Hot! พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  (ฉบับที่ ๓๔) พ.ศ.  ๒๕๖๒

พระราชบัญญัติ

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  (ฉบับที่ ๓๔)

พ.ศ.  ๒๕๖๒

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วนที่  ๑๗  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๖๒

เป็นปีที่ ๔  ในรัชกาลปัจจุบัน

            สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

            โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ซึ่งมาตรา  ๒๖  ประกอบกับมาตรา  ๒๘  และมาตรา  ๒๙  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้  เพื่อให้ การเรียกประกันและหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความเหมาะสมกับสภาพสังคม ในปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยให้ต้องมีประกันหรือหลักประกันไว้ต่อเจ้าพนักงาน หรือศาลจนเกินสมควร  ควบคู่ไปกับการคุ้มครองความปลอดภัยแก่สาธารณชนไม่ให้ได้รับอันตรายจาก ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่หลบหนี รวมทั้งป้องกันมิให้มีการฟ้องคดีอาญาโดยไม่สุจริตอันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลอื่น ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา  ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา  (ฉบับที่  ๓๔)  พ.ศ.  ๒๕๖๒”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๑๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่  ๒๒)  พ.ศ.  ๒๕๔๗  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๑๐ ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป  ผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน

และจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้”

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๑๑๗ แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา  (ฉบับที่  ๒๒)  พ.ศ.  ๒๕๔๗

“ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองเป็นบุคคลที่ศาลสั่งปล่อยชั่วคราว  ศาลอาจ มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลดำเนินการแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น หรือถ้ามีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานได้ทันท่วงที  ก็ให้มีอำนาจจับผู้ต้องหา หรือจำเลยได้ และเมื่อจับได้แล้ว  ให้นำผู้ถูกจับไปยังศาลโดยเร็ว”

มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๖๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา

“มาตรา ๑๖๑/๑ ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ หากความปรากฏต่อศาลเองหรือมีพยานหลักฐานที่ ศาลเรียกมาว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง  เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลย หรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ให้ศาลยกฟ้อง  และห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้อง ในเรื่องเดียวกันนั้นอีก

การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงการที่โจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งหรือ คำพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรด้วย”

 

ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

บัญญัติเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้การปล่อยชั่วคราวในคดีที่มีอัตรา โทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปีขึ้นไปต้องมีประกัน อาจจะเป็นภาระแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย ทั้งที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีพฤติกรรมจะหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น สมควร ขยายอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเป็นสิบปีขึ้นไปเพื่อให้โอกาสผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวมากขึ้น อันจะเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติว่าในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี โดยคำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณา  และจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่ กรณีมิได้ ทั้งยังให้เจ้าพนักงานศาลมีอำนาจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีในระหว่างที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นด้วย นอกจากนี้  หากปรากฏว่ามีการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยในหลายกรณี หรือฟ้องคดีโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้ ตามปกติธรรมดา  อันเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ที่ถูกฟ้องร้องและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องให้ศาลมีอำนาจยกฟ้อง ดังนั้น  เพื่อให้ระบบการปล่อยชั่วคราวและการพิจารณาพิพากษาคดีอาญามีความเหมาะสมกับ สภาพสังคมในปัจจุบันและสามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino! Martian Wallet is a secure and user-friendly platform for managing your cryptocurrencies. It supports various assets and offers seamless transactions for both beginners and experts. Learn more at martianwallet.net. To manage your Solana assets effortlessly, use phantom login for secure access to your wallet and quick interactions with NFTs and decentralized applications. Visit the metamask website to download the wallet extension for securely managing crypto assets and interacting with decentralized apps.