Hot! ร่างแก้ไข พรบ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

ร่าง

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

(ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ….

…………………………………………………………….

………………………………..

…………………………………

…………………………………

            ……………………………………………………………………………………………………………………………………..

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

……………………………………………………………………………………………………………………………………..

มาตรา 1  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….”

 

มาตรา 2  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

 

มาตรา 3  ให้ยกเลิกคำนิยาม “คนต่างด้าว” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

““คนต่างด้าว” หมายความว่า

(1)     บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

(2)     นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

(3)     นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย และมีลักษณะดังต่อไปนี้

(ก)     นิติบุคคลซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือ

โดยบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่    กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอำนาจตามกฎหมายหรือตามข้อบังคับหรือตามข้อตกลงในการออกเสียงลงคะแนนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น

(ข)     ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลตาม (1)

(4) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งคำนิยามนี้ให้ถือว่าหุ้นของบริษัทจำกัดที่มีใบหุ้นชนิดออกให้แก่   ผู้ถือเป็นหุ้นของคนต่างด้าว เว้นแต่จะได้มีกฎกระทรวงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 35 คนต่างด้าวซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจใดตามพระราชบัญญัตินี้หากร่วมทำธุรกิจอันเป็นของคนต่างด้าวรายอื่นซึ่งมิได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัตินี้หรือประกอบธุรกิจที่คนต่างด้าวรายอื่นนั้นเป็นเจ้าของร่วมโดยแสดงออกว่าเป็นธุรกิจของตนแต่ผู้เดียว เพื่อให้คนต่างด้าวรายอื่นนั้นหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกการร่วมทำธุรกิจหรือการประกอบธุรกิจนั้นเสีย หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่”

มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 36 ผู้มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่มิใช่คนต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือร่วมประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อันเป็นธุรกิจที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้โดยคนต่างด้าวนั้นมิได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว หรือร่วมประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวโดยแสดงออกว่าเป็นธุรกิจของตนแต่ผู้เดียวหรือถือหุ้นแทนคนต่างด้าวในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งคนต่างด้าวซึ่งยินยอมให้ผู้มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่มิใช่คนต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้กระทำการดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งให้เลิกการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือสั่งให้เลิกการร่วมประกอบธุรกิจ หรือสั่งให้เลิกการถือหุ้น หรือการเป็นหุ้นส่วนนั้นเสีย แล้วแต่กรณี หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่”

มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 37 คนต่างด้าวผู้ใดประกอบธุรกิจโดยฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 หรือมาตรา 8 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกการประกอบธุรกิจ หรือเลิกกิจการ หรือสั่งเลิกการเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนแล้วแต่กรณี หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่”

มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 41 ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 หรือมาตรา 37 กรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลซึ่งรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดนั้น หรือมิได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้น ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นด้วย”

มาตรา 8  นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่ไม่เป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แต่เป็นคนต่างด้าวตามคำนิยามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และประกอบธุรกิจประเภทที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะประกอบธุรกิจนั้นต่อไป ให้ดำเนินการแจ้งต่ออธิบดีเพื่อขอหนังสือรับรองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อได้รับหนังสือรับรองแล้ว ให้ประกอบธุรกิจนั้นต่อไปได้ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1)     ถ้าเป็นธุรกิจตามบัญชีสาม ให้ประกอบธุรกิจนั้นต่อไปได้จนกว่าจะเลิกประกอบธุรกิจ

(2)     ถ้าเป็นธุรกิจตามบัญชีหนึ่งหรือบัญชีสอง ให้ประกอบธุรกิจนั้นต่อไปได้เป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง หากมิได้แจ้งขอหนังสือรับรองภายในระยะเวลาที่กำหนดและยังฝ่าฝืนประกอบธุรกิจนั้นต่อไป หรือกรณีเป็นธุรกิจตามบัญชีหนึ่งหรือบัญชีสองยังฝ่าฝืนประกอบธุรกิจนั้นต่อไปเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสองปีให้ถือว่าประกอบธุรกิจนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของ  คนต่างด้าว พ.ศ. 2542  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 9  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 หรือมาตรา 8  ซึ่งกำหนดโทษไว้ตามมาตรา 37

หรือฝ่าฝืนมาตรา 35 หรือมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าได้แจ้งถึงการกระทำดังกล่าวต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและแก้ไข

หรือปฏิบัติให้ถูกต้องจนไม่อยู่ในข่ายที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 35 หรือมาตรา 36 หรือเลิกประกอบธุรกิจที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตราดังกล่าว แล้วแต่กรณี ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับผู้นั้นไม่ต้องรับโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับกับผู้ฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 35 หรือมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวนหรือศาล

มาตรา 10 ให้ยกเลิก (18) ของบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

มาตรา 11 ให้ยกเลิกความใน (13) (14) (15) และ (21) ของบัญชีสามท้าย

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ยกเว้น การซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า

(14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภท

(15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภท

(              2           1         )   การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้น

(ก)    ธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า

(ข)     ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจอนุพันธ์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

(ค)    ธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์

(ง)     ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

(จ)     ธุรกิจบริการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”

2 Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Martian Wallet is a secure and user-friendly platform for managing your cryptocurrencies. It supports various assets and offers seamless transactions for both beginners and experts. Learn more at martianwallet.net.