Hot! พระราชบัญญัติใหม่เอาผิดคนสูบบุรี่ พ.ศ.2562

พระราชบัญญัติ

ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว

พ.ศ. ๒๕๖๒

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ

พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน

                          พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๘

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทาได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เหตุผลและความจาเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้

เพื่อดาเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว และการคุ้มครองสวัสดิภาพ อันจะเป็นประโยชน์

ในการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและพัฒนาสถาบันครอบครัว ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้

สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนําและยินยอมของ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครอง

สถาบันครอบครัว พ.ศ. ๒๕๖๒”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใน

ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว

พ.ศ. ๒๕๕๐

 

หมวด ๑

บททั่วไป

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

“ความรุนแรงในครอบครัว” หมายความว่า การกระทาใด ๆ ที่บุคคลในครอบครัวได้กระทํา

ต่อกันโดยเจตนาให้เกิดหรือในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ

เสรีภาพ หรือชื่อเสียง ของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อานาจครอบงาผิดคลองธรรมให้บุคคล

ในครอบครัวต้องกระทําการ ไม่กระทําการ หรือยอมรับการกระทําอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ

“บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กิน

หรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตรบุญธรรม รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพา

อาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน

“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ

“รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

“ศาล” หมายความว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวตามกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและ

ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบัน

ครอบครัว

“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ

ความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้หมายความรวมถึงพนักงาน

ฝ่ายปกครองหรือตารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

“หัวหน้าศูนย์” หมายความว่า หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว

“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

และให้มีอํานาจออกระเบียบและประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับ

ราชการของกระทรวงนั้น

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีอานาจแต่งตั้งพนักงาน

เจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

ระเบียบและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

 

 

หมวด ๒

คณะกรรมการ

มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและ

คุ้มครองสถาบันครอบครัว” ประกอบด้วย

(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ

(๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ

(๓) กรรมการโดยตาแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

อัยการสูงสุด และผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ

(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จานวนสิบห้าคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยการสรรหาจาก

ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว

ด้านการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน ด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาสตรี ด้านกฎหมาย

ด้านวัฒนธรรมและศาสนา ด้านการพัฒนาอาชีพ ด้านการพัฒนาการศึกษา ด้านการสาธารณสุข

ด้านการคุ้มครองผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม

และพัฒนา คุ้มครอง ป้องกัน หรือแก้ไขฟื้นฟูบุคคลในครอบครัว อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน

การสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข

ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กําหนดในระเบียบ

ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และมีอานาจแต่งตั้งข้าราชการในกรมกิจการสตรีและ

สถาบันครอบครัวจานวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) มีสัญชาติไทย

(๒) มีทัศนคติและความประพฤติเหมาะสมที่จะทําหน้าที่คุ้มครองผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรง

ในครอบครัว หรือส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว

(๓) ไม่เคยถูกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตรวจสอบแล้วเห็นว่าได้กระทําการอันเป็น

การละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เคยถูกคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการ

คุ้มครองเด็กจังหวัดตรวจสอบแล้วเห็นว่าได้กระทําการอันเป็นการปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบ

(๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(๖) ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากหน่วยงานของรัฐ

(๗) ไม่เคยถูกดําเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพอันเนื่องมาจากการกระทําความรุนแรงในครอบครัว

ตามพระราชบัญญัตินี้

(๘) ไม่เคยถูกลงโทษในการกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทําด้วย

ความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก กฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัว

และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

(๙) ไม่เคยได้รับโทษจาคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิด

ที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

มาตรา ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดารงตําแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับ

แต่งตั้งอีกได้ แต่จะดํารงตาแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้

ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตาแหน่งก่อนครบวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตาแหน่ง

เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน หากวาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตาแหน่ง ก่อน

ครบวาระเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่ดาเนินการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตาแหน่งที่ว่างนั้นก็ได้

ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทน ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่

เมื่อครบวาระการดารงตาแหน่งตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตาแหน่งนั้นอยู่ในตาแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่า

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่

ครบวาระการดารงตาแหน่ง หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตาแหน่งนั้น

จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปมิได้

มาตรา ๙ นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่ง

เมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดประชุมติดต่อกันเกินสามครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

(๔) คณะกรรมการมีมติให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่

หรือหย่อนความสามารถ

(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗

มาตรา ๑๐ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ

กรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

ให้รองประธานกรรมการทาหน้าที่แทนประธานกรรมการ ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ

ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน

ในที่ประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน

ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยปีละสามครั้ง

มาตรา ๑๑ คณะกรรมการมีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้

(๑) กาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนหลักในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและ

การคุ้มครองสวัสดิภาพ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี รวมทั้งกาหนดแผนงาน มาตรการ และ

แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพ

(๒) ติดตามและประเมินผลการดาเนินงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนหลัก แผนงาน

มาตรการ และแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพ รวมทั้งรายงานผล

เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเพื่อทราบ

อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

(๓) เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีหรือแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับ

การส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพ รวมทั้งเสนอความเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับ

บทบาทของประเทศไทยในระดับชาติและนานาชาติในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครอง

สวัสดิภาพ

(๔) ส่งเสริมให้มีการสนับสนุน ประสานงาน ติดตามผล และช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐ เอกชน

และภาคประชาสังคม ที่ดาเนินการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพ

(๕) ออกระเบียบหรือประกาศเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

(๖) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกาหนดให้เป็นหน้าที่และอานาจของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา ๑๒ คณะกรรมการมีอานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด

ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

ให้นาความในมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

 

 

หมวด ๓

ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว

มาตรา ๑๓ ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง

ของมนุษย์จังหวัดเป็นศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวในเขตพื้นที่จังหวัด และให้กรมกิจการสตรีและ

สถาบันครอบครัวเป็นศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และให้มีหน้าที่

และอานาจ ดังต่อไปนี้

(๑) ดาเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนหลัก แผนงาน มาตรการ และแนวทาง

ในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพ

(๒) ให้ความรู้ความเข้าใจ คาปรึกษาแนะนา และไกล่เกลี่ยประนีประนอม ในเรื่องของปัญหา

เกี่ยวกับครอบครัว รวมทั้งรับแจ้ง รวบรวม และประมวลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทาความรุนแรงใน

ครอบครัว เพื่อประโยชน์ในการยื่นคาร้องขอหรือคาแถลงต่อศาล และการคุ้มครองสวัสดิภาพ

(๓) เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพ

และเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการดาเนินการเพื่อส่งเสริมและ

พัฒนาครอบครัวและคุ้มครองสวัสดิภาพ

(๔) ดาเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือยื่นคาร้องขอหรือคาแถลงต่อศาลเพื่อดาเนินการคุ้มครอง

สวัสดิภาพ รวมทั้งดาเนินการให้เป็นไปตามคาสั่งศาลหรือคาสั่งของหัวหน้าศูนย์ในการคุ้มครองสวัสดิภาพ

(๕) ดาเนินการตามแผนงานและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่และบุคลากร

ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพ รวมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงาน

ของพนักงานเจ้าหน้าที่และบุคลากรในศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว

(๖) ติดตามและรายงานผลการดาเนินงานตามพระราชบัญญัตินี้ต่ออธิบดีและรัฐมนตรี

(๗) ให้ความช่วยเหลือหรือสงเคราะห์ครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลาบากตามระเบียบที่รัฐมนตรี

กําหนด

(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

ของครอบครัวหรือตัวแทนของครอบครัว เพื่อนาไปสู่การกาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนหลัก แผนงาน

มาตรการ และแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพโดยคณะกรรมการ

ต่อไป

(๙) ดาเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและการคุ้มครองสวัสดิภาพ

ตามที่กาหนดในพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะกรรมการหรือกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวมอบหมาย

มาตรา ๑๔ ให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือผู้ซึ่งพัฒนาสังคมและ

ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดมอบหมายเป็นหัวหน้าศูนย์ในพื้นที่จังหวัดนั้น สาหรับในเขตกรุงเทพมหานคร

ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นหัวหน้าศูนย์ เพื่อดาเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว

การคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือดําเนินการอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้หัวหน้าศูนย์หรือผู้ซึ่งหัวหน้าศูนย์มอบหมายเป็น

เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

 

 

หมวด ๔

ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

มาตรา ๑๕ องค์กรเอกชนใดที่มีวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและ

พัฒนาครอบครัว หรือการคุ้มครองสวัสดิภาพ อาจขอจดทะเบียนเป็นศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “ศพค.”

คุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียน การขอจดทะเบียน และการจดทะเบียน เป็น ศพค. ให้เป็นไป

ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

กาหนดในระเบียบ

มาตรา ๑๖ ศพค. อาจยื่นคาขอเพื่อให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาให้การช่วยเหลือหรือ

การสนับสนุนด้านการเงิน ด้านทรัพยากร ด้านวิชาการ ด้านพัฒนาบุคลากร หรือด้านอื่นใด

ในการดาเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว หรือการคุ้มครองสวัสดิภาพ

การยื่นคาขอรับการช่วยเหลือหรือการสนับสนุนดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ

และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกาหนดในระเบียบ

 

 

หมวด ๕

การส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว

มาตรา ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว ให้กรมกิจการสตรีและ

สถาบันครอบครัวประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อดาเนินการให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วย

การจดทะเบียนครอบครัว เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว ศพค.

หรือองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวมีความรู้และความเข้าใจในการส่งเสริม

และพัฒนาครอบครัว

ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่งเพื่อทําให้มีความรู้และความเข้าใจในการส่งเสริมและพัฒนา

ครอบครัวนั้น ประกอบด้วยความรู้ ดังต่อไปนี้

(๑) ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ความสมบูรณ์

ของการสมรส การสิ้นสุดแห่งการสมรส การเป็นบิดามารดากับบุตร สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและ

บุตร บุตรบุญธรรม ค่าอุปการะเลี้ยงดู รวมทั้งเรื่องมรดกและพินัยกรรม

(๒) ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือความรู้อื่นที่เกี่ยวกับครอบครัวและสถาบัน

ครอบครัว

(๓) ความรู้และทักษะในการเลือกคู่ครอง การดารงชีวิตคู่ ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และ

การควบคุมอารมณ์

(๔) ความรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อนและหลังการตั้งครรภ์ ความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูบุตร

(๕) ความรู้ในการประกอบอาชีพ การสร้างงานสร้างรายได้ การออม การจัดการทรัพย์สิน และ

การเข้าถึงแหล่งทุนสาหรับประกอบอาชีพ เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว

(๖) ความรู้ในสิทธิหน้าที่ความเป็นพลเมือง สิทธิและสวัสดิการ และแนวทางขอรับการช่วยเหลือ

จากหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชน

(๗) ความรู้อื่นใดเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว

ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวดาเนินการ

ให้เกิดการร่วมมือประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการส่งเสริมและพัฒนา

สถาบันครอบครัว

มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ชายหญิงใดประสงค์จะจดทะเบียนสมรส หากมีการร้องขอคาปรึกษา

หรือคาแนะนาในเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

อาจให้คาปรึกษาหรือคาแนะนาในเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวตามที่ได้มีการร้องขอนั้น หรือประสานศูนย์ส่งเสริม

และคุ้มครองครอบครัว ศพค. หรือองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว

ให้ดาเนินการแทนได้

ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนหย่า นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียน

ครอบครัวอาจให้คาปรึกษาหรือคาแนะนาแก่คู่สมรสซึ่งประสงค์จะจดทะเบียนหย่านั้น หรือประสาน

ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว ศพค. หรือองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและ

พัฒนาครอบครัวให้ดาเนินการแทนได้ ทั้งนี้ โดยคานึงถึงความสมัครใจของคู่สมรสดังกล่าว และ

ในการให้คาปรึกษาหรือคาแนะนาแก่คู่สมรสซึ่งประสงค์จะจดทะเบียนหย่านั้น ให้คานึงถึงสวัสดิภาพและ

อนาคตของบุตร การคุ้มครองดูแลและให้การศึกษาแก่บุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์เป็นสาคัญ หากคู่สมรสดังกล่าว

ยังคงประสงค์ที่จะจดทะเบียนหย่า ให้นายทะเบียนดาเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียน

ครอบครัวต่อไป

มาตรา ๑๙ ในกรณีที่มีปัญหาหรือต้องการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของครอบครัว

บุคคลในครอบครัวอาจขอคาปรึกษาหรือคาแนะนาเกี่ยวกับเรื่องของครอบครัวต่อศูนย์ส่งเสริมและ

คุ้มครองครอบครัว ศพค. หรือหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและ

พัฒนาครอบครัวได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ให้ผู้ซึ่งได้รับการร้องขอดังกล่าวให้คาปรึกษาหรือคาแนะนา

อย่างเหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวต่อไป

มาตรา ๒๐ ในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัว ให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือภาคเอกชน เพื่อทาการให้สิทธิประโยชน์หรือสิทธิพิเศษแก่

บุคคลในครอบครัวและประกาศการให้สิทธิประโยชน์หรือสิทธิพิเศษดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วกัน

ในกรณีที่ครอบครัวใดประสบความยากลาบากจนถึงขนาดที่ไม่อาจให้การดูแลและเลี้ยงดูบุคคล

ในครอบครัวได้ อาจร้องขอความช่วยเหลือที่ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว การให้ความช่วยเหลือแก่

ครอบครัวที่ประสบความยากลาบากดังกล่าวนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี

กาหนดในระเบียบ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

มาตรา ๒๑ ให้หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจดาเนินการตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และ

แผนหลักในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๑ (๑)

เพื่อให้มีการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวแก่บุคลากรในสังกัด

ในกรณีที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบกิจการใดประสงค์จะดาเนินการตามนโยบาย ยุทธศาสตร์

และแผนหลักในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวแก่

บุคลากรในสังกัด อาจขอให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาให้การช่วยเหลือหรือการสนับสนุนด้านทรัพยากร

ด้านวิชาการ การพัฒนาบุคลากร หรือการช่วยเหลือหรือการสนับสนุนอื่นใด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกาหนดในระเบียบ โดยคาแนะนาของคณะกรรมการ

 

 

หมวด ๖

การคุ้มครองสวัสดิภาพ

มาตรา ๒๒ การคุ้มครองสวัสดิภาพ เป็นการดาเนินการเพื่อให้บุคคลในครอบครัวได้รับ

ความปลอดภัย มีความสัมพันธ์ที่ดี และป้องกันการกระทาความผิดซ้า และให้หมายความรวมถึง

การดาเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) การคุ้มครองหรือการป้องกันบุคคลในครอบครัวไม่ให้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว

และการป้องกันการกระทาความผิดอาญาซึ่งมีลักษณะเป็นการกระทาความรุนแรงในครอบครัว

(๒) การส่งเสริมหรือการสนับสนุนไม่ให้เกิดการกระทาความรุนแรงในครอบครัว

(๓) การไกล่เกลี่ยหรือดาเนินการให้มีการประนีประนอมเมื่อเกิดการกระทาความรุนแรงใน

ครอบครัว

(๔) การเยียวยาหรือการบรรเทาทุกข์ผู้ซึ่งถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว

(๕) การบาบัดฟื้นฟูผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทาความรุนแรงในครอบครัว

(๖) การติดตามดูแลบุคคลในครอบครัวเมื่อเกิดการกระทาความรุนแรงในครอบครัว

มาตรา ๒๓ ผู้ใดพบเห็นหรือทราบว่ามีการกระทาความรุนแรงในครอบครัว ให้แจ้งข้อมูล

หรือข่าวสารกรณีดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและ

ความมั่นคงของมนุษย์ หรือแจ้งต่อศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวโดยตรง เพื่อให้การคุ้มครอง

สวัสดิภาพ

การแจ้งตามวรรคหนึ่งอาจกระทาโดยวาจา เป็นหนังสือ ทางโทรศัพท์ วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวเมื่อได้กระทาโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิด

ทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง

มาตรา ๒๔ เมื่อได้มีการแจ้งตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ให้ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว

ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวตามที่ได้รับแจ้งโดยไม่ชักช้า เพื่อดาเนินการ

คุ้มครองสวัสดิภาพต่อไป

มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษว่ามีการกระทาความผิดอาญาซึ่งพนักงาน

สอบสวนเห็นว่ามีลักษณะเป็นการกระทาความรุนแรงในครอบครัว ให้พนักงานสอบสวนส่งสาเนาบันทึก

การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษไปยังศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวที่ตั้งอยู่ในท้องที่นั้นโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้

ให้ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวที่ได้รับสาเนาบันทึกการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษดังกล่าวดาเนินการ

เพื่อให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพต่อไป

ในกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ดาเนินการตามวรรคหนึ่ง หากพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบคดี

เห็นว่าเป็นคดีอาญาที่มีลักษณะเป็นการกระทาความรุนแรงในครอบครัว ให้พนักงานอัยการนั้นแจ้งให้

ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวทราบด้วย

เมื่อได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือความปรากฏแก่ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครอง

ครอบครัวว่ามีการดาเนินคดีอาญาที่มีลักษณะเป็นการกระทาความรุนแรงในครอบครัว ในกรณีที่เห็นสมควร

หัวหน้าศูนย์อาจยื่นคาขอต่อศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาในระหว่างการดาเนินกระบวนพิจารณาคดี

เพื่อให้รอการพิพากษาคดีนั้นไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับรายงานผลการปฏิบัติตามคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ

ของศาลตามมาตรา ๒๙ หรือของศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวตามมาตรา ๓๗ ก็ได้

ในกรณีที่ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้รับคาขอตามวรรคสาม พิจารณาแล้วเห็นว่า

พฤติการณ์แห่งการกระทาเป็นภัยร้ายแรงและไม่เป็นประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้กระทา

ความรุนแรงในครอบครัว จะพิพากษาคดีโดยไม่รอการพิพากษาคดีนั้นไว้ก่อนก็ได้

มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญานั้นสั่งรอการพิพากษาคดีไว้

ให้ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวส่งคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพและผลการปฏิบัติตามคาสั่งคุ้มครอง

สวัสดิภาพต่อศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๒๗ ในกรณีที่เด็กอายุต่ากว่าสิบแปดปีเป็นผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวหรือ

เป็นผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว ให้ดาเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพโดยคานึงถึงประโยชน์สูงสุด

ของเด็กเป็นสาคัญ

มาตรา ๒๘ ในกรณีที่ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวเห็นสมควรให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพ

ให้มีอานาจยื่นคาร้องเพื่อให้ศาลมีคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพได้ โดยให้นาบทบัญญัติตามหมวด ๑๕

การพิจารณาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา

คดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและออกคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ

โดยอนุโลม และให้ถือว่าศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวเป็นองค์การซึ่งมีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพ

ครอบครัวตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

มาตรา ๒๙ ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวที่ยื่นคาร้องเพื่อให้ศาลมีคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ

อาจเสนอมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาการกระทาความรุนแรงในครอบครัว หรือเพื่อป้องกัน

การกระทาความรุนแรงในครอบครัวซ้าอีก ประกอบการพิจารณาของศาลด้วยก็ได้

มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพอาจเป็นการดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกาหนดระยะเวลา

(๒) ห้ามผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวก่อเหตุหรือยั่วยุด้วยประการใด ๆ ไม่ว่าจะโดยตรง

หรือโดยอ้อม อันจะก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว

(๓) ห้ามผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวเสพสุราหรือสิ่งเสพติดใด ๆ ตามกาหนดระยะเวลา

(๔) ห้ามผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวเข้าใกล้หรือเข้าไปในที่อยู่อาศัยของผู้ถูกกระทาด้วย

ความรุนแรงในครอบครัว หรือให้ออกไปจากที่อยู่อาศัยของผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว

(๕) ห้ามผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวก่อให้เกิดความเดือดร้อนราคาญแก่ผู้ถูกกระทาด้วย

ความรุนแรงในครอบครัว ทั้งนี้ รวมถึงการคุกคาม ติดตาม การสะกดรอย การถ่ายภาพ การโทรศัพท์

การส่งข้อความก่อความราคาญด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือด้วยวิธีการอื่นใดอันก่อให้เกิดความเดือดร้อน

ราคาญ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม

(๖) ให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับคาปรึกษาแนะนาทางจิตวิทยาสังคม หรือ

การแก้ไขบาบัดฟื้นฟู ณ สถานพยาบาลหรือสถานที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

(๗) ให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับการแก้ไขบาบัดฟื้นฟูอาการติดสุรา การพนัน

สิ่งเสพติดใด ๆ หรือพฤติกรรมอื่นใด ซึ่งเป็นต้นเหตุของการกระทาความรุนแรง ณ สถานพยาบาลหรือ

สถานบาบัด

(๘) ให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวทาทัณฑ์บน เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจจะไปก่อให้เกิด

ความเดือดร้อนราคาญตาม (๕) หรือก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่ผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงหรือ

บุคคลในครอบครัวขึ้นอีก โดยให้ผู้นั้นทาทัณฑ์บนไว้เป็นจานวนเงินตามแต่ศาลจะเห็นสมควร ว่าจะ

ไม่ก่อเหตุร้ายขึ้นอีกตลอดระยะเวลาที่กาหนด โดยจะให้วางประกันด้วยหรือไม่ก็ได้

(๙) ให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวส่งมอบอาวุธใด ๆ ซึ่งตนเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ต่อศูนย์ส่งเสริม

และคุ้มครองครอบครัวเพื่อให้ครอบครองไว้แทนจนกว่าพฤติกรรมของผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัว

จะเปลี่ยนไป หรือหากผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวเป็นเพียงผู้ครอบครองอาวุธดังกล่าวให้ส่งมอบต่อ

ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว และให้ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวแจ้งต่อเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์

เพื่อขอรับคืนอาวุธนั้น

(๑๐) ให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ถูกกระทาด้วย

ความรุนแรงในครอบครัวหรือบุคคลในครอบครัวที่มีการกระทาความรุนแรงในครอบครัว

(๑๑) ให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับการแก้ไขบาบัดฟื้นฟูหรือเข้ารับการรักษาอื่น

นอกจาก (๖) และ (๗) ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข

(๑๒) ขอให้ศาลมีคาสั่งถอนอานาจปกครองของผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวเสียทั้งหมด

หรือแต่บางส่วน หรือห้ามผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวติดต่อเด็กนั้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม

ตามระยะเวลาที่ศาลจะเห็นสมควร ในกรณีที่ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวได้กระทาต่อเด็กซึ่งตน

มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู

(๑๓) ขอให้ศาลมีคาสั่งถอนการเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่ผู้นั้นได้กระทาความรุนแรง

ในครอบครัวต่อผู้ซึ่งอยู่ในความอนุบาลหรืออยู่ในความพิทักษ์

มาตรา ๓๐ ในกรณีที่มีการร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วย

ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว โดยบุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ศูนย์ส่งเสริม

และคุ้มครองครอบครัว เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสวัสดิภาพ หัวหน้าศูนย์อาจยื่นคาร้องต่อศาล ขอให้

ศาลมีคาสั่งให้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวมาให้ความเห็นเกี่ยวกับ

การคุ้มครองสวัสดิภาพต่อศาล ก่อนที่ศาลจะมีคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพก็ได้

ในกรณีที่หัวหน้าศูนย์มิได้ยื่นคาร้องต่อศาล แต่ศาลเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการคุ้มครอง

สวัสดิภาพ ศาลอาจมีคาสั่งให้ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริม

และคุ้มครองครอบครัวมาให้ความเห็นเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพต่อศาล ก่อนที่ศาลจะมีคาสั่ง

คุ้มครองสวัสดิภาพก็ได้

มาตรา ๓๑ ในกรณีที่มีการร้องขอต่อศาลเพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพ หากศาลเห็นว่า

มีเหตุจาเป็นที่จะต้องให้ความคุ้มครองหรือช่วยเหลือผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือบุคคลใน

ครอบครัว ศาลอาจมีคาสั่งให้ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวดาเนินการให้ความคุ้มครองหรือ

ความช่วยเหลือแก่บุคคลดังกล่าว

มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ศาลมีคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัว

ต้องปฏิบัติตาม ศาลจะกาหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินกว่าหนึ่งปี เว้นแต่

การแก้ไขบาบัดฟื้นฟูหรือการรักษาสุขภาพกายหรือจิตใจของผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัว ในกรณี

ที่มีการเสนอข้อมูลทางการแพทย์มาเพื่อประกอบการพิจารณาของศาล ศาลอาจกาหนดเวลาเกินกว่า

หนึ่งปีก็ได้

ในกรณีที่ศาลสั่งให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวทาทัณฑ์บน และมีการกระทาผิดทัณฑ์บน

ให้นาความในมาตรา ๔๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๓๓ ในกรณีที่ศาลมีคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพตามมาตรา ๒๙ ศาลอาจมีคาสั่งให้

ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัว พนักงานเจ้าหน้าที่ ติดตามกากับให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัว

ปฏิบัติตามคาสั่งและรายงานให้ศาลทราบตามระยะเวลาที่เห็นสมควร และจะสั่งให้ผู้กระทาความรุนแรง

ในครอบครัว ผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาศาล

เพื่อสอบถามความเป็นไปหรือการปฏิบัติตามคาสั่งศาลก็ได้

มาตรา ๓๔ ผู้อยู่ภายใต้บังคับคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพของศาลผู้ใดจงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ

ตามคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลมีอานาจออกหมายจับผู้นั้นมาขังจนกว่าจะปฏิบัติ

ตามคาสั่ง แต่ไม่เกินกว่าหนึ่งเดือน ถ้าผู้นั้นได้รับการปล่อยชั่วคราว ศาลอาจกาหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติ

ในระหว่างการปล่อยชั่วคราวก็ได้

มาตรา ๓๕ ในกรณีที่ความปรากฏต่อศาลเอง หรือจากรายงานของศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครอง

ครอบครัว พนักงานเจ้าหน้าที่ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา หรือจากคาร้องหรือคาแถลงของ

ผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัว หรือบุคคลในครอบครัว

ว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับตัวผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวหรือความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของผู้นั้น

เปลี่ยนแปลงไป ศาลอาจมีคาสั่งยุติการคุ้มครองสวัสดิภาพก่อนครบระยะเวลาที่กาหนดไว้หรืออาจมีคาสั่ง

เปลี่ยนแปลงคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพโดยเพิ่มเติมหรือลดเงื่อนไขหรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาในการคุ้มครอง

สวัสดิภาพก็ได้

ในกรณีที่ศาลมีคาสั่งเปลี่ยนแปลงคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพซึ่งจะทาให้เกิดผลกระทบแก่ผู้กระทา

ความรุนแรงในครอบครัวมากขึ้น ศาลจะสอบถามข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้กระทาความรุนแรงใน

ครอบครัว หรือจะให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวยื่นคาแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาล เพื่อใช้

ประกอบการพิจารณาของศาลก่อนที่จะมีคาสั่งเปลี่ยนแปลงคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพก็ได้

มาตรา ๓๖ ในกรณีที่เกิดการกระทาความรุนแรงในครอบครัวและศาลมีคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ

ประกอบกับผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวถูกดาเนินคดีอาญาอันเนื่องมาจากการกระทาความรุนแรงใน

ครอบครัวด้วย หากผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวได้ปฏิบัติตามคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพครบถ้วนแล้ว

ให้ความผิดทางอาญานั้นมีผล ดังต่อไปนี้

(๑) หากการกระทาความรุนแรงในครอบครัวเป็นความผิดตามมาตรา ๒๙๕ มาตรา ๓๗๙

มาตรา ๓๙๑ มาตรา ๓๙๒ มาตรา ๓๙๓ มาตรา ๓๙๗ และมาตรา ๓๙๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

ให้ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้

(๒) ในคดีอาญา ให้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญารับฟังผลการปฏิบัติตามคาสั่งคุ้มครอง

สวัสดิภาพ และนามาประกอบการพิจารณาว่าเป็นเหตุอันควรปรานีในการรอการลงโทษหรือรอการกาหนดโทษ

ตามมาตรา ๕๖ หรือเป็นเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา ๗๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

(๓) การกระทาความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นคดีอาญาซึ่งผู้กระทาความผิดได้กระทา เนื่องจาก

ตนเองถูกกระทาด้วยความรุนแรงหรือถูกกระทาโดยมิชอบซ้ากันอย่างต่อเนื่องจนเป็นเหตุให้เกิด

ความกระทบกระเทือนต่อร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรง และได้มีการยื่นคาแถลงเพื่อประกอบการพิจารณา

ของศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาแล้ว ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกาหนดไว้สาหรับ

ความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

มาตรา ๓๗ ในกรณีจาเป็นเร่งด่วนที่หากรอช้าไปจะเกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ

ของบุคคลในครอบครัว ซึ่งไม่อาจขอต่อศาลตามมาตรา ๒๙ ได้ทันการณ์ ให้หัวหน้าศูนย์มีอานาจ

ออกคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพตามมาตรา ๒๙ (๓) (๕) (๖) และ (๙) ชั่วคราวได้เท่าที่จาเป็น

มาตรา ๓๘ เมื่อได้มีคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพตามมาตรา ๓๗ แล้ว ให้หัวหน้าศูนย์

ยื่นคาร้องพร้อมกับส่งคาสั่งดังกล่าวต่อศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่ได้ออกคาสั่งนั้น หากศาลพิจารณาแล้ว

เห็นชอบด้วย ให้คาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพนั้นมีผลใช้บังคับได้ต่อไป ในกรณีที่ศาลไม่เห็นชอบกับคาสั่ง

คุ้มครองสวัสดิภาพดังกล่าวทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือมีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป

ให้ศาลทาการไต่สวนและมีคาสั่งโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ศาลจะแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง เพิกถอนคาสั่ง

คุ้มครองสวัสดิภาพดังกล่าว หรือจะสั่งเป็นอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๓๙ เมื่อมีการแจ้งตามมาตรา ๒๓ หรือมีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษตามประมวล

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือผู้เสียหายเป็นผู้ฟ้องคดีอาญาอันมีลักษณะเป็นการกระทาความรุนแรง

ในครอบครัวแล้ว ห้ามผู้ใดลงพิมพ์โฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งภาพ เรื่องราว

หรือข้อมูลใด ๆ ซึ่งจะทาให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว ผู้กระทา

ความรุนแรงในครอบครัว หรือบุคคลในครอบครัว

การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว ผู้กระทาความรุนแรงใน

ครอบครัว หรือบุคคลในครอบครัว ในกรณีที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา หรือเพื่อประโยชน์ของ

ทางราชการหรือประโยชน์สาธารณะ หากเป็นข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก

บุคคลผู้นั้น และในการเปิดเผยต้องไม่ระบุชื่อหรือข้อมูลส่วนที่ทาให้รู้ว่าเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลใด

ถ้าหากการเปิดเผยนั้นจะเป็นการรุกล้าสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร หรือจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต

สุขภาพ หรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด จะทาการเปิดเผยไม่ได้ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูล

ดังกล่าวต้องดาเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารด้วย

มาตรา ๔๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่และอานาจ

ดังต่อไปนี้

(๑) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่เกิดเหตุ เมื่อได้พบเห็นการกระทาความรุนแรงในครอบครัว

หรือได้รับแจ้งตามมาตรา ๒๓

(๒) มีหนังสือเรียกผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว

หรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคาหรือข้อเท็จจริง รวมทั้งให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นใด เพื่อประกอบ

การพิจารณาดาเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพ

(๓) ตรวจสอบ ประเมินสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น รวบรวมข้อเท็จจริงและสาเหตุเกี่ยวกับการกระทา

ความรุนแรงในครอบครัว รายงานความเห็นหรือผลการตรวจของผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้อง และ

สรุปประมวลผล เพื่อให้หัวหน้าศูนย์พิจารณาออกคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณา

ออกคาสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือดาเนินการอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้

(๔) ดาเนินการให้ผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัวได้รับการช่วยเหลือและความคุ้มครอง

ในเบื้องต้นเป็นการชั่วคราว ได้เข้ารับการตรวจรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์ ได้รับคาปรึกษาแนะนาจาก

จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนได้รับการเยียวยา บาบัดฟื้นฟู หรือการช่วยเหลืออื่นใด

ตามความเหมาะสม

(๕) ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตารวจ เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล หรือ

พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเพื่อดาเนินการตาม (๔)

(๖) ค้นเคหสถานหรือสถานที่เกิดเหตุเพื่อหาและช่วยเหลือผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว

(๗) จัดทารายงานผลการปฏิบัติหน้าที่เสนอต่อหัวหน้าศูนย์เมื่อได้ดาเนินการเรื่องใดแล้วเสร็จ

(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัวหรือการคุ้มครองสวัสดิภาพ

ตามที่ศาลสั่งหรือหัวหน้าศูนย์มอบหมาย

การค้นตาม (๖) ต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควรเชื่อว่า หากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้

ผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัวอาจถูกประทุษร้ายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกาย

ให้ดาเนินการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ว่าด้วยการค้น

ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) (๔) และ (๖) ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอานวยความสะดวกตามสมควร

มาตรา ๔๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดง

บัตรประจาตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง

บัตรประจาตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม

และความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกาหนด

มาตรา ๔๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงาน

ตามประมวลกฎหมายอาญา

 

 

หมวด ๗

บทกาหนดโทษ

มาตรา ๔๓ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๐ (๑) (๔) หรือ (๖) ต้องระวางโทษ

จาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

 

มาตรา ๔๔ ผู้ใดไม่อานวยความสะดวกตามสมควรตามมาตรา ๔๐ วรรคสาม ต้องระวางโทษ

ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา ๔๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน

หกหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๔๖ ผู้ใดถูกพิพากษาลงโทษจาคุกและคดีถึงที่สุดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ซึ่งต้องรับโทษโดยมีเหตุตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๖ (๓) ถ้าผู้นั้นยังไม่ได้รับโทษ หรืออยู่ในระหว่าง

การรับโทษตามคาพิพากษา ผู้นั้นเอง บุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคล

ดังกล่าว อาจยื่นคาร้องต่อศาลที่มีคาพิพากษาถึงที่สุด เพื่อขอให้ศาลดาเนินการไต่สวนและกาหนดโทษแก่

ผู้นั้นเสียใหม่ได้

มาตรา ๔๗ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ หรือคาสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง

ผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้

ใช้บังคับ ให้ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีระเบียบหรือ

ประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

 

หมายเหตุ : – เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทา

ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ มีการกาหนดฐานความผิดอาญาที่ไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ใน

การลดการกระทาความรุนแรงในครอบครัวที่ประสงค์ให้ผู้กระทาความรุนแรงในครอบครัวมีโอกาสกลับตัวและยับยั้งการกระทาความผิดซ้า และหน้าที่และอานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในปัจจุบัน นอกจากนี้ ไม่มีบทบัญญัติในการบูรณาการความร่วมมือกันทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาเกิดความซ้าซ้อนกับการกระทาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา สมควรยกเลิกความผิดอาญาฐานกระทา

ความรุนแรงในครอบครัว ปรับปรุงมาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่บุคคลในครอบครัว และกาหนดมาตรการในการส่งเสริม พัฒนา

และคุ้มครองสถาบันครอบครัว เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นไปอย่างมี

ประสิทธิภาพ ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กาหนดให้รัฐพึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของ

ครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สาคัญของสังคม รวมทั้งคุ้มครองป้องกันบุคคลในครอบครัวจาก

การกระทาความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมและกาหนดให้มีการบาบัด ฟื้นฟู และเยียวยาผู้ถูกกระทาการดังกล่าว จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino! Martian Wallet is a secure and user-friendly platform for managing your cryptocurrencies. It supports various assets and offers seamless transactions for both beginners and experts. Learn more at martianwallet.net. MetaMask Extension