแก่การประเมินภาษีในการปฏิบัติหน้าที่  พนักงานสํารวจต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องบัตรประจําตัวตามวรรคสอง   ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด

มาตรา  ๒๙  ในการสํารวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  ให้พนักงานสํารวจมีอํานาจเข้าไปในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างหรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการได้ และมีอํานาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างจากผู้เสียภาษี ทั้งนี้  ให้ผู้เสียภาษีหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอํานวยความสะดวกตามสมควร

ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง  พนักงานสํารวจอาจขอให้ผู้เสียภาษีชี้เขตที่ดินหรือให้รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างได้ ในกรณีที่ผู้เสียภาษีไม่ส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง

ตามวรรคหนึ่งให้แก่พนักงานสํารวจ ให้พนักงานส ารวจรายงานให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบเพื่อมีหนังสือเรียกเอกสารหรือหลักฐานดังกล่าวต่อไป

มาตรา   ๓๐   เมื่อพนักงานสํารวจได้ดําเนินการสํารวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว   ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทําบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

โดยต้องแสดงประเภทจํานวน  ขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและรายละเอียดอื่นที่จําเป็นแก่การประเมินภาษีตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนด  และให้ประกาศบัญชีดังกล่าว  ณ  สํานักงานหรือที่ทําการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หรือสถานที่อื่นด้วยตามที่เห็นสมควร  ภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน   พร้อมทั้งให้จัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียภาษีแต่ละรายตามประกาศบัญชีดังกล่าวให้ผู้เสียภาษีรายนั้นทราบด้วย

มาตรา   ๓๑   ในกรณีที่ปรากฏว่าบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จัดทําขึ้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอ านาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้

มาตรา   ๓๒   ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเห็นว่าบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จัดทําขึ้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงให้ผู้เสียภาษียื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้องได้

เมื่อได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีคําสั่งให้พนักงานสารวจดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้งหนึ่งโดยเร็วในกรณีต้องแก้ไขบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้ผู้บริหารท้องถิ่นดําเนินการแก้ไขบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ถูกต้อง

ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแจ้งผลการด าเนินการตามวรรคสองให้ผู้เสียภาษีทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้องจากผู้เสียภาษี

มาตรา   ๓๓   ในกรณีที่การใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าด้วยเหตุใด อันมีผลท าให้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นหรือลดลง ให้ผู้เสียภาษีแจ้ง

การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือวันที่ผู้เสียภาษีรู้ถึงเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนด

มาตรา   ๓๔   การแจ้งประกาศก าหนดระยะเวลาที่จะท าการส ารวจตามมาตรา  ๒๗  การจัดส่งข้อมูลของผู้เสียภาษีแต่ละรายตามประกาศบัญชีตามมาตรา   ๓๐  การแจ้งผลการดําเนินการ

ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามมาตรา  ๓๒  และการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือ

สิ่งปลูกสร้างตามมาตรา ๓๓ อาจดําเนินการโดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรอด้วยวิธการอื่นใดได้ ทั้งนี้

ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนด

 

หมวด  ๕

ฐานภาษีอัตราภาษีและการคํานวณภาษี

มาตรา   ๓๕   ฐานภาษีเพื่อการค านวณภาษีตามพระราชบัญญัตินี้  ได้แก่  มูลค่าทั้งหมด ของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง

การค านวณมูลค่าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) ที่ดิน ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ

(๒) สิ่งปลูกสร้าง ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้างเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ

(๓) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ กรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์  การคํานวณมูลค่าให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวงราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน  สิ่งปลูกสร้าง  หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด  ให้เป็นไปตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่คณะอนุกรรมการประจําจังหวัดกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์

มาตรา   ๓๖   ให้กรมธนารักษ์หรือสํานักงานธนารักษ์พื้นที่แล้วแต่กรณี ส่งบัญชีกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน   สิ่งปลูกสร้าง   หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุดตามมาตรา   ๓๕   ให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งที่ดิน   สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุดนั้นตั้งอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดประกาศใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์

มาตรา   ๓๗  ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างให้จัดเก็บภาษีตามอัตราดังต่อไปนี้

(๑)  ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละศูนย์จุดหนึ่งห้าของฐานภาษี

(๒)  ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละศูนย์จุดสามของฐานภาษี

(๓)  ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก  (๑)  หรือ  (๒)  ให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละหนึ่งจุดสองของฐานภาษี

(๔) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ ให้มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละหนึ่งจุดสองของฐานภาษี

การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมตาม (๑) ต้องเป็นการทํานา ทำไร่  ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ  และกิจการอื่นตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกําหนด  ทั้งนี้ในการจัดทําประกาศดังกล่าวให้นําความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาประกอบการพิจารณาด้วย

การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม  (๒)  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด

ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทําประโยชน์ตามควรแก่สภาพตาม  (๔)ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง

อัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บตามวรรคหนึ่งให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยจะกำหนดเป็นอัตราเดียวหรือหลายอัตราแยกตามูลค่าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างก็ได้  ทั้งนี้  ต้องไม่เกินอัตราภาษีที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง และจะกําหนดแยกตามประเภทการใช้ประโยชน์หรือตามเงื่อนไขในแต่ละประเภทการใช้ประโยชน์ก็ได้

ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีความประสงค์ที่จะจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตามวรรคห้า ให้มีอํานาจตราข้อบัญญัติท้องถิ่นกําหนดอัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง

ในการตราข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคหก ยกเว้นกรุงเทพมหานครก่อนการลงนามใช้บังคับข้อบัญญัติท้องถิ่นตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ให้ผู้บริหารท้องถิ่นเสนออัตราภาษีตามร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นให้คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัดให้ความเห็นชอบก่อน  เมื่อคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดเห็นชอบกับอัตราภาษีตามร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าวแล้วให้ผู้บริหารท้องถิ่นลงนามใช้บังคับข้อบัญญัติท้องถิ่นต่อไปได้

ในกรณีที่คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจําจังหวัดไม่เห็นชอบกับอัตราภาษี ตามร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าว ให้ส่งความเห็นเกี่ยวกับอัตราภาษีคืนผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อเสนอ สภาท้องถิ่นด าเนินการแก้ไขอัตราภาษีตามความเห็นของคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจํา จังหวัด  หรือพิจารณายืนยันด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับความเห็นเกี่ยวกับอัตราภาษีคืนจากคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด หากสภาท้องถิ่นดำเนินการแก้ไขไม่แล้วเสร็จหรือสภาท้องถิ่นพิจารณายืนยันด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่า สองในสามของจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ให้ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นตกไป

มาตรา   ๓๘   ในกรณีที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างใดมีการใช้ประโยชน์หลายประเภทให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีตามสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด

มาตรา   ๓๙  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  อัตราภาษีที่จัดเก็บและรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษีในแต่ละปี  ณ  สำนักงานหรือที่ทําการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่  ๑  กุมภาพันธ์ของปีนั้น  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา   ๔๐   ในกรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมอยู่ภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นรวมกันในการคำนวณภาษีไม่เกินห้าสิบล้านบาท

การยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด

มาตรา   ๔๑   ในกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในวันที่   ๑  มกราคมของปีภาษีนั้นให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณภาษีไม่เกินห้าสิบล้านบาท

ในกรณีที่บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน และใช้สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในวันที่ ๑ มกราคมของปีภาษีนั้น ให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในการค านวณภาษีไม่เกินสิบล้านบาท

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อคํานวณการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง

มิให้นําความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองมาใช้บังคับกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในวันที่  ๑  มกราคมของปีภาษีนั้น  ซึ่งต้องย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านดังกล่าว เพราะเหตุจำเป็นทางราชการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด  โดยให้ถือเอาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างก่อนการย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบยนราษฎร    เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในการคํานวณภาษีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง

มาตรา   ๔๒   การคํานวณภาษีให้ใช้ฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งคํานวณได้ตามมาตรา  ๓๕  หักด้วยมูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา  ๔๐ หรือมาตรา  ๔๑  แล้วคูณด้วยอัตราภาษีตามมาตรา  ๓๗  ตามสัดส่วนที่กําหนดในมาตรา  ๓๘ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจํานวนภาษีที่ต้องเสีย

เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจํานวนภาษีตามวรรคหนึ่ง กรณีที่ดินหลายแปลงซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันและเป็นของเจ้าของเดียวกันให้คํานวณมูลค่าที่ดินทั้งหมดรวมกันเป็นฐานภาษี

มาตรา   ๔๓   ในกรณีที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษีเป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ท าประโยชน์ตามควรแก่สภาพเป็นเวลาสามปีติดต่อกัน  ให้เรียกเก็บภาษีสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างในปีที่สี่  เพิ่มขึ้นจากอัตราภาษีที่จัดเก็บตามมาตรา  ๓๗  (๔)  ในอัตราร้อยละศูนย์จุดสามและหากยังทิ้งไว้ว่างเปล่าหรอไม่ได้ทําประโยชน์ตามควรแก่สภาพอีกเป็นเวลาติดต่อกัน ให้เพิ่มอัตราภาษีอีกร้อยละศูนย์จุดสามในทุกสามปี   แต่อัตราภาษีที่เสียรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินร้อยละสาม

หมวด ๖

การประเมินภาษีการชําระภาษีและการคนภาษี

มาตรา   ๔๔   ในแต่ละปีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งการประเมินภาษี   โดยส่ง แบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีตามมาตรา  ๙  ภายในเดือนกุมภาพันธ์

การแจ้งการประเมินภาษีและแบบประเมินภาษี ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศกําหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมินทุนทรัพย์ อัตราภาษี และจำนวนภาษีที่ต้องชำระ

มาตรา   ๔๕   ในการประเมินภาษี   ให้พนักงานประเมินมีอ านาจเรียกผู้เสียภาษีหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยค า หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดมาเพื่อตรวจสอบภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะต้องมีหนังสือแจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

มาตรา   ๔๖   ให้ผู้เสียภาษีช าระภาษีตามแบบแจ้งการประเมินภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี

มาตรา   ๔๗  ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีหน้าที่ชําระภาษีแทนผู้เสียภาษี

(๑) ผู้จัดการมรดกหรือทายาท ในกรณีที่ผู้เสียภาษีถึงแก่ความตาย

(๒)  ผู้จัดการทรัพย์สิน  ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้ไม่อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสาบสูญ

(๓)  ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ แล้วแต่กรณี

(๔) ผู้แทนของนิติบุคคล ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นนิติบุคคล

(๕) ผู้ชำระบัญชี ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นนิติบุคคลเลิกกันโดยมีการช าระบัญชี

(๖) เจ้าของรวมคนหนึ่งคนใด ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน

มาตรา   ๔๘   ในกรณีที่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นเป็นของต่างเจ้าของกันให้ถือว่าเจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเป็นผู้เสียภาษี  ส าหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ตนเป็นเจ้าของ

มาตรา   ๔๙  ให้ผู้เสียภาษีชําระภาษีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามจำนวนภาษีที่ได้มีการแจ้งประเมิน  ณ  สถานที่  ดังต่อไปนี้

(๑)  สํานักงานเทศบาล  สําหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตเทศบาล

(๒)  ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบล  สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

(๓)  สำนักงานเขตที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่  สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

(๔)  ศาลาว่าการเมืองพัทยา สําหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตเมืองพัทยา

(๕)  ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด  สําหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

ในกรณีที่มีความจำเป็น ผู้บริหารท้องถิ่นอาจกำหนดให้ใช้สถานที่อื่นภายในเขตองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นสถานที่สำหรับชำระภาษีตามวรรคหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร

การชํระภาษีตามวรรคหนึ่ง  ให้ถือว่าวันที่พนักงานเก็บภาษีลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน เป็นวันที่ชําระภาษี

มาตรา   ๕๐   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมอบหมายให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐรับชำระภาษีแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้

การชำระภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าวันที่เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงินเป็นวันที่ชำระภาษี

มาตรา   ๕๑   เพื่อเป็นการอ านวยความสะดวกสำหรับการชำระภาษี  ผู้เสียภาษีอาจชำระภาษีโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ  หรือโดยการชําระผ่านธนาคารหรือโดยวิธีการอื่นใด  ทั้งนี้การชําระผ่านธนาคารหรือโดยวิธีการอื่นใดนั้น ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนด

กรณีชําระภาษีทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ   ให้ผู้เสียภาษีชำระภาษีตามที่ได้รับแจ้งการประเมิน โดยส่งธนาณัติตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ เช็คธนาคารหรือเช็คที่ธนาคารรับรอง สั่งจ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ และให้ถือว่าวันที่หน่วยงานให้บริการไปรษณีย์ประทับตราลงทะเบียนเป็นวันที่ชำระภาษี

กรณีชำระโดยผ่านทางธนาคารหรือวิธีการอื่นใด ให้ผู้เสียภาษีชำระภาษีตามที่ได้รับแจ้งการประเมินต่อธนาคารหรือโดยวิธีการตามที่กําหนด  และให้ถือว่าวันที่ธนาคารได้รับเงินค่าภาษีหรือวันที่มีการชำระเงินค่าภาษีโดยวิธีการที่กำหนดเป็นวันที่ชำระภาษี

มาตรา   ๕๒   ในการชำระภาษีตามพระราชบัญญัตินี้  ผู้เสียภาษีอาจขอผ่อนชำระเป็นงวดงวดละเท่า  ๆ  กันก็ได้จำนวนงวดและจำนวนเงินภาษีขั้นต่ำที่จะมีสิทธิผ่อนชำระ  รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการใน

การผ่อนชำระให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในกรณีที่ผู้เสียภาษีตามวรรคหนึ่งไม่ชำระภาษีตามระยะเวลาที่กำหนดในการผ่อนชำระให้ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระ   และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ค้างชําระเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

มาตรา   ๕๓   ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่ามีการประเมินภาษีผิดพลาดหรือ ไม่ครบถ้วน  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจทบทวนการประเมินภาษีให้ถูกต้องตามที่ผู้เสียภาษี มีหน้าที่ต้องเสียได้  ทั้งนี้  ให้นำความในมาตรา  ๔๔  วรรคสอง และมาตรา  ๔๕  มาใช้บังคับโดยอนุโลม การทบทวนการประเมินภาษีตามวรรคหนึ่ง   จะกระทำมิได้   เมื่อพ้นสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาการช าระภาษีตามพระราชบัญญัตินี้

ในกรณีที่ต้องมีการชำระภาษีเพิ่มเติม   ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งการประเมินภาษีตามวรรคหนึ่ง   และส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี   และให้ผู้เสียภาษีชำระภาษีที่ต้องเสียเพิ่มเติมโดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

ในกรณีที่มีการชำระภาษีไว้เกินจำนวนที่จะต้องเสีย  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตรวจสอบพบว่ามีการประเมินภาษีผิดพลาดเพื่อให้มารับเงินที่ชำระเกินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง

มาตรา   ๕๔   ผู้ใดเสียภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียภาษีเกินกว่าจำนวนที่ต้องเสียไม่ว่าโดยความผิดพลาดของตนเองหรือจากการประเมินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินคืน

การขอรับเงินคืนตามวรรคหนึ่งให้ยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนด  ภายในสามปีนับแต่วันที่ชําระภาษีในการนี้  ให้ผู้ยื่นคำร้องส่งเอกสารหลักฐาน  หรือคำชี้แจงใด ๆ  ประกอบคำร้องด้วย

ให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาคำร้องให้เสร็จสิ้นและแจ้งผลการพิจารณาคำร้องให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง  ทั้งนี้  ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิได้รับเงินคืน ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีค าสั่งคืนเงินให้แก่ผู้ยื่นคำร้อง โดยต้องแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่ง

ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเมินภาษี ผิดพลาดให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอรบคืนเงินจนถึงวันที่คืนเงิน แต่ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ได้รับคืน

ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่มารับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง  ให้เงินนั้นตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

หมวด  ๗ การลดและการยกเวนภาษี

มาตรา ๕๕ การลดภาษีสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับ สภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ  สังคม  เหตุการณ์  กิจการ  หรือสภาพแห่งท้องที่  ให้กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา  แต่ต้องไม่เกินร้อยละเก้าสิบของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย

มาตรา ๕๖ ในกรณีที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับ ความเสียหายมากหรือถูกทำลายให้เสื่อมสภาพด้วยเหตุอันพ้นวสัยที่จะป้องกันได้โดยทั่วไป ให้ผู้บริหารท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  มีอำนาจประกาศลดหรือยกเว้นภาษีภายในเขตพื้นที่ที่เกิดเหตุนั้นในช่วงระยะเวลาใดช่วงระยะเวลาหนึ่งได้  ทั้งนี้  ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด

มาตรา   ๕๗  ในกรณี ที่มีเหตุอันทําให้ที่ดินได้รับความเสียหายหรือทําให้สิ่งปลูกสร้างถูกรื้อถอนหรือทำลาย   หรือชำรุดเสียหายจนเป็นเหตุให้ต้องทำการซ่อมแซมในส่วนสำคัญให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิยื่นคำขอลดหรือยกเว้นภาษีที่จะต้องเสียต่อผู้บริหารท้องถิ่นได้ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด

เมื่อมีการยื่นคำขอลดหรือยกเว้นภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง  หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่เชื่อได้ว่ามีเหตุอันสมควรลดหรือยกเว้นภาษีให้แก่ผู้ยื่นคำขอให้ผู้บริหารท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด  หรือ

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจออกคำสั่งลดหรือยกเว้นภาษีได้ ทั้งนี้  โดยคำนึงถึงสัดส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นและระยะเวลาที่ไม่ได้รับประโยชน์จากที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น

 

หมวด  ๘ ภาษีค้างชำระ

มาตรา   ๕๘   ภาษีที่มิได้ชำระภายในเวลาที่กำหนดให้ถือเป็นภาษีค้างชำระ

มาตรา   ๕๙  การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้  เมื่อปรากฏหลักฐานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรา  ๖๐  ว่ามีภาษีค้างชำระสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น  เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา  ๖๗

มาตรา ๖๐ ภายในเดือนมิถุนายนของปี ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งรายการภาษี ค้างชำระให้สำนักงานที่ดินหรือสํานักงานที่ดินสาขา  ซึ่งที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในเขตท้องที่ของ สํานักงานที่ดินหรือสำนักงานที่ดินสาขานั้นทราบ  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ต่อไป เว้นแต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานที่ดินหรือสำนักงานที่ดินสาขาจะตกลงกำหนดเวลาเป็นอย่างอื่น

มาตรา   ๖๑   เพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดภาษีค้างชำระ  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่มีภาษีค้างชำระภายในเดือนพฤษภาคมของปี เพื่อให้มาชำระภาษีค้างชําระพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามที่กำหนดในหมวด  ๙

มาตรา   ๖๒   ถ้าผู้เสียภาษีมิได้ชำระภาษีค้างชำระ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งเตือนตามมาตรา   ๖๑   เมื่อพ้นเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนดังกล่าวแล้วให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอํานาจออกคำสั่งเป็นหนังสือยึด  อายัด  และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีเพื่อนำเงินมาชำระภาษีค้างชำระ  เบี้ยปรับ  เงินเพิ่ม  และค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการยึด  อายัด  และขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นได้  แต่ห้ามมิให้ยึด  อายัด  และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีเกินกว่าความจําเป็นที่พอจะช าระภาษีค้างช าระ  เบี้ยปรับ  เงินเพิ่ม  และค่าใช้จ่ายดังกล่าว

การออกคำสั่งเป็นหนังสือยึด   อายัด   และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้บริหารท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง  ในกรณีที่เป็นนายกเทศมนตรี  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  และนายกเมืองพัทยาต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด

วิธีการยึด  อายัด  และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีตามวรรคหนึ่ง  ให้นำวิธีการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้  การยึด  อายัด  และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีไม่ให้หมายความรวมถึงการยึด อายัด  และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้มีหน้าที่ชำระภาษีแทนตามมาตรา  ๔๗

มาตรา   ๖๓   เพื่อประโยชน์ในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามมาตรา ๖๒ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจ

(๑)  เรียกผู้เสียภาษีมาให้ถ้อยคำ

(๒)  สั่งให้ผู้เสียภาษีนำบัญชี  เอกสาร  หรือหลักฐานอื่นอันจ าเป็นแก่การจัดเก็บภาษีค้างชำระมาตรวจสอบ

(๓)  ออกค าสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ ค้น หรือยึดบัญชี  เอกสารหรือ หลักฐานอื่นของผู้เสียภาษี

(๔) เข้าไปในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างหรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น  ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้น เท่าที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีการดำเนินการตาม  (๑)  หรือ  (๒)  ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเรียกหรือคำสั่ง  และการออกคำสั่งและทำการตาม   (๓)  หรือ  (๔) ต้องเป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด

มาตรา   ๖๔   ในกรณีที่มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีไว้แล้ว ถ้าผู้เสียภาษีได้น าเงินมาชำระค่าภาษีค้างชำระ  เบี้ยปรับ  เงินเพิ่ม  และค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สินโดยครบถ้วนก่อนการขายทอดตลาด ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีคำสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น และดำเนินการแจ้งการถอนการยึดหรืออายัดไปยังเจ้าพนักงานผู้ยึดหรืออายัดให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ชำระค่าภาษีที่ค้างชำระ  เบี้ยปรับ  เงินเพิ่ม  และค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สินครบถ้วนแล้ว

มาตรา   ๖๕   การขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีตามมาตรา   ๖๒  จะกระทำมิได้ในระหว่างระยะเวลาที่ให้คัดค้านหรืออุทธรณ์ตามมาตรา  ๗๓  หรือให้ฟ้องเป็นคดีต่อศาลตามมาตรา  ๘๒ และตลอดเวลาที่การพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านหรืออุทธรณ์ดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด

มาตรา   ๖๖   เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามมาตรา ๖๒ ให้หักไว้เป็นค่าภาษีค้างชำระเบี้ยปรับ  เงินเพิ่ม  และค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการยึด  อายัด   และขายทอดตลาด  ทรัพย์สินนั้นเหลือเท่าใดให้คืนแก่ผู้เสียภาษี

มาตรา   ๖๗  ในกรณีที่เป็นการขายทอดตลาดที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างใดตามคำพิพากษาก่อนทำการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้แจ้งรายการภาษีค้างชำระสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับคดี  และเมื่อทำการขายทอดตลาดแล้ว  ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้รับจากการขายทอดตลาดไว้เท่ากับจำนวนค่าภาษีค้างชำระ  และนำส่งเงินดังกล่าวให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีที่ค้างชำระดังกล่าว

 

หมวด  ๙ เบี้ยปรบและเงินเพิ่ม

มาตรา    ๖๘    ในกรณีที่ผู้เสียภาษีมิได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด  ให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ สี่สิบของจำนวนภาษีค้างชำระ เว้นแต่ผู้เสียภาษีได้ช าระภาษีก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือนตามมาตรา  ๖๑ ให้เสียเบี้ยปรับร้อยละสิบของจ านวนภาษีค้างชำระ

มาตรา   ๖๙   ในกรณีที่ผู้เสียภาษีมิได้ช าระภาษีภายในเวลาที่กำหนด  แต่ต่อมาได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งเตือนตามมาตรา  ๖๑  ให้เสียเบี้ยปรับร้อยละยี่สิบของจำนวนภาษีค้างชำระ

มาตรา    ๗๐    ผู้เสียภาษีผู้ใดมิได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด  ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ หนึ่งต่อเดือนของจำนวนภาษีค้างชำระเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน  ทั้งนี้  มิให้นำเบี้ยปรับมารวม คำนวณเพื่อเสียเงินเพิ่มด้วย

ในกรณีผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษี และได้มีการชำระภาษีภายใน กำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น  เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละศูนย์จุดห้าต่อเดือนหรือ เศษของเดือน

เงินเพิ่มตามมาตรานี้   ให้เริ่มนับเมื่อพ้นก าหนดเวลาช าระภาษีจนถึงวันที่มีการช าระภาษี แต่มิให้เกินกว่าจ านวนภาษีที่ต้องช าระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ  และมิให้คิดทบต้น

มาตรา๗๑เบี้ยปรับอาจงดหรือลดลงได้ตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา๗๒เบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามหมวดนี้ให้ถือเป็นภาษี

 

หมวด   ๑๐

การคัดค้านและการอุทธรณ์การประเมินภาษี

มาตรา ๗๓ ผู้เสียภาษีผู้ใดได้รับแจ้งการประเมินภาษีตามมาตรา ๔๔ หรือมาตรา ๕๓ หรือการเรียกเก็บภาษีตามมาตรา ๖๑ แล้วเห็นว่า การประเมินภาษีหรือการเรียกเก็บภาษีนั้นไม่ถูกต้อง ให้มีสิทธิคัดค้านและขอให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาทบทวนการประเมินหรือการเรียกเก็บภาษีได้ โดยให้ยื่นคําร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษีหรือการเรียกเก็บภาษี  แล้วแต่กรณี

ผู้บริหารท้องถิ่นต้องพิจารณาคำร้องของผู้เสียภาษีตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องดังกล่าว  และแจ้งค าสั่งพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้เสียภาษีโดยไม่ชักช้า กรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาคำร้องของผู้เสียภาษีไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่า ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นชอบกับคำร้องของผู้เสียภาษี

ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาเห็นชอบกับค าร้องของผู้เสียภาษี  ให้แจ้งจำนวนภาษีที่จะต้องเสียเป็นหนังสือไปยังผู้เสียภาษี   และให้ผู้เสียภาษีมารับชำระภาษีคืนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าว

ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาไม่เห็นชอบกับคำร้องของผู้เสียภาษี  ให้ผู้เสียภาษีนั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี  โดยยื่นอุทธรณ์ต่อผู้บริหารท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และให้ผู้บริหารท้องถิ่นส่งคำอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําอุทธรณ์ดังกล่าว

การคัดค้านและการอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการชำระภาษี  เว้นแต่ผู้เสียภาษีจะได้ยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นขอให้ทุเลาการชำระภาษีไว้ก่อน  และผู้บริหารท้องถิ่นมีคำสั่งให้ทุเลาการชำระภาษีแล้ว

ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีคำสั่งให้ทุเลาการช าระภาษีเฉพาะส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนภาษีที่ต้องเสียในปีก่อนและจะสั่งให้วางประกันตามที่เห็นสมควรก็ได้

ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นได้สั่งให้ทุเลาการชำระภาษีตามวรรคห้าไว้แล้ว ถ้าต่อมาปรากฏว่าผู้เสียภาษีได้กระทำการใด ๆ เพื่อประวิงการชำระภาษี  หรือจะกระทำการโอน  ขาย จำหน่าย  หรือยักย้ายทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อให้พ้นอำนาจการยึดหรืออายัด  ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งให้ทุเลาการชำระภาษีนั้นได้

มาตรา   ๗๔  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง   เรียกว่า   “คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีประจำจังหวัด” ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ธนารักษ์พื้นที่ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สรรพากรพื้นที่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจํานวนหนึ่งคน ผู้แทนของผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจำนวนไม่เกินสองคน   เป็นกรรมการโดยตําแหน่งและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่งแต่งตั้งอีกจำนวนไม่เกินสองคน เป็นกรรมการ

ให้ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเป็นผู้พิจารณาร่วมกันเลือกผู้แทนของผู้บริหารท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง  ทั้งนี้  ตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด

ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการสังกัดสํานักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา   ๗๕  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง   เรียกว่า   “คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินภาษีกรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย   ปลัดกระทรวงมหาดไทย   เป็นประธานกรรมการอธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมธนารักษ์  อธิบดีกรมโยธาธกิจการและผังเมือง  อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอธิบดีกรมสรรพากร  ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  ปลัดกรุงเทพมหานคร  เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง  และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานกรรมการและกรรมการโดยตำแหน่งแต่งตั้งอีกจำนวนไม่เกินสองคนเป็นกรรมการ

ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ

เบี้ยประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีกรุงเทพมหานคร  ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร

มาตรา   ๗๖  ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๗๔  และมาตรา  ๗๕  มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี

เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น  อยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้

มาตรา   ๗๗  นอกจากการพ้นจากต าแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๗๔ และมาตรา  ๗๕  พ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑)  ตาย

(๒)  ลาออก

(๓)   เป็นบุคคลล้มละลาย

(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๕) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

(๖)   คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีมีคำสั่งให้ออกเนื่องจากมีเหตุบกพร่องอย่างยิ่งต่อหน้าที่หรือมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินภาษีแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทน และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

มาตรา   ๗๘  การประชุมคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีให้นำความในมาตรา   ๑๗   มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา   ๗๙  ในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องใดจะเข้าร่วมพิจารณาหรือร่วมวินิจฉัยลงมติในเรื่องนั้นมิได้

มาตรา   ๘๐   เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีมีอำนาจออกหนังสือเรียกผู้อุทธรณ์หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง   มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดมาแสดงได้ โดยให้เวลาแก่บุคคลดังกล่าวไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเรียก

ผู้อุทธรณ์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกตามวรรคหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีจะยกอุทธรณ์นั้นเสียก็ได้

มาตรา   ๘๑   คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ ยกอุทธรณ์  เพิกถอนหรือแก้ไขการประเมินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หรือให้ผู้อุทธรณ์ได้รับการลดหรือยกเว้นภาษีหรือได้คืนภาษี

ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งค าอุทธรณ์จากผู้บริหารท้องถิ่นตามมาตรา  ๗๓ วรรคสี่ และต้องแจ้งค าวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พิจารณาเสร็จ  ทั้งนี้จะวินิจฉัยให้เรียกเก็บภาษีเกินกวาจ านวนภาษีที่ท าการประเมินไม่ได้  เว้นแต่จะได้มีการประเมินภาษีใหม่

ในกรณีที่มีเหตุจ าเป็น  คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี  อาจขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปอีกได้  แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบก าหนดระยะเวลาตามวรรคสองและให้มีหนังสือแจ้งระยะเวลาที่ขยายออกไปพร้อมกับวันครบก าหนดระยะเวลาให้ผู้อุทธรณ์ทราบด้วย

ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่แล้วเสร็จภายใน

ระยะเวลาที่ก าหนดตามวรรคสองหรอวรรคสาม  ให้ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องเป็นคดีต่อศาลไดโดยไม่ต้องรอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี  แต่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่พ้นก าหนดระยะเวลาดังกล่าว

ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี มีคำวินิจฉัยให้คืนเงินแก่ผู้อุทธรณ์ ให้แจ้งคำวินิจฉัยไปยังผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อให้มีคำสั่งคืนเงินและแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งคืนเงิน

ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี สั่งผู้บริหารท้องถิ่นให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น  นับแต่วันที่ชำระภาษีถึงวันที่มีค ำวินิจฉัยให้คืนเงินแต่ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ได้รับคืน

ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่มารับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้เงินนั้นตกเป็นขององค์กรส่วนท้องถิ่น

มาตรา   ๘๒   ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะก รรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษี โดยฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์

 

หมวด  ๑๑ บทก าหนดโทษ

มาตรา   ๘๓   ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานส ารวจตามมาตรา ๒๘ หรือมาตรา ๒๙หรือของผู้บริหารท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายตามมาตรา  ๖๓  (๓)  หรือ  (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน  หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา   ๘๔   ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของผู้บริหารท้องถิ่น  ตามมาตรา  ๒๙  หรือของพนักงานประเมินตามมาตรา   ๔๕  หรือหนังสือเรียกหรือคำสั่งของผู้บริหารท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายตามมาตรา  ๖๓  (๑)  หรือ  (๒)  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

มาตรา   ๘๕   ผู้ใดไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตามที่กําหนดไว้ในมาตรา  ๓๓  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา   ๘๖   ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหารท้องถิ่นตามมาตรา  ๖๒ หรือทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ผู้บริหารท้องถิ่นมีคําสั่งให้ยึดหรืออายัด  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี  หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา   ๘๗  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีตามมาตรา  ๘๐  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับผู้อุทธรณ์

มาตรา   ๘๘   ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือนําพยานหลักฐานอันเป็นเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี  หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา   ๘๙   ในกรณีที่ผู้กระท าความผิดเป็นนิติบุคคล  ถ้าการกระท าความผิดของนิติบุคคลนั้น

เกิดจากการสั่งการหรือการกระท าของกรรมการ  หรือผู้จัดการ  หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบใน

การดำนินงานของนิติบุคคลนั้น  หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้

สําหรับความผิดนั้น ๆ  ด้วย

มาตรา   ๙๐   ความผิดตามมาตรา  ๘๓  มาตรา  ๘๔  มาตรา  ๘๕  หรือมาตรา  ๘๗ให้ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้

เมื่อผู้กระทำผิดได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวัน  ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ถ้าผู้กระทำผิดไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ  หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ช าระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด  ให้ดำเนินคดีต่อไป

เงินค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้ตกเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นบทเฉพาะกาล

มาตรา   ๙๑    บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน  กฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ และกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาปานกลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบ ารุงท้องที่ ซึ่งถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไป ในการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและ ภาษีบํารุงท้องที่ ที่ต้องเสียหรือที่พึงชำระหรือที่ค้างอยู่หรือที่ต้องคืนก่อนวันที่  ๑  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๖๓

มาตรา   ๙๒  ให้กรมที่ดินจัดส่งข้อมูลรูปแปลงที่ดินและข้อมูลเอกสารสิทธิของที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆเพื่อใช้ในการเตรียมการจัดเก็บภาษีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

การจัดส่งข้อมูลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

มาตรา ๙๓ มิให้น าความในมาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การขายทอดตลาด ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้มีการประกาศขายทอดตลาดที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไว้ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา   ๙๔  ในสองปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้อัตราภาษีตามมูลค่าของฐานภาษีดังต่อไปนี้

(๑) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม

(ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์หนึ่ง

(ข) มูลค่าของฐานภาษีเกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สาม

(ค) มูลค่าของฐานภาษีเกินหนึ่งร้อยล้านบาท แต่ไม่เกินห้าร้อยล้านบาท  ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์ห้า

(ง) มูลค่าของฐานภาษีเกินห้าร้อยล้านบาทแต่ไม่เกินหนึ่งพันล้านบาทให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์เจ็ด

(จ) มูลค่าของฐานภาษีเกินหนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหนึ่ง

(๒)   ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

(ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินยี่สิบห้าล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สาม

(ข) มูลค่าของฐานภาษีเกินยี่สิบห้าล้านบาท แต่ไม่เกินห้าสิบล้านบาทให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์ห้า

(ค) มูลค่าของฐานภาษีเกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหนึ่ง

(๓)  สิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

(ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินสี่สิบล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สอง

(ข) มูลค่าของฐานภาษีเกินสี่สิบล้านบาท  แต่ไม่เกินหกสิบห้าล้านบาท  ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สาม

(ค) มูลค่าของฐานภาษีเกินหกสิบห้าล้านบาท แต่ไม่เกินเก้าสิบล้านบาท  ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์ห้า

(ง) มูลค่าของฐานภาษีเกินเก้าสิบล้านบาทขึ้นไปให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหนึ่ง

(๔) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยกรณีอื่นนอกจากการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม  (๒)  และ  (๓)

(ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สอง

(ข) มูลค่าของฐานภาษีเกินห้าสิบล้านบาท แต่ไม่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท  ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์สาม

(ค)  มูลค่าของฐานภาษีเกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท  แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์ห้า

(ง)   มูลค่าของฐานภาษีเกินหนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป      ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหนึ่ง

(๕)  ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากการประกอบเกษตรกรรมและเป็นที่อยู่อาศัย

(ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดสาม

(ข) มูลค่าของฐานภาษีเกินห้าสิบล้านบาท  แต่ไม่เกินสองร้อยล้านบาท  ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดสี่

(ค) มูลค่าของฐานภาษีเกินสองร้อยล้านบาท แต่ไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดห้า

(ง)  มูลค่าของฐานภาษีเกินหนึ่งพันล้านบาท แต่ไม่เกินห้าพันล้านบาท  ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหก

(จ) มูลค่าของฐานภาษีเกินห้าพันล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดเจ็ด

(๖) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ท าประโยชน์ตามควรแก่สภาพ

(ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดสาม

(ข) มูลค่าของฐานภาษีเกินห้าสิบล้านบาท แต่ไม่เกินสองร้อยล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดสี่

(ค) มูลค่าของฐานภาษีเกินสองร้อยล้านบาท แต่ไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดห้า

(ง)  มูลค่าของฐานภาษีเกินหนึ่งพันล้านบาท  แต่ไม่เกินห้าพันล้านบาท  ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดหก

(จ) มูลค่าของฐานภาษีเกินห้าพันล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดเจ็ด

มาตรา   ๙๕  ในสองปีแรกของการคานวณภาษีตามพระราชบัญญัตินี้   ให้ใช้ฐานภาษีของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง  ซึ่งคำนวณได้ตามมาตรา  ๓๕  หักด้วยมูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา  ๔๐หรือมาตรา  ๔๑  แล้วคูณด้วยอัตราภาษีตามมาตรา   ๙๔  ตามสัดส่วนที่กำหนดในมาตรา  ๓๘ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนภาษีที่ต้องเสีย

เพื่อประโยชน์ในการคำนวณจำนวนภาษีตามวรรคหนึ่ง กรณีที่ดินหลายแปลงซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันและเป็นของเจ้าของเดียวกัน  ให้ค านวณมูลค่าที่ดินทั้งหมดรวมกันเป็นฐานภาษี

มาตรา   ๙๖  เพื่อเป็นการบรรเทาการช าระภาษีในสามปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีส าหรับเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม

มาตรา   ๙๗  เพื่อเป็นการบรรเทาการช าระภาษี   ในสามปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้เสียภาษีได้รับการประเมินภาษีในจำนวนที่สูงกว่าจำนวนภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ที่ต้องเสียหรือพึงชำระในปีก่อนที่การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ   ให้ผู้เสียภาษีชำระภาษีตามจำนวนที่ต้องเสียหรือพึงชำระในปีก่อนเหลือจำนวนภาษีเท่าใด ให้ผู้เสียภาษีชำระภาษี ดังนี้

(๑)  ปีที่หนึ่ง  ร้อยละยี่สิบห้าของจ านวนภาษีที่เหลือ

(๒)  ปีที่สอง  ร้อยละห้าสิบของจ านวนภาษีที่เหลือ

(๓)  ปีที่สาม  ร้อยละเจ็ดสิบห้าของจ านวนภาษีที่เหลือ

มาตรา   ๙๘  การดำเนินการออกกฎกระทรวง   ระเบียบ   และประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้รัฐมนตรีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ

 

ผู้รับสนองพระราชโองการพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 

 หมายเหตุ   :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้  คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบ ารุงท้องที่ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว การจัดเก็บภาษีตามกฎหมายทั้งสองฉบับ ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สมควรยกเลิกกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวและให้ใช้กฎหมายว่าด้วย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบการจัดเก็บภาษีดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino! Immediate Vault Immediate Byte Pro Invest Wave Max Cógaslann ar líne Clonaslee Pharmacy leis na praghsanna is fearr in Éirinn