ร่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ๒๕๕/๒๕๕๔
เรื่องเสร็จที่ ๒๕๕/๒๕๕๔
บันทึกวิเคราะห์สรุป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค(า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีได้มีมติใหเสนอร่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ต่อสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้จัดทำบันทึกวิเคราะห์ สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา ๑๔๒ วรรคหา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังต่อไปนี้
๑. เหตุผลและความจำเป็นในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
โดยที่ปัจจุบันการคุ้มคร้องเครื่องหมายการค้าในระดับสากล ได้มีการขยายขอบเขตการให้ความคุ้มครองไปยังเครื่องหมายประเภทใหม่ๆ ซึ่งบทบัญญัติของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ยังครอบคลุมไม่ถึง จึงสมควรขยายขอบเขตการให้ความคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าดังกล่าว และปรับปรุงขั้นตอนตลอดจนระยะเวลาในการพิจารณาการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้มีความชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งปรับปรุงอัตราคาธรรมเนียมเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
๒. สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. ๒๕๓๔ โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
๒.๑ แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “เครื่องหมาย” โดยเพิ่มเติม “กลิ่น” และ “เสียง” ไว้ในบทนิยาม เพื่อขยายความคุ้มครองให้เครื่องหมายประเภทกลิ่นและเสียง สามารถนำมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้
๒.๒ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจของรัฐมนตรีตามมาตรา ๕ โดยเพิ่มเติมอำนาจในการลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม เพื่อเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐบางหน่วยงานสามารถมาจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าเพิ่มขึ้น
๒.๓ แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า
(๑) เพิ่มเติมลักษณะบงเฉพาะของภาพ รูปร่างหรือรูปทรง กลิ่น และเสียงเพื่อใหมีความชัดเจนว่าลักษณะอย่างไรจึงจะถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ และเพื่อใหสอดคล้องกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในระดับสากล (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗ วรรคสอง)
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมให้เครื่องหมายการค้าทุกประเภทสามารถได้มาซึ่งลักษณะบ่งเฉพาะโดยการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินคาที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลาย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗ วรรคสาม)
๒.๔ ยกเลิกบทบัญญัติที่ห้ามขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าต่างจำพวกกันในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหนึ่งฉบับ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอจดทะเบียน (ยกเลิกมาตรา ๙ วรรคสอง)
๒.๕ แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณารับจดทะเบียนและเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
และการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ขอจดทะเบียนหลายรายต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีความเหมือนหรือคล้ายกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณาจำพวกของสินค้าและลักษณะอยางเดียวกันของสินค้า (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖๑ (๓) และ (๔))
๒.๖ ลดระยะเวลาการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน การอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียน การปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการ การยื่นคำคัดคานการจดทะเบียนและการยื่นคำโต้แยงคำคัดคานการจดทะเบียน จากเก้าสิบวันเป็นหกสิบวัน เพื่อให้การดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการคาสามารถทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕ วรรคสอง มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่งและวรรคสาม มาตรา ๒๗ วรรคสอง มาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๖ วรรคสองและวรรคสี่ มาตรา ๓๗ วรรคสอง มาตรา ๖๐ วรรคสอง มาตรา ๖๙ วรรคสาม มาตรา ๗๔ วรรคสอง และมาตรา ๘๙ วรรคหนึ่ง)
๒.๗ แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และขั้นตอนกรณีผู้ขอจดทะเบียนหลายรายยื่นคำ ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกัน โดยยกเลิกขั้นตอนที่กำหนดให้
ผู้ขอจดทะเบียนหลายรายต้องตกลงกัน และกำหนดให้ผู้ที่ยื่นคำขอไว้เป็นรายแรกเป็นผูมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนก่อน เพื่อให้ขั้นตอนการจดทะเบียนสามารถกระทำได้รวดเร็วขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ และยกเลิกมาตรา ๒๒ ถึงมาตรา ๒๖)
๒.๘ ขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจากสามสิบวันเป็นหกสิบวัน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอจดทะเบียน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔๐ วรรคสอง)
๒.๙ กำหนดขั้นตอนการดำเนินการของนายทะเบียน ในกรณีที่การขอจดทะเบียนการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้า หรือการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยกำหนดให้นายทะเบียนมีหนังสือแจงให้ผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด และกำหนดผลในกรณีที่ไม่มีการแก้ไขภายในระยะเวลาดังกลาว ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ผูขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวละเลยการแก้ไข และเพื่อเป็นการเร่งรัดให้มีการดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด (เพิ่มมาตรา ๕๒/๑)
๒.๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถขอผอนผันการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุการจดทะเบียนได้โดยต้องชำระคาธรรมเนียมเพิ่ม และขยายระยะเวลาการดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับการขอตออายุตามคำสั่งของนายทะเบียนจากสามสิบวันเป็นหกสิบวัน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของเครื่องหมายการค้า และสอดคล้องกับ Article 5 bis ของ Paris Convention (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ และมาตรา ๕๖)
๒.๑๑ กำหนดผลทางกฎหมายในกรณีการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (เพิ่มมาตรา ๗๙/๑)
๒.๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ โดยยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมเดิมทั้งหมด และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
๒.๑๓ กำหนดบทเฉพาะกาล (ร่างมาตรา ๓๒ ถึงร่างมาตรา ๓๘) เพื่อรองรับคำขอและการดำเนินการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ รวมทั้งรองรับกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้ใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
๓. ข้อมูลทางวิชาการประกอบการพิจารณา
ในการพิจารณารางพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ได้ศึกษาหลักกฎหมายตางประเทศที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๓.๑ ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพยสินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights (TRIPs))
ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า หรือ TRIPs เป็นความตกลงระหวางประเทศที่กำหนดหลักการพื้นฐานในการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องตางๆ ของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก โดยในสวนของเครื่องหมายการคานั้น Article ๑๕๑ ของ TRIPs ได้กำหนดการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อายุการคุ้มครอง ขอกำหนดการใช้เครื่องหมายการค้า รวมทั้งการอนุญาตให้ใช้สิทธิ และการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า
๓.๒ อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพยสินอุตสาหกรรม (Paris Convention for the Protection of Industrial Property)
อนุสัญญากรุงปารีสฯ เป็นอนุสัญญาที่กำหนดมาตรฐานในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมถึงกรณีการให้ความคุ้มครองเครื่องหมาย
การค้าด้วยโดยในการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….. นั้น ได้มีการศึกษาอนุสัญญากรุงปารีสในประเด็นการขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุการจดทะเบียน ซึ่ง Article 5 bis ๒ ของอนุสัญญาดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้ขอต่ออายุ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสามารถขอผ่อนผันระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุออกไปได้ไม่น้อยกว่าหกเดือน
๓.๓ กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
(๑) ประเทศอังกฤษ
ประเทศอังกฤษมีกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า ได้แก่ Trade Mark Act 1994 โดยในการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….. นั้นได้มีการศึกษา Trade Mark Act 1994 ในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
(ก) การกำหนดลักษณะของรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุที่ต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าตาม (2) ของ Section 3 Absolute grounds for
refusal of registration ๓
(ข) หลักเกณฑ์การพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตาม Section 5 Relative grounds
for refusal of registration ๔
(ค) การขอขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุการจดทะเบียนตาม Section 43 Renewal of registration ๕ ซึ่งกำหนดให้ผู้ขอต่ออายุการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าสามารถขอผ่อนผันระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุออกไปได้ไม่น้อยกว่าหกเดือน
(๒) ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงค์โปร์มีกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า ได้แก่ Trade Mark Act 1998 โดยในการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….. นั้น ได้มีการศึกษา Trade Mark Act 1998 ในประเด็นดังตอไปนี้
(ก) การกำหนดลักษณะของรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุที่ต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าตาม (3) ของ Section 7 Absolute grounds for refusal of
registration ๖
(ข) หลักเกณฑ์การพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตาม (3) ของ Section 8 Relative
grounds for refusal of registration ๗
(ค) การขอขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุการจดทะ เบียนตาม Section 19 Renewal of registration ๘ ซึ่งกำหนดให้ผู้ขอต่ออายุ
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสามารถขอผ่อนผันระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุออกไปได้ไม่น้อยกว่าหกเดือน
(๓) Guidelines for Trademark Examination ของสมาคมเครื่องหมาย
การค้าระหว่างประเทศ (International Trademark Association) ซึ่งมีการกำหนดแนวทางการตรวจสอบเครื่องหมายการค้าประเภทต่างๆ ซึ่งรวมถึงเสียงและกลิ่นด้วย โดยในสวนของเครื่องหมายเสียงจะพิจารณาลักษณะบงเฉพาะจากการแสดงกราฟเสียงหรือตัวโน้ตหรือการบรรยายเสียงด้วยถ้อยคำ และสำหรับเครื่องหมายกลิ่นจะพิจารณาลักษณะบ่งเฉพาะจากการบรรยายเสียงด้วยถ้อยคำและการนำ เสนอตัวอย่างของกลิ่นและองค์ประกอบทางเคมีของกลิ่นนั้น
ร่างฯ ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว
เรื่องเสร็จที่ ๒๕๕/๒๕๕๔
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ดังต่อไปนี้
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “เครื่องหมาย” เพื่อกำหนดให้หมายความถึงกลิ่นและเสียงดวย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔)
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงเพื่อลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง)
(๓) กำหนดลักษณะบ่งเฉพาะของภาพ รูปรางหรือรูปทรง กลิ่น และเสียง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗ วรรคสอง)
(๔) แก้ไขเพิ่มเติมให้เครื่องหมายการค้าทุกประเภทสามารถได้มาซึ่งลักษณะบงเฉพาะโดยการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้น
จนแพร่หลาย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗ วรรคสาม)
(๕) ยกเลิกบทบัญญัติที่ห้ามขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าต่างจำพวกกันในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหนึ่งฉบับ (ยกเลิกมาตรา ๙ วรรคสอง)
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณารับจดทะเบียนและเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
และการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ขอจดทะเบียนหลายรายต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีความเหมือนหรือคล้ายกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณาจำพวกของสินค้าและลักษณะอย่างเดียวกันของสินค้า (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖๑ (๓) และ (๔))
(๗) ลดระยะเวลาการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน การอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียน การปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการ การยื่นคำคัดคานการจดทะเบียนและการยื่นคำโต้แย้งคำคัดค้านการจดทะเบียน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕ วรรคสอง มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่งและวรรคสาม มาตรา ๒๗ วรรคสอง มาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๖ วรรคสองและวรรคสี่ มาตรา ๓๗ วรรคสองมาตรา ๖๐ วรรคสอง มาตรา ๖๙ วรรคสาม มาตรา ๗๔ วรรคสอง และมาตรา ๘๙ วรรคหนึ่ง)
(๘) แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และขั้นตอนกรณีผู้ขอจดทะเบียนหลายรายยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกัน โดยยกเลิกขั้นตอนที่กำหนดให้ผู้ขอจดทะเบียนหลายรายต้องตกลงกัน และกำหนดให้ผู้ที่ยื่นคำขอไว้เป็นรายแรกเป็นผูมีสิทธิไดรับการจดทะเบียนกอน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ และยกเลิกมาตรา ๒๒ ถึงมาตรา ๒๖)
(๙) ขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔๐ วรรคสอง)
(๑๐) กำหนดขั้นตอนการดำเนินการของนายทะเบียน ในกรณีที่การขอจดทะเบียนการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้า หรือการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียน ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง (เพิ่มมาตรา ๕๒/๑)
(๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การตออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถขอผอนผันการชำระคาธรรมเนียมการตออายุการจดทะเบียนไดโดยตองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่ม และขยายระยะเวลาการดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับการขอตออายุตามคำสั่งของนายทะเบียน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ และมาตรา ๕๖)
(๑๒) กำหนดผลทางกฎหมายในกรณีการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (เพิ่มมาตรา ๗๙/๑)
(๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ
เหตุผล
โดยที่ปัจจุบันการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในระดับสากลได้มีการขยายขอบเขตการให้ความคุ้มครองไปยังเครื่องหมายประเภทใหม ๆ ซึ่งบทบัญญัติของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ยังครอบคลุมไม่ถึง จึงสมควรขยายขอบเขตการใหความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า และปรับปรุงขั้นตอนตลอดจนระยะเวลาในการดำเนินการจดทะเบียนให้เกิดความชัดเจนและรวดเร็ว รวมทั้งปรับปรุงอัตราคาธรรมเนียมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่าง
พระราชบัญญัติ
เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
…………………………………….
…………………………………….
…………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ
บุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกวา “พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำวา “เครื่องหมาย” ในมาตรา ๔ แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““เครื่องหมาย” หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ กลิ่น เสียง หรือ
สิ่งเหลานี้อย่างหนึ่งหรือหลายอยางรวมกัน”
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น ตลอดจนออกประกาศ ทั้งนี้ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้”
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
(๑) ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินคาโดยตรง
(๒) คำหรือขอความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรงและไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(๓) คำที่ประดิษฐ์ขึ้น
(๔) ตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น
(๕) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ
(๖) ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยไดรับอนุญาตจากบุคคลนั้นแลว
(๗) ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้วหรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยไดรับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคูสมรสของบุคคลนั้นถ้ามี แล้ว
(๘) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น
(๙) ภาพอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(๑๐) รูปร่างหรือรูปทรงอันไม่เป็นลักษณะโดยธรรมชาติของสินค้านั้นเอง หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่จำเป็นต่อการทำงานทางเทคนิคของสินค้านั้น หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่ทำใหสินค้านั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
(๑๑) กลิ่นอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือกลิ่นที่ไม่เป็นกลิ่นโดยธรรมชาติของสินค้านั้น
(๑๒) เสียงอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือเสียงที่ไม่เป็นเสียงโดยธรรมชาติของสินค้านั้น หรือเสียงที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานของสินค้านั้น”
มาตรา ๖ ใหยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะตามวรรคสอง (๑) ถึง (๑๒) หากได้มีการจำหนายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ”
มาตรา ๗ ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความตอไปนี้แทน
“มาตรา ๑๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๗ ห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนในกรณีที่เห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้น
(๑) เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน
(๒) เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน
มาตรา ๑๔ ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือที่อยูในระหว่างการขอจดทะเบียนของเจ้าของเดียวกัน ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นเหมือนกันหรือคล้ายกันจนถึงกับว่า ถ้าหากบุคคลอื่นจะเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว ก็อาจจะเป็นการทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นเป็นเครื่องหมายชุด และมีหนังสือ
แจงคำสั่งให้ผูขอจดทะเบียนทราบโดยไม่ชักชา”
มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น และมีหนังสือแจงคำสั่งให้
ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยไม่ชักชา”
มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความใน (๑) และ (๒) ของวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความตอไปนี้แทน
“(๑) สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงการปฏิเสธว่า ไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช่สวนดังกล่าวของเครื่องหมายการค้ารายนั้น ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น
(๒) สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงการปฏิเสธอย่างอื่น ตามที่นายทะเบียนเห็นว่าจำเป็นต่อการกำหนดสิทธิจากการจดทะเบียนของเจ้าของเครื่องหมายการค้ารายนั้น ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น”
มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๘ ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ ตอคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจงคำสั่งของนายทะเบียน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด”
มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความตอไปนี้แทน
“ถ้าคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๗ ถูกต่องแล้ว ให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในหกสิบวันนับแตวันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ”
มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๒๐ ในกรณีที่มีผูขอจดทะเบียนหลายรายต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเพื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้นายทะเบียนดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นไว้เป็นรายแรก และมีหนังสือแจงคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนรายหลังรอการพิจารณาดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อน
(๑) เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน
(๒) เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะใช้กับสินคาจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน
ในกรณีที่เครื่องหมายการค้าที่ยื่นไว้เป็นรายแรกไม่ได้รับการจดทะเบียนให้นายทะเบียนพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นไว้
เป็นรายถัดไป และมีหนังสือแจงให้ผู้ขอจดทะเบียนรายนั้นและรายอื่นทราบโดยไม่ชักชา
มาตรา ๒๑ ผู้ขอจดทะเบียนซึ่งเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ตนขอจดทะเบียนมิได้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารายอื่นที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อน มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ไดรับหนังสือแจงคำสั่งของนายทะเบียน ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. ๒๕๓๔ และให้้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้านั้น เป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริต หรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนเห็นสมควรรับจดทะเบียน นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันดังกล่าวให้แก่เจาของหลายคนก็ได้ โดยจะมีเงื่อนไขและขอจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้เครื่องหมายการค้านั้น หรือเงื่อนไขและข้อจำกัดอื่นตามที่นายทะเบียนเห็นสมควรกำหนดด้วยก็ได้ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจงคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอจดทะเบียนและเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วทราบโดยไม่ชักชา
ผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งตอคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจงคำสั่งของนายทะเบียน
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามวรรคสองให้เป็นที่สุด”
มาตรา ๑๖ ใหยกเลิกความใน (๑) และ (๒) ของวรรคสามของมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๑) คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามวรรคสองยังมิไดมีการขอใช้สิทธิในการระบุวันยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง และ
(๒) คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามวรรคสองไม่อาจดำเนินการใดตามกฎหมายวาด้วยเครื่องหมายการค้าในประเทศที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ต่อไป และ”
มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๓๑ ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนของนายทะเบียนตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ตอคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแตวันที่ได้รับหนังสือแจงคำสั่ง
ของนายทะเบียน”
มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๓๕ เมื่อได้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายใดตามมาตรา ๒๙ แลว บุคคลใดเห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นหรือเห็นว่าเครื่องหมายการค้ารายนั้นไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา ๖ หรือการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ บุคคลนั้นจะยื่นคำคัดคานต่อนายทะเบียนก็ได้ แต่ต้องยื่นภายในหกสิบวันนับแตวันประกาศโฆษณาตามมาตรา ๒๙ พร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการคัดค้าน”
มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้ผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำโตแยงคำคัดค้านตามแบบที่อธิบดีกำหนด โดยแสดงเหตุที่ตนอาศัยเป็นหลักในการขอจดทะเบียนตอนายทะเบียนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำคัดคาน และให้นายทะเบียนส่งสำเนาคำโต้แยงนั้นไปยังผูคัดค้านโดยไม่ชักชา”
มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในการพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้าน นายทะเบียนจะมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนและผู้คัดค้านมาให้ถอยคำ ทำคำชี้แจง หรือแสดงหลักฐานเพิ่มเติมก็ได้ หากผู้ขอจดทะเบียนหรือผูคัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในหกสิบวันนับแตวันที่ได้รับแจงคำสั่งให้นายทะเบียนพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านต่อไปตามหลักฐานที่มี อยู่”
มาตรา ๒๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ผู้ขอจดทะเบียนหรือผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนตอคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแตวันที่ได้รับหนังสือแจงคำวินิจฉัยของนายทะเบียน
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นโดยไม่ชักช้า”
มาตรา ๒๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เมื่อได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจงคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ และให้ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ไดรับหนังสือแจงคำสั่ง ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือวาละทิ้งคำขอจดทะเบียน”
มาตรา ๒๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๒/๑ ของสวนที่ ๓ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ในหมวด ๑ เครื่องหมายการค้า แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔
“มาตรา ๕๒/๑ ในกรณีที่การขอจดทะเบียนการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้าไม่เป็นไปตามมาตรา ๕๑ วรรคสอง หรือการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียนไม่เป็นไปตามมาตรา ๕๒ ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจงให้ผูขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในหกสิบวันนับแตวันที่ได้รับหนังสือแจงนั้น
หากผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้ามิได้ปฏิบัติตามหนังสือแจงของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้ถือวาละทิ้งคำขอจดทะเบียนการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้า หรือคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี”
มาตรา ๒๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ และมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๕๔ เจ้าของเครื่องหมายการค้าใดประสงค์จะต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตน ให้ยื่นคำขอต่ออายุต่อนายทะเบียนพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม
การต่ออายุภายในเก้าสิบวันก่อนวันสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นยังคงจดทะเบียนอยู่จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ในการยื่นคำขอต่ออายุตามวรรคหนึ่ง หากเจ้าของเครื่องหมายการค้าประสงค์จะขอผ่อนผันการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุ ให้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันพร้อมคำขอต่ออายุ
ทั้งนี้ ให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายในสองร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียน และต้องชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มรอยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมการต่ออายุ
การขอต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๕๕ ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ยื่นคำขอต่ออายุและชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และ
นายทะเบียนเห็นว่าการขอต่ออายุเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๕๔ วรรคสาม ให้นายทะเบียนตออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นอีกสิบปีนับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียนเดิม หรือนับแตวันสิ้นอายุการจดทะเบียนที่ได้ต่อไว้ครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณี
ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ยื่นคำขอต่ออายุและชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แต่นายทะเบียนเห็นว่าการขอต่ออายุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๕๔ วรรคสาม ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในหกสิบวันนับแตวันที่ได้รับคำสั่งนั้น และมีหนังสือแจงคำสั่งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นทราบโดยไม่ชักชา ถ้าเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น
มาตรา ๕๖ ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้ามิได้ยื่นคำขอต่ออายุตามมาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง หรือได้ยื่นคำขอต่ออายุและได้ขอผ่อนผันการชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุแต่มิได้ชำระค่าธรรมเนียมตามมาตรา ๕๔ วรรคสอง ให้ถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแลว”
มาตรา ๒๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งตอคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจงคำสั่งของนายทะเบียน ถ้าไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนเป็นที่สุด”
มาตรา ๒๖ ให้ยกเลิกความใน (๓) และ (๔) ของมาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน“
(๓) เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่ว่าจะใช้กับสินคาจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือ
(๔) เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน”
มาตรา ๒๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาต มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจงคำสั่งของนายทะเบียน ถ้าไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนเป็นที่สุด”
มาตรา ๒๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ได้รับอนุญาต มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแตวันที่ได้รับหนังสือแจงจาก
นายทะเบียน ถ้าไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกลาว ให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนเป็นที่สุด”
มาตรา ๒๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๙/๑ ของสวนที่ ๕ การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ในหมวด ๑ เครื่องหมายการค้า แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมาย การค้า พ.ศ. ๒๕๓๔
“มาตรา ๗๙/๑ ในกรณีที่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้ามิได้กำหนดไว้เป็นอยางอื่น สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้ายอมไม่ระงับไปเพราะเหตุการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น”
มาตรา ๓๐ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๘๙ เจ้าของเครื่องหมายรับรองนั้นหรือบุคคลอื่นใด ที่ไดรับหรือจะไดรับความเสียหายจากคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๗ หรือมาตรา ๘๘ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา ๘๗ หรือนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจงคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๘๘ แล้วแต่กรณี”
มาตรา ๓๑ ให้ยกเลิกอัตราคาธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๓๒ คำขอจดทะเบียนสำหรับเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการเครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายรวม ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและ
ยังอยูในระหว่างการดำเนินการ ให้การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอและค่าธรรมเนียมในเรื่องนั้น ๆ อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ต่อไป จนกว่าคำขอดังกล่าวจะได้รับการจดทะเบียน หรือไม่ไดรับการจดทะเบียนหรือผู้ขอจดทะเบียนละทิ้งคำขอ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใชบังคับ ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ใหการดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการคาที่ได้ยื่นดังกล่าวอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
(๑) เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนที่ได้ยื่นไว้และยังอยูในระหว่างการดำเนินการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือตางจำพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน
(๒) เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนที่ได้ยื่นไวและยังอยูในระหวางการดำเนินการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จนอาจทำใหสาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหลงกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกัน ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน
มาตรา ๓๔ คำขอโอนหรือรับมรดกสิทธิ คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียน คำขอตออายุการจดทะเบียน และคำรองขอใหเพิกถอนการจดทะเบียน สำหรับ
เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายรวม ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังอยูในระหวางการดำเนินการ ให้การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอและค่าธรรมเนียมในเรื่องนั้น ๆ อยูในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ก่อนการแก้้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ต่อไป จนกว่าคำขอดังกล่าวจะได้รับการจดทะเบียน หรือไม่ได้รับการจดทะเบียน หรือจะไดรับการต่ออายุ หรือจนกวาจะมีการเพิกถอนหรือไมเพิกถอนการจดทะเบียน แล้วแตกรณี
มาตรา ๓๕ คำขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาต คำขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียนสัญญาอนุญาต และคำขอใหเพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตสำหรับเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังอยูในระหว่างการดำเนินการ ให้การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอและคาธรรมเนียมในเรื่องนั้น ๆ อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ต่อไป จนกวาคำขอดังกล่าวจะได้รับการจดทะเบียน หรือไม่ได้รับการจดทะเบียน หรือจนกว่าจะมีการเพิกถอนหรือไม่เพิกถอนการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๖ คำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนสำหรับเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายรวม ที่นายทะเบียนสั่งตามมาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๙ แหงพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ได้สั่งก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังอยูในระหว่างการดำเนินการ ให้การดำเนินการที่เกี่ยวกับคำสั่งเพิกถอนและคาธรรมเนียมในเรื่องนั้น ๆ อยูในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ต่อไป จนกว่าจะมีการเพิกถอนหรือไม่เพิกถอนการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๗ คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับว่าดวยการใช้เครื่องหมายรับรองตามมาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังอยูในระหว่างการดำเนินการ ให้การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอและค่าธรรมเนียมในเรื่องนั้น อยูในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ต่อไป จนกว่าคำขอดังกล่าวจะได้รับการจดทะเบียน หรือไม่ได้รับการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๘ บรรดากฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ใช้บังคับอยูในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใชบังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกวาจะมีกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผูรับสนองพระบรมราชโองการ
……..……….…………………….
นายกรัฐมนตรี
อัตราคาธรรมเนียม
(๑) คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง
หรือเครื่องหมายร่วม สินคาหรือบริการอยางละ ๑,๐๐๐ บาท
(๒) รูปเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ
เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม
ที่มีด้านกว้างหรือด้านยาวเกิน ๕ เซนติเมตร
ใหคิดเฉพาะส่วนที่เกิน
เศษของเซนติเมตรใหคิดเป็นหนึ่งเซนติเมตร เซนติเมตรละ ๒๐๐ บาท
(๓) คำคัดค้านการขอจดทะเบียนตาม (๑) ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
(๔) คำขอโอนสิทธิในคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ
เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม คำขอละ ๒,๐๐๐ บาท
(๕) การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง
หรือเครื่องหมายร่วม สินคาหรือบริการอยางละ ๖๐๐ บาท
(๖) ใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ ๒๐๐ บาท
(๗) คำขอจดทะเบียนการโอนหรือการรับมรดกสิทธิ
ในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ
เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม คำขอละ ๒,๐๐๐ บาท
(๘) คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ
การจดทะเบียนตาม (๕) คำขอละ ๔๐๐ บาท
(๙) การต่ออายุการจดทะเบียนตาม (๕) สินค้าหรือบริการอย่างละ ๒,๐๐๐ บาท
(๑๐) คำรองขอต่อคณะกรรมการให้สั่งเพิกถอน
การจดทะเบียนตาม (๕) ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๑๑) คำขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้
เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ ๑,๐๐๐ บาท
(๑๒) การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้
เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ สัญญาละ ๒,๐๐๐ บาท
(๑๓) คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ
การจดทะเบียนตาม (๑๒) คำขอละ ๔๐๐ บาท
(๑๔) คำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตาม (๑๒) คำขอละ ๔๐๐ บาท
(๑๕) คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอจดทะเบียน
ตาม (๑) (๗) หรือ (๑๑) คำขอละ ๒๐๐ บาท
(๑๖) คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงขอบังคับว่าด้วย
การใช้เครื่องหมายรับรอง
(ก) ก่อนการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง คำขอละ ๒๐๐ บาท
(ข) หลังการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง คำขอละ ๔๐๐ บาท
(๑๗) คำอุทธรณ์
(ก) อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตาม
มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๗
หรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตาม
มาตรา ๓๗ ฉบับละ ๔,๐๐๐ บาท
(ข) อุทธรณ์ตามมาตราอื่น ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
(๑๘) การตรวจคนข้อมูลทะเบียนเครื่องหมาย
การค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมาย
รับรอง หรือเครื่องหมายรวม หรือสารบบ
เครื่องหมายดังกล่าว
เศษของชั่วโมงให้คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง ชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท
(๑๙) การขอสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง
หรือเครื่องหมายร่วม พร้อมคำรับรอง ฉบับละ ๔๐๐ บาท
(๒๐) การขอคัดสำเนาเอกสาร หน้าละ ๒๐ บาท
(๒๑) การขอให้รับรองสำเนาเอกสารเรื่องเดียวกัน
(ก) เอกสารไม่เกิน ๔๐ หนา หนาละ ๒๐ บาท
(ข) เอกสารเกิน ๔๐ หนา ฉบับละ ๘๐๐ บาท
(๒๒) การขอหนังสือรับรองรายการ
การจดทะเบียน ฉบับละ ๑๐๐ บาท
(๒๓) คำขออื่น ๆ คำขอละ ๒๐๐ บาท
๑ Article 15 Protectable Subject Matter
1. Any sign, or any combination of signs, capable of distinguishing the goods or services of one undertaking from those of other undertakings, shall be capable of constituting a trademark. Such signs, in particular words including personal names, letters, numerals, figurative elements and combinations of colours as well as any combination of such signs, shall be eligible for registration as trademarks. Where signs are not inherently capable of distinguishing the relevant goods or services, Members may make registrability depend on distinctiveness acquired through use. Members may require, as a condition of registration, that signs be visually perceptible.
๒ Article 5 bis All Industrial Property Rights: Period of Grace for the Payment of Fees for the Maintenance of Rights; Patents: Restoration
(1) A period of grace of not less than six months shall be allowed for the payment of the fees prescribed for the maintenance of industrial property rights, subject, if the domestic legislation so provides, to the payment of a surcharge.
(2) The countries of the Union shall have the right to provide for the restoration of patents which have lapsed by reason of non-payment of fees.
๓ Section 3 Absolute grounds for refusal of registration.
(1) The following shall not be registered etc. etc.
(2) A sign shall not be registered as a trade mark if it consists exclusively of-
(a) the shape which results from the nature of the goods themselves,
(b) the shape of goods which is necessary to obtain a technical result, or
(c) the shape which gives substantial value to the goods.
๔ Section 5 Relative grounds for refusal of registration.
(1) A trade mark shall not be registered if it is identical with an earlier trade mark and the goods or services for which the trade mark is applied for are identical with the goods or services for which the earlier trade mark is protected.
(2) A trade mark shall not be registered if because –
(a) it is identical with an earlier trade mark and is to be registered for goods or services similar to those for which the earlier trade mark is protected, or
(b) it is similar to an earlier trade mark and is to be registered for goods or services identical with or similar to those for which the earlier trade mark is protected, there exists a likelihood of confusion on the part of the public, which includes the likelihood of association with the earlier trade mark.
etc. etc.
๕ Section 43 Renewal of registration
(1) The registration of a trade mark may be renewed at the request of the proprietor, subject to payment of a renewal fee.
(2) Provision shall be made by rules for the registrar to inform the proprietor of a registered trade mark, before the expiry of the registration, of the date of expiry and the manner in which the registration may be renewed.
(3) A request for renewal must be made, and the renewal fee paid, before the expiry of the registration.
Failing this, the request may be made and the fee paid within such further period (of not less than six months) as may be prescribed, in which case an additional renewal fee must also be paid within that period.
(4) Renewal shall take effect from the expiry of the previous registration.
etc. etc.
๖ Section 7 Absolute grounds for refusal of registration
(1) The following shall not be registered:
etc. etc.
(3) A sign shall not be registered as a trade mark if it consists exclusively of-
(a) the shape which results from the nature of the goods themselves;
(b) the shape of goods which is necessary to obtain a technical result; or
(c) the shape which gives substantial value to the goods.
etc. etc.
๗ Section 8 Relative grounds for refusal of registration
(1) A trade mark shall not be registered if it is identical with an earlier trade mark and the goods or services for which the trade mark is sought to be registered are identical with the goods or services for which the earlier trade mark is protected.
etc. etc.
(3) Where an application for registration of a trade mark is made before 1st July 2004, if trade mark –
(a) is identical with or similar to an earlier trade mark; and
(b) is to be registered for goods or services which are not similar to those for which the earlier trade mark is protected, the later trade mark shall not be registered if-
(i) the earlier trade mark is well known in Singapore;
(ii) use of the later trade mark in relation to the goods or services for which the later trade mark is sought to be registered would indicate a connection between those goods or services and the proprietor of the earlier trade mark;
(iii) there exists a likelihood of confusion on the part of the public because of such use; and
(iv) the interests of the proprietor of the earlier trade mark are likely to be damaged by such use.
๘ section 19. Renewal of registration
(1) The registration of a trade mark may be renewed at the request of the proprietor, subject to payment of the free referred to in subsection (4) or the fees referred to in subsection (5), as the case may be.
(2) The Minister may make rules for the Registrar to inform the proprietor of a registered trade mark, before the expiry of the registration, of the date of expiry and the manner in which the registration may be renewed.
(3) A request for renewal shall be made not later than 6 months after the date of expiry of the registration.