Hot! พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐

พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐
—————————————————

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
                                      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
                                     โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
                                     จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม
ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
                                     มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐”
                                      มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                                      มาตรา ๓  ในพระราชบัญญัตินี้
                                     “ระบบคอมพิวเตอร์”  หมายความว่า  อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่
เชื่อการทำงานเข้าด้วยกัน  โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง  ชุดคำสั่ง  หรือสิ่งอื่นใด  และแนวทางปฏิบัติงาน
ให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
                                     “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด
บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึง
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฏหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
                                     “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของ
ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของ
บริการ หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
                                     “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
                                     (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดย
ประการอื่น  โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์  ทั้งนี้  ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง  หรือ  ในนามหรือ
เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                                     (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                                     “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการ
หรือไม่ก็ตาม
                                     “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                                     “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                                     มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                                     กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
_____________
                                      มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง
โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                      มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น
เป็นการเฉพาะ  ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น  ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี  หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                      มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง
โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี  หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                    มาตรา ๘ ผูใดกระทําด วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส
เพื่อดักรับไวซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรของผูอื่นที่อยูระหวางการสงในระบบคอมพิวเตอร และข้อมูลคอมพิวเตอรนั้น
มิไดมีไว เพื่อประโยชนสาธารณะหรือเพื่อใหบุคคลทั่วไปใชประโยชนไดตองระวางโทษจําคุกไมเกิน สามป
หรือปรับไมเกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
                                     มาตรา ๙ ผูใดทําใหเสียหาย ทําลาย แกไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไมวาทั้งหมด
หรือบางสวน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรของผูอื่นโดยมิชอบ ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหาป หรือปรับไมเกิน
หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
                                    มาตรา ๑๐ ผูใดกระทําด วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให การทํางานของระบบ
คอมพิวเตอรของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไมสามารถทํางานตามปกติได ต้องระวางโทษ
จําคุกไมเกินหาป หรือปรับไมเกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
                                    มาตรา ๑๑ ผูใดสงข้ออมูลคอมพิวเตอรหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกสแกบุคคลอื่นโดย
ปกปดหรือปลอมแปลงแหลงที่มาของการสงข้อมูลดังกลาว อันเปนการรบกวนการใช ระบบคอมพิวเตอรของ
บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไมเกินหนึ่งแสนบาท
                                    มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
                                    (๑) กอให เกิดความเสียหายแกประชาชน ไมวาความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือ
ในภายหลังและไมวาจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไมตองระวางโทษจําคุกไมเกินสิบป และปรับไมเกิน สองแสนบาท
                                    (๒) เป็นการกระทําโดยประการที่นาจะเกิดความเสียหายตอข้อมูลคอมพิวเตอร หรือระบบ
คอมพิวเตอรที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทาง
เศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําตอข้อมูลคอมพิวเตอรหรือ ระบบคอมพิวเตอรที่มีไว้
เพื่อประโยชนสาธารณะ ตองระวางโทษจําคุกตั้งแตสามปถึงสิบหาป และ ปรับตั้งแตหกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
                                    ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป นเหตุให ผู อื่นถึงแกความตาย ตองระวางโทษ
จําคุกตั้งแต สิบปถึงยี่สิบปี
                                    มาตรา ๑๓  ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้
เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕  มาตรา ๖  มาตรา ๗  มาตรา ๘  มาตรา ๙  มาตรา ๑๐
หรือมาตรา ๑๑  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี  หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                    มาตรา ๑๔  ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                    (๑)  นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
                                    (๒)  นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะ
เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
                                    (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้อยตามประมวลกฎหมายอาญา
                                    (๔)  นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
                                    (๕)  เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)
(๒) (๓) หรือ (๔)
                                   มาตรา ๑๕  ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดมาตรา ๑๔
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
                                    มาตรา ๑๖  ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น  และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น  ตัดต่อ  เติม  หรือดัดแปลง
ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด  ทั้งนี้  โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น
ถูกเกลียดชัง  หรือได้รับความอับอาย  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี  หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท  หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ
                                    ถ้าการกระทำตามวรรหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
                                    ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
                                    ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส
หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
                                    มาตรา ๑๗  ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักร และ
                                    (๑)  ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย  และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น
หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ  หรือ
                                    (๒)  ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว  และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
                                    จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด  ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
____________
                                    มาตรา ๑๘  ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มี
เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้  เฉพาะที่จำเป็นเพื่อนประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
                                    (๑)  มีหนังสือสอบถามอหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาเพื่อให้ถ้อยคำ  ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ  หรือส่งเอกสาร  ข้อมูล  หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
                                    (๒)  เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบ
คอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
                                    (๓)  สั่งให้ผู้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่
ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                                    (๔)  ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์  ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์  จากระบบคอมพิวเตอร์
ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้  ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ใน
ความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
                                    (๕)  สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์  หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์  ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์  หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                                    (๖)  ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์  ข้อมูลคอมพิวเตอร์  ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ๊ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด  อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด
หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์  ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
ที่เกี่ยวข้อเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
                                    (๗)  ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด  หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ
เข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์  ทำการถอดรหัสลับ  หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
                                    (๘)  ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียด
แห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
                                    มาตรา ๑๙  การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง
ทั้งนี้  คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้  เหตุที่ต้องใช้อำนาจ  ลักษณะของการกระทำความผิด  รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ใน
การกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด  เท่าที่สามารถจะระบุได้  ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาล
พิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
                                    เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนา
บันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์
อยู่ ณ ที่นั้น  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครองครองดังกล่าวในทันที
ที่กระทำได้
                                    ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจ
ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ  เพื่อเป็นหลักฐาน
                                    การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อ
ได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้  และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของ
เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
                                    การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรือ
อายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะ
สั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น  ให้ยื่นคำร้อง
ต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลาหรือยึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือ
หลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน  เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลา
ดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน
                                    หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                                    มาตรา ๒๐  ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลาย
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง
ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา  หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง
พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์นั้นได้
                                    ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้
แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
                                    มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพวิเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึง
ประสงค์รวมอยู่ด้วย  พนักงานเจ้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้าม
จำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย
หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอ์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือ
เผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
                                    ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ
ระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไเขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม
ขัดข่้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้  หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น  ตามที่รัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                                    มาตรา ๒๒  ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูล
จราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ทีไ่ด้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
                                    ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้  หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
                                    พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                    มาตรา ๒๓  พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ให้บริการที่ได้มาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                    มาตรา ๒๔  ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของ
ผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                    มาตรา ๒๕  ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่
ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ
มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
                                    มาตรา ๒๖  ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการ
ผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
และเฉพาะคราวก็ได้
                                    ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการฃ
นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
                                    ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                                    ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
                                    มาตรา ๒๗  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
                                    มาตรา ๒๘  การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนครีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้
และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
                                    มาตรา ๒๙  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจหรือรับคำร้องทุกข์
หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
                                    ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงาน
สอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงาน
สอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
                                    ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกัน
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
                                    มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่  พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
                                    บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์  จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น
ส่วนสำคัญของการประกอบกิจารกและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆให้ระบบ
คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือ
ใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือ
ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิด
ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ  รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรม
อันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็น
ต้องตราพระราชบัญญัตินี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino! Martian Wallet is a secure and user-friendly platform for managing your cryptocurrencies. It supports various assets and offers seamless transactions for both beginners and experts. Learn more at martianwallet.net. To manage your Solana assets effortlessly, use phantom login for secure access to your wallet and quick interactions with NFTs and decentralized applications. Visit the metamask website to download the wallet extension for securely managing crypto assets and interacting with decentralized apps.