Hot! พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒

พระราชบัญญัติ

ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗)

พ.ศ.  ๒๕๖๒

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ  บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วันที่  ๑๗  กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔  ในรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ  บดินทรเทพยวรางกูร  มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

 

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ซึ่งมาตรา  ๒๖  ประกอบกับมาตรา  ๒๘  มาตรา  ๓๔  มาตรา  ๓๗  มาตรา  ๓๘  และมาตรา  ๔๐ ของรัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระท าได้โดยอาศัยอ านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อกำหนด มาตรการในการควบคุมยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและสอดคล้อง ตามหลักสากล ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยค าแนะน าและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติท าหน้าที่รัฐสภา  ดังต่อไปนี้

มาตรา    ๑     พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  “พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  (ฉบับที่  ๗) พ.ศ.  ๒๕๖๒”

มาตรา    ๒     พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา    ๓     ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา  ๙  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒

“ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมสุขภาพจิต นายกแพทยสภา นายกสภาการแพทย์แผนไทย และนายกสภาเภสัชกรรม เป็นกรรมการในคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ให้โทษตามวรรคหนึ่งเพิ่มขึ้นด้วย เฉพาะในวาระที่เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕”

มาตรา    ๔     ให้ยกเลิกความใน  (๖)  ของมาตรา  ๑๓  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ

พ.ศ.  ๒๕๒๒  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๖) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีในการอนุญาตให้ผลิต  จ าหน่าย  น าเข้า ส่งออก  หรือมีไว้ ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๔”

มาตรา    ๕     ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น  (๖/๑)  (๖/๒)  (๖/๓)  และ  (๖/๔)  ของมาตรา  ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒

“(๖/๑) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีในการออกประกาศตามมาตรา ๒๖/๒ (๓) มาตรา ๒๖/๔ (๑)

และมาตรา  ๒๖/๕  (๒)  และปฏิบัติการตามมาตรา  ๒๖/๖  และมาตรา  ๕๘/๒

(๖/๒)   ให้ความเห็นชอบต่อผู้อนุญาตในการอนุญาตให้ผลิต น าเข้า  หรือส่งออกซึ่งยาเสพติด ให้โทษในประเภท  ๕  ตามมาตรา  ๒๖/๒  (๑)  และ  (๒)

(๖/๓)   ให้ความเห็นชอบในการออกกฎกระทรวงตามมาตรา  ๒๖/๕  (๗) (๖/๔)          ประกาศก าหนดลักษณะกัญชง  (Hemp)  ตามมาตรา  ๒๖/๒  (๒)”

มาตรา    ๖     ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.  ๒๕๒๒  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๒๒  ในการน าเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๓  หรือประเภท  ๕ ของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา  ๒๐  หรือมาตรา  ๒๖/๒  (๑)  หรือ  (๒)  แล้วแต่กรณี  แต่ละครั้ง ต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้งที่น าเข้าหรือส่งออกจากผู้อนุญาตด้วย”

มาตรา    ๗     ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.  ๒๕๒๒  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๒๓ ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๖/๒ (๑) และ (๒)  และ มาตรา ๒๖/๓ ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับใบอนุญาตประสงค์ จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นค าขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นค าขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้ จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น”

มาตรา    ๘     ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา  ๒๖  ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต  จ าหน่าย น าเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด ให้โทษในประเภท  ๔  เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเป็นราย ๆ  ไป การมียาเสพติดให้โทษในประเภท  ๔  ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป

ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๖/๒  มาตรา  ๒๖/๓  มาตรา  ๒๖/๔ มาตรา ๒๖/๕ และมาตรา ๒๖/๖ ในหมวด ๒ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับ ยาเสพติดให้โทษ  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒

“มาตรา ๒๖/๒  ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต  น าเข้า  หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท   ๕ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑)   ในกรณีจ าเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์  การรักษาผู้ป่วย  หรือการศึกษาวิจัย และพัฒนา ทั้งนี้ ให้รวมถึงการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์  หรืออุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ ทางการแพทย์ด้วย  ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

(๒) ในกรณีที่เป็นกัญชง (Hemp) ซึ่งเป็นพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp.  sativa  และมีลักษณะตามที่คณะกรรมการก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งได้น าไป ใช้ประโยชน์ตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง ให้กระท าได้เมื่อได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการ

(๓)   ในกรณีที่เป็นการน าติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินปริมาณที่จ าเป็น ส าหรับใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ผู้ประกอบ วิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา ให้กระท าได้ เมื่อได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

การผลิต  นำเข้า  หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  มีปริมาณตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป ให้สันนิษฐานว่าเป็นการผลิต  นำเข้า  หรือส่งออกเพื่อจำหน่าย

การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขที่ ก าหนดในกฎกระทรวง

ในการพิจารณาอนุญาต ให้ผู้ขออนุญาตเป็นผู้รับผิดชอบช าระค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ หรือประเมินเอกสารทางวิชาการ หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา  ๒๖/๓  ห้ามมิให้ผู้ใดจ าหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต

การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจ าหน่าย

การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขที่ ก าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๖/๔  บทบัญญัติมาตรา  ๒๖/๓  ไม่ใช้บังคับแก่

(๑)   การมียาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ไว้ในครอบครองไม่เกินปริมาณที่จ าเป็นส าหรับ ใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ผู้ประกอบวิชาชีพ ทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ หมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศ ก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

(๒)   การมียาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ไว้ในครอบครองไม่เกินปริมาณที่จ าเป็นส าหรับ ใช้ประจ าในการปฐมพยาบาล หรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือ เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่นใดที่ใช้ใน การขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักร แต่ถ้ายานพาหนะดังกล่าว จดทะเบียนในราชอาณาจักร  ให้ยื่นค าขอรับใบอนุญาตตามมาตรา  ๒๖/๓

มาตรา  ๒๖/๕  ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ผลิต  น าเข้า  ส่งออก  จ าหน่าย  หรือมีไว้ ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ได้เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาตเป็น

(๑)   หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม  และแก้ไขปัญหายาเสพติด  หรือสภากาชาดไทย

(๒) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ รัฐมนตรีประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

(๓) สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและ จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์

(๔)   ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์  ซึ่งด าเนินการภายใต้ความร่วมมือและก ากับดูแลของผู้ขออนุญาต ตาม (๑) หรือ (๓) ทั้งนี้ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมดังกล่าว  สามารถร่วมผลิตและพัฒนา สูตรต ารับยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพรได้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์  ภายใต้ความร่วมมือและก ากับ ดูแลของผู้ขออนุญาตตาม  (๑)  หรือ  (๓)  ด้วย

(๕)   ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ

(๖)   ผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจ าเป็นต้องน ายาเสพติดให้โทษในประเภท   ๕ ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว

(๗)   ผู้ขออนุญาตอื่นตามที่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการก าหนดในกฎกระทรวงผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) และ (๗) ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องมีสัญชาติไทย และมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย และกรรมการของ นิติบุคคล หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อยสองในสามต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยและมีส านักงานในประเทศไทย

คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตในกรณีกัญชง (Hemp)  ตามมาตรา  ๒๖/๒  (๒) ให้เป็นไปตามที่ ก าหนดในกฎกระทรวง

ในการพิจารณาอนุญาตแก่ผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม  ผู้อนุญาตจะต้องค านึงถึง ความจ าเป็นในการผลิต น าเข้า ส่งออก จ าหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองตามที่ขออนุญาต  ในการนี้ ผู้อนุญาตจะก าหนดเงื่อนไขการอนุญาตตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้

มาตรา ๒๖/๖ ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย การลดอันตรายจาก การใช้ยาเสพติดให้โทษ หรือการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ อาจมีมติให้ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการก าหนดเขตพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใด เพื่อกระท าการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ก็ได้

(๑)   ทดลองเพาะปลูกพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕

(๒)   ผลิตและทดสอบเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕

(๓)   เสพหรือครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ในปริมาณที่ก าหนด

การกำหนดเขตพื้นที่และการกระท าการตามวรรคหนึ่ง   ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอย่างนอยต้องมีมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเสพและการครอบครอง ยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ด้วย

ให้การกระทำการในเขตพื้นที่ที่กำหนดในวรรคหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมและตรวจสอบ การเสพและการครอบครองยาเสพติดให้โทษตามวรรคสองไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้”

มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๒๗   ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา  ๑๗  และผู้รับอนุญาตตามมาตรา  ๒๖/๓

จำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ และประเภท ๕ แล้วแต่กรณี  นอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต” มาตรา  ๑๑      ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๓๔/๑  มาตรา  ๓๔/๒  มาตรา  ๓๔/๓  และ

มาตรา  ๓๔/๔  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒

“มาตรา ๓๔/๑ ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิตแสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาเสพติด ให้โทษในประเภท  ๕  ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่ก าหนด ในกฎกระทรวง

(๒)   จัดให้มีการวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ที่ผลิตขึ้นก่อนน าออกจากสถานที่ผลิต  โดยต้องมีการวิเคราะห์ทุกครั้ง  และมีหลักฐานแสดงรายละเอียดซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ ทั้งนี้  ตามที่ก าหนด ในกฎกระทรวง

(๓)   จัดให้มีฉลากและเอกสารก ากับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  หรือค าเตือน  หรือ ข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ที่ผลิตขึ้น ทั้งนี้  ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่คณะกรรมการก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(๔) จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เป็นสัดส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น และ เก็บในที่ซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน

(๕)   ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ถูกโจรกรรม  สูญหาย  หรือถูกท าลาย  ต้องแจ้ง เป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า

(๖)   ปฏิบัติการอื่นตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา  ๓๔/๒  ให้ผู้รับอนุญาตน าเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ท าการของผู้รับอนุญาตแสดงว่า เป็นสถานที่น าเขาหรือส่งออกซงยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ลักษณะและขนาดของป้ายและขอความ ที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง

(๒)   จัดให้มีใบรับรองของผู้ผลิตแหล่งเดิม แสดงรายละเอียดผลการวิเคราะห์คุณภาพยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ที่น าเข้าหรือส่งออก

(๓)    จัดให้มีฉลากและเอกสารก ากับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  หรือค าเตือน  หรือ ข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ที่น าเข้าหรือส่งออก  ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขที่คณะกรรมการก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๔)  จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  เป็นสัดส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น  และ

เก็บในที่ซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน

(๕)    ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกท าลาย  ต้องแจ้ง เป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า

(๖)   ปฏิบัติการอื่นตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๔/๓  ให้ผู้รับอนุญาตจ าหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ ปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑)    จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  เป็นสัดส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น  และ เก็บในที่ซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน

(๒)   ดูแลให้มีฉลากและเอกสารก ากับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  หรือค าเตือน  หรือข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ มิให้ช ารุดบกพร่อง

(๓)    ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกท าลาย  ต้องแจ้ง เป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า

(๔)   ปฏิบัติการอื่นตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๔/๔ ให้ผู้รับอนุญาตผลิต น าเข้า ส่งออก จ าหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพตดิ ให้โทษในประเภท  ๕  จัดให้มีการท าบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษและเสนอรายงานต่อเลขาธิการ เป็นรายเดือนและรายปี  บัญชีดังกล่าวให้เก็บรักษาไว้และพร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ทุกเวลาในขณะเปิดท าการ  ทั้งนี้  ภายในห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชี

บัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษและรายงานตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการ ก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา”

มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๔๘   ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณายาเสพติดให้โทษ  เว้นแต่

(๑) เป็นการโฆษณายาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๕ ซึ่งกระทา โดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ให้รวมถึง การโฆษณากับผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ หมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้วย หรือ

(๒)   เป็นฉลากหรือเอกสารก ากับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๒  ประเภท  ๓ ประเภท  ๔

หรือประเภท  ๕  ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๒  ประเภท  ๓  ประเภท  ๔ หรือประเภท  ๕

โฆษณาตามวรรคหนึ่งที่เป็นเอกสาร ภาพ ภาพยนตร์ การบันทึกเสียงหรือภาพ ต้องได้รับอนุญาต จากผู้อนุญาตก่อนจึงจะใช้โฆษณาได้

การขออนุญาตและการอนุญาต  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่ก าหนดใน กฎกระทรวง”

มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๗ และมาตรา ๕๘  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๕๗  ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๑

มาตรา ๕๘ ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ เว้นแต่การเสพนั้นเป็น การเสพเพื่อการรักษาโรคตามค าสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา  ๑๗

ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เว้นแต่การเสพนั้นเป็นการเสพเพื่อการรักษาโรค ตามค าสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม  ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์  หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์ แผนไทย ที่ได้รับใบอนุญาต  หรือเป็นการเสพเพื่อการศึกษาวิจัย  ทั้งนี้ ต ารับยาที่เสพได้ให้เป็นไปตามที่ รัฐมนตรีประกาศก าหนด”

มาตรา ๑๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๕๘/๒  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.  ๒๕๒๒

“มาตรา ๕๘/๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด อาจมีมติให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกาศให้ท้องที่ใด เป็นท้องที่ที่ท าการเสพพืชกระท่อมได้โดยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

การเสพและการครอบครองพืชกระท่อมที่กระท าตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขที่ก าหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา    ๑๕   ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๖๐  ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะจ าหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด

ให้โทษในประเภท ๒ หรือประเภท ๕ เกินปริมาณที่ก าหนดไว้ตามมาตรา ๘ (๕) ให้ยื่นค าขอรับใบอนุญาต ตามมาตรานี้

การขอรับใบอนุญาตและการอนญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่ก าหนดใน กฎกระทรวง

ให้น าบทบัญญัติในมาตรา  ๘  (๕)  มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

มาตรา ๑๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๖๑/๑  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.  ๒๕๒๒

“มาตรา ๖๑/๑ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตผลิต  น าเข้า  ส่งออก  จ าหน่าย  หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ตายก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ  และทายาทหรือผู้ที่ได้รับความยินยอม จากทายาทแสดงความจ านงต่อผู้อนุญาตเพื่อขอประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตนั้นต่อไปภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย เมื่อผู้อนุญาตตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติครบถ้วน ถูกต้อง ให้ผู้แสดงความจ านงนั้นประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตสิ้นอายุ และให้ถือว่าผู้แสดงความจ านง เป็นผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย

การแสดงความจ านงและการตรวจสอบ   ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์   วิธีการ   และเงื่อนไขที่ คณะกรรมการก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ในกรณีที่ไม่มีการแสดงความจ านงเพื่อขอประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้ทายาทผู้ครอบครอง ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ นั้นท าลายหรือจ าหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ที่เหลืออยู่ ในกรณีที่จ าหน่าย ให้จ าหน่ายแก่ผู้รับอนุญาตอื่นตามประเภทนั้น หรือแก่ผู้ซึ่งผู้อนุญาตเห็นสมควร ทั้งนี้  ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย เว้นแต่ผู้อนุญาตจะผ่อนผันขยายระยะเวลาต่อไปอีก แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวัน

ในกรณีที่ทายาทผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ไม่ปฏิบัติตามวรรคสาม ให้ยาเสพติด ให้โทษในประเภท ๕ ที่เหลืออยู่ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข และให้กระทรวงสาธารณสุขหรือ ผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายท าลายหรือน าไปใช้ประโยชน์ได้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุข ก าหนด”

มาตรา    ๑๗   ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๕ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๖/๑ แห่งพระราชบัญญัติ

ยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  (ฉบับที่  ๕)พ.ศ.  ๒๕๔๕  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๗๕   ผู้ใดผลิต  น าเข้า  หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา  ๒๖/๒  ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี  และปรับไม่เกินห้าแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระท าเพื่อจ าหน่าย  ต้องระวางโทษจ าคุกตั้งแต่

หนึ่งปีถึงสิบห้าปี  และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท าความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองนั้นเป็น

พืชกระท่อม  ผู้นั้นต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสองปี  และปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา  ๒๖/๓  ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี  หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ

ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท าความผิดตามวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา ๗๖/๑  ผู้ใดจ าหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจ าหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖/๓  โดยมีปริมาณยาเสพติดให้โทษไม่ถึงสิบกิโลกรัม  ต้องระวางโทษจ าคุก ไม่เกินห้าปี  หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท  หรือทั้งจ าทั้งปรับ

กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามียาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ ตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษ จ าคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี  และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท

ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท าความผิดตามวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสองปี  หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท  หรือทั้งจ าทั้งปรับ

ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท าความผิดตามวรรคสองนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสองปี  และปรับไม่เกินสองแสนบาท”

มาตรา ๑๘  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๗๙/๑  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.  ๒๕๒๒

“มาตรา ๗๙/๑ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๔/๑ มาตรา ๓๔/๒ มาตรา ๓๔/๓ หรือ มาตรา  ๓๔/๔  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท”

มาตรา   ๑๙     ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๙๒ ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๘ วรรคสอง ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินหนึ่งปี  หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ

ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท าความผิดตามวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม

ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท”

มาตรา ๒๐ ภายในระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการ ควบคุมยาเสพติดให้โทษประเมินผลการดาเนนงานเกี่ยวกบการอนุญาตให้ผลิต น าเข้า ส่งออก  จ าหนา่ ย หรือมีไว้ในครอบครองซงยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชา ทุกหกเดือน  ในกรณีที่เห็นสมควร ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตดังกล่าว  ให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเสนอรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ และ ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตต่อไป

มาตรา ๒๑ ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การขอรับใบอนุญาตผลิต  น าเข้า  หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  เฉพาะกัญชาเพื่อประโยชน์ ทางการแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วยตามมาตรา ๒๖/๒ (๑)  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้   ให้อนุญาตได้เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็น

หน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๒๖/๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพตอดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม

โดยพระราชบัญญัตินี้ หรือเป็นผู้ขออนุญาตตามมาตรา ๒๖/๕ (๒) (๓) (๔) หรือ (๗) แห่งพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งด าเนินการร่วมกับผู้ขออนุญาต ที่เป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๒๖/๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้

(๑) การขอรับใบอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชาเพื่อประโยชน์ ทางการแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วยตามมาตรา ๒๖/๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วย

วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามมาตรา ๒๖/๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเป็นการปรุงยาสำหรับคนไข้เฉพาะรายซึ่งตนเองเป็นผู้ให้การรักษา (๒)  การขอรับใบอนุญาตน าเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  เฉพาะกัญชา ตามมาตรา  ๒๖/๒  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตินี้  ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศตามมาตรา  ๒๖/๕  (๖)

แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประเมินผลมาตรการตามวรรคหนึ่งทุกหกเดือน

ในกรณีที่เห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษด าเนินการได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๒๒ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย การใช้รักษาโรคเฉพาะตัว หรือการศึกษาวิจัย อยู่ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ไม่ต้องรับโทษส าหรับการกระท านั้นเมื่อด าเนินการดังต่อไปนี้

(๑)   ยื่นค าขอรับใบอนุญาตต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในกรณีที่เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๖/๕ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และให้สามารถครอบครองยาเสพติดให้โทษ

ดังกล่าวได้ต่อไปจนกว่าการพิจารณาอนุญาตจะแล้วเสร็จ ในกรณีไม่ได้รับอนุญาต ให้ยาเสพติดให้โทษนั้น ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้ท าลาย  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

(๒)    ในกรณีนอกจาก  (๑)  ให้แจ้งการครอบครองต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและ ยาภายในก าหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งนี้  หากเป็นผู้ป่วยที่มีความจ าเป็น

ต้องใช้ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชาเพื่อรักษาโรคเฉพาะตัว และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วธิ กี าร

และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ควบคุมยาเสพติดให้โทษ ส าหรับบุคคลอื่นเมื่อแจ้งการครอบครองแล้วให้ยาเสพติดให้โทษดังกล่าว ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้ท าลาย  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

มาตรา   ๒๓   หนังสือส าคัญแสดงการอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ที่ออก ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตตามมาตรา  ๒๖/๒ หรือ มาตรา ๒๖/๓ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ

มาตรา ๒๔ ใบอนุญาตโฆษณาที่ออกให้ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ

มาตรา ๒๕ ค าขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่าง การพิจารณาให้ถือว่าเป็นค าขอตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ค าขอใดมีข้อแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้อนุญาตมีอ านาจสั่งให้ผู้ยื่นค าขอด าเนินการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ถ้าผู้ยื่นค าขอไม่ด าเนินการภายในเวลาที่ผู้อนุญาตก าหนด  ให้ค าขอนั้นเป็นอันตกไป

มาตรา ๒๖ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับได้ต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง  ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

การดำเนินการออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรี

มาตรา   ๒๗   ในขณะที่ยังไม่มีประกาศของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษก าหนด ลักษณะกัญชง (Hemp) ตามมาตรา  ๒๖/๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.  ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กัญชง (Hemp) มีลักษณะตามที่ก าหนดในบทนิยาม ค าว่า “เฮมพ์” (Hemp) ในข้อ ๓  แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จ าหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ.  ๒๕๕๙

มาตรา    ๒๘   ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 

  ตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ  โดยที่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒  ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ปรากฏผลการวิจัยว่าสารสกัดจากกัญชาและพืชกระท่อมมีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้มีการอนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาและ พืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคและประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  กัญชาและพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ที่ห้ามมิให้ผู้ใดเสพหรือ น าไปใช้ในการบ าบัดรักษาผู้ป่วยหรือน าไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และยังก าหนดโทษทั้งผู้เสพและ ผู้ครอบครองด้วย ดังนั้น  เพื่อเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยที่จะได้รับและใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ ในการรักษาและพัฒนาทางการแพทย์  ภายใต้ค าแนะน าของแพทย์ผู้ได้รับอนุญาต  เพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ให้ท าได้โดยชอบด้วยกฎหมาย  และเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านยาของประเทศ และป้องกันไม่ให้เกิด การผูกขาดทางด้านยา  สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อเปิดโอกาส ให้สามารถน ากัญชาและพืชกระท่อมไปท าการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถ น าไปใช้ในการรักษาโรคภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้ จึงจ าเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino! Cógaslann ar líne Clonaslee Pharmacy leis na praghsanna is fearr in Éirinn