Hot! พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒

พระราชบัญญัติ

ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗)

พ.ศ.  ๒๕๖๒

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ  บดินทรเทพยวรางกูร

ให้ไว้ ณ วันที่  ๑๗  กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔  ในรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ  บดินทรเทพยวรางกูร  มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

 

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ซึ่งมาตรา  ๒๖  ประกอบกับมาตรา  ๒๘  มาตรา  ๓๔  มาตรา  ๓๗  มาตรา  ๓๘  และมาตรา  ๔๐ ของรัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระท าได้โดยอาศัยอ านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อกำหนด มาตรการในการควบคุมยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและสอดคล้อง ตามหลักสากล ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยค าแนะน าและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติท าหน้าที่รัฐสภา  ดังต่อไปนี้

มาตรา    ๑     พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  “พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  (ฉบับที่  ๗) พ.ศ.  ๒๕๖๒”

มาตรา    ๒     พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา    ๓     ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา  ๙  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒

“ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมสุขภาพจิต นายกแพทยสภา นายกสภาการแพทย์แผนไทย และนายกสภาเภสัชกรรม เป็นกรรมการในคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ให้โทษตามวรรคหนึ่งเพิ่มขึ้นด้วย เฉพาะในวาระที่เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕”

มาตรา    ๔     ให้ยกเลิกความใน  (๖)  ของมาตรา  ๑๓  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ

พ.ศ.  ๒๕๒๒  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(๖) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีในการอนุญาตให้ผลิต  จ าหน่าย  น าเข้า ส่งออก  หรือมีไว้ ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๔”

มาตรา    ๕     ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น  (๖/๑)  (๖/๒)  (๖/๓)  และ  (๖/๔)  ของมาตรา  ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒

“(๖/๑) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีในการออกประกาศตามมาตรา ๒๖/๒ (๓) มาตรา ๒๖/๔ (๑)

และมาตรา  ๒๖/๕  (๒)  และปฏิบัติการตามมาตรา  ๒๖/๖  และมาตรา  ๕๘/๒

(๖/๒)   ให้ความเห็นชอบต่อผู้อนุญาตในการอนุญาตให้ผลิต น าเข้า  หรือส่งออกซึ่งยาเสพติด ให้โทษในประเภท  ๕  ตามมาตรา  ๒๖/๒  (๑)  และ  (๒)

(๖/๓)   ให้ความเห็นชอบในการออกกฎกระทรวงตามมาตรา  ๒๖/๕  (๗) (๖/๔)          ประกาศก าหนดลักษณะกัญชง  (Hemp)  ตามมาตรา  ๒๖/๒  (๒)”

มาตรา    ๖     ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.  ๒๕๒๒  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๒๒  ในการน าเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๓  หรือประเภท  ๕ ของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา  ๒๐  หรือมาตรา  ๒๖/๒  (๑)  หรือ  (๒)  แล้วแต่กรณี  แต่ละครั้ง ต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้งที่น าเข้าหรือส่งออกจากผู้อนุญาตด้วย”

มาตรา    ๗     ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.  ๒๕๒๒  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๒๓ ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๖/๒ (๑) และ (๒)  และ มาตรา ๒๖/๓ ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับใบอนุญาตประสงค์ จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นค าขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นค าขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้ จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น”

มาตรา    ๘     ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา  ๒๖  ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต  จ าหน่าย น าเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด ให้โทษในประเภท  ๔  เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเป็นราย ๆ  ไป การมียาเสพติดให้โทษในประเภท  ๔  ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป

ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๖/๒  มาตรา  ๒๖/๓  มาตรา  ๒๖/๔ มาตรา ๒๖/๕ และมาตรา ๒๖/๖ ในหมวด ๒ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับ ยาเสพติดให้โทษ  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒

“มาตรา ๒๖/๒  ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต  น าเข้า  หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท   ๕ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑)   ในกรณีจ าเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์  การรักษาผู้ป่วย  หรือการศึกษาวิจัย และพัฒนา ทั้งนี้ ให้รวมถึงการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์  หรืออุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ ทางการแพทย์ด้วย  ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

(๒) ในกรณีที่เป็นกัญชง (Hemp) ซึ่งเป็นพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp.  sativa  และมีลักษณะตามที่คณะกรรมการก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งได้น าไป ใช้ประโยชน์ตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง ให้กระท าได้เมื่อได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการ

(๓)   ในกรณีที่เป็นการน าติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินปริมาณที่จ าเป็น ส าหรับใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ผู้ประกอบ วิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา ให้กระท าได้ เมื่อได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

การผลิต  นำเข้า  หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  มีปริมาณตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป ให้สันนิษฐานว่าเป็นการผลิต  นำเข้า  หรือส่งออกเพื่อจำหน่าย

การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขที่ ก าหนดในกฎกระทรวง

ในการพิจารณาอนุญาต ให้ผู้ขออนุญาตเป็นผู้รับผิดชอบช าระค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ หรือประเมินเอกสารทางวิชาการ หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา  ๒๖/๓  ห้ามมิให้ผู้ใดจ าหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต

การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจ าหน่าย

การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขที่ ก าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๖/๔  บทบัญญัติมาตรา  ๒๖/๓  ไม่ใช้บังคับแก่

(๑)   การมียาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ไว้ในครอบครองไม่เกินปริมาณที่จ าเป็นส าหรับ ใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ผู้ประกอบวิชาชีพ ทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ หมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศ ก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

(๒)   การมียาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ไว้ในครอบครองไม่เกินปริมาณที่จ าเป็นส าหรับ ใช้ประจ าในการปฐมพยาบาล หรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือ เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่นใดที่ใช้ใน การขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักร แต่ถ้ายานพาหนะดังกล่าว จดทะเบียนในราชอาณาจักร  ให้ยื่นค าขอรับใบอนุญาตตามมาตรา  ๒๖/๓

มาตรา  ๒๖/๕  ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ผลิต  น าเข้า  ส่งออก  จ าหน่าย  หรือมีไว้ ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ได้เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาตเป็น

(๑)   หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม  และแก้ไขปัญหายาเสพติด  หรือสภากาชาดไทย

(๒) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ รัฐมนตรีประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

(๓) สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและ จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์

(๔)   ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์  ซึ่งด าเนินการภายใต้ความร่วมมือและก ากับดูแลของผู้ขออนุญาต ตาม (๑) หรือ (๓) ทั้งนี้ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมดังกล่าว  สามารถร่วมผลิตและพัฒนา สูตรต ารับยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพรได้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์  ภายใต้ความร่วมมือและก ากับ ดูแลของผู้ขออนุญาตตาม  (๑)  หรือ  (๓)  ด้วย

(๕)   ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ

(๖)   ผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจ าเป็นต้องน ายาเสพติดให้โทษในประเภท   ๕ ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว

(๗)   ผู้ขออนุญาตอื่นตามที่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการก าหนดในกฎกระทรวงผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) และ (๗) ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องมีสัญชาติไทย และมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย และกรรมการของ นิติบุคคล หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อยสองในสามต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยและมีส านักงานในประเทศไทย

คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตในกรณีกัญชง (Hemp)  ตามมาตรา  ๒๖/๒  (๒) ให้เป็นไปตามที่ ก าหนดในกฎกระทรวง

ในการพิจารณาอนุญาตแก่ผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม  ผู้อนุญาตจะต้องค านึงถึง ความจ าเป็นในการผลิต น าเข้า ส่งออก จ าหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองตามที่ขออนุญาต  ในการนี้ ผู้อนุญาตจะก าหนดเงื่อนไขการอนุญาตตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้

มาตรา ๒๖/๖ ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย การลดอันตรายจาก การใช้ยาเสพติดให้โทษ หรือการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ อาจมีมติให้ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการก าหนดเขตพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใด เพื่อกระท าการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ก็ได้

(๑)   ทดลองเพาะปลูกพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕

(๒)   ผลิตและทดสอบเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕

(๓)   เสพหรือครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ในปริมาณที่ก าหนด

การกำหนดเขตพื้นที่และการกระท าการตามวรรคหนึ่ง   ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอย่างนอยต้องมีมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเสพและการครอบครอง ยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ด้วย

ให้การกระทำการในเขตพื้นที่ที่กำหนดในวรรคหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมและตรวจสอบ การเสพและการครอบครองยาเสพติดให้โทษตามวรรคสองไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้”

มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๒๗   ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา  ๑๗  และผู้รับอนุญาตตามมาตรา  ๒๖/๓

จำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ และประเภท ๕ แล้วแต่กรณี  นอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต” มาตรา  ๑๑      ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๓๔/๑  มาตรา  ๓๔/๒  มาตรา  ๓๔/๓  และ

มาตรา  ๓๔/๔  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒

“มาตรา ๓๔/๑ ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิตแสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาเสพติด ให้โทษในประเภท  ๕  ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่ก าหนด ในกฎกระทรวง

(๒)   จัดให้มีการวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ที่ผลิตขึ้นก่อนน าออกจากสถานที่ผลิต  โดยต้องมีการวิเคราะห์ทุกครั้ง  และมีหลักฐานแสดงรายละเอียดซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ ทั้งนี้  ตามที่ก าหนด ในกฎกระทรวง

(๓)   จัดให้มีฉลากและเอกสารก ากับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  หรือค าเตือน  หรือ ข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ที่ผลิตขึ้น ทั้งนี้  ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่คณะกรรมการก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(๔) จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เป็นสัดส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น และ เก็บในที่ซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน

(๕)   ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ถูกโจรกรรม  สูญหาย  หรือถูกท าลาย  ต้องแจ้ง เป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า

(๖)   ปฏิบัติการอื่นตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา  ๓๔/๒  ให้ผู้รับอนุญาตน าเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ท าการของผู้รับอนุญาตแสดงว่า เป็นสถานที่น าเขาหรือส่งออกซงยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ลักษณะและขนาดของป้ายและขอความ ที่แสดงในป้ายให้เป็นไปตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง

(๒)   จัดให้มีใบรับรองของผู้ผลิตแหล่งเดิม แสดงรายละเอียดผลการวิเคราะห์คุณภาพยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ที่น าเข้าหรือส่งออก

(๓)    จัดให้มีฉลากและเอกสารก ากับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  หรือค าเตือน  หรือ ข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ที่น าเข้าหรือส่งออก  ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขที่คณะกรรมการก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๔)  จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  เป็นสัดส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น  และ

เก็บในที่ซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน

(๕)    ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกท าลาย  ต้องแจ้ง เป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า

(๖)   ปฏิบัติการอื่นตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๔/๓  ให้ผู้รับอนุญาตจ าหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ ปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑)    จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  เป็นสัดส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น  และ เก็บในที่ซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน

(๒)   ดูแลให้มีฉลากและเอกสารก ากับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  หรือค าเตือน  หรือข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ มิให้ช ารุดบกพร่อง

(๓)    ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ ถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกท าลาย  ต้องแจ้ง เป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า

(๔)   ปฏิบัติการอื่นตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๓๔/๔ ให้ผู้รับอนุญาตผลิต น าเข้า ส่งออก จ าหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพตดิ ให้โทษในประเภท  ๕  จัดให้มีการท าบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษและเสนอรายงานต่อเลขาธิการ เป็นรายเดือนและรายปี  บัญชีดังกล่าวให้เก็บรักษาไว้และพร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ทุกเวลาในขณะเปิดท าการ  ทั้งนี้  ภายในห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชี

บัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษและรายงานตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการ ก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา”

มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๔๘   ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณายาเสพติดให้โทษ  เว้นแต่

(๑) เป็นการโฆษณายาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๕ ซึ่งกระทา โดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ให้รวมถึง การโฆษณากับผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ หมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้วย หรือ

(๒)   เป็นฉลากหรือเอกสารก ากับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๒  ประเภท  ๓ ประเภท  ๔

หรือประเภท  ๕  ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๒  ประเภท  ๓  ประเภท  ๔ หรือประเภท  ๕

โฆษณาตามวรรคหนึ่งที่เป็นเอกสาร ภาพ ภาพยนตร์ การบันทึกเสียงหรือภาพ ต้องได้รับอนุญาต จากผู้อนุญาตก่อนจึงจะใช้โฆษณาได้

การขออนุญาตและการอนุญาต  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่ก าหนดใน กฎกระทรวง”

มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๗ และมาตรา ๕๘  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๕๗  ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๑

มาตรา ๕๘ ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ เว้นแต่การเสพนั้นเป็น การเสพเพื่อการรักษาโรคตามค าสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา  ๑๗

ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เว้นแต่การเสพนั้นเป็นการเสพเพื่อการรักษาโรค ตามค าสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม  ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์  หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์ แผนไทย ที่ได้รับใบอนุญาต  หรือเป็นการเสพเพื่อการศึกษาวิจัย  ทั้งนี้ ต ารับยาที่เสพได้ให้เป็นไปตามที่ รัฐมนตรีประกาศก าหนด”

มาตรา ๑๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๕๘/๒  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.  ๒๕๒๒

“มาตรา ๕๘/๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด อาจมีมติให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกาศให้ท้องที่ใด เป็นท้องที่ที่ท าการเสพพืชกระท่อมได้โดยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

การเสพและการครอบครองพืชกระท่อมที่กระท าตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขที่ก าหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา    ๑๕   ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๖๐  ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะจ าหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด

ให้โทษในประเภท ๒ หรือประเภท ๕ เกินปริมาณที่ก าหนดไว้ตามมาตรา ๘ (๕) ให้ยื่นค าขอรับใบอนุญาต ตามมาตรานี้

การขอรับใบอนุญาตและการอนญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่ก าหนดใน กฎกระทรวง

ให้น าบทบัญญัติในมาตรา  ๘  (๕)  มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

มาตรา ๑๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๖๑/๑  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.  ๒๕๒๒

“มาตรา ๖๑/๑ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตผลิต  น าเข้า  ส่งออก  จ าหน่าย  หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ตายก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ  และทายาทหรือผู้ที่ได้รับความยินยอม จากทายาทแสดงความจ านงต่อผู้อนุญาตเพื่อขอประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตนั้นต่อไปภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย เมื่อผู้อนุญาตตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติครบถ้วน ถูกต้อง ให้ผู้แสดงความจ านงนั้นประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตสิ้นอายุ และให้ถือว่าผู้แสดงความจ านง เป็นผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย

การแสดงความจ านงและการตรวจสอบ   ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์   วิธีการ   และเงื่อนไขที่ คณะกรรมการก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ในกรณีที่ไม่มีการแสดงความจ านงเพื่อขอประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้ทายาทผู้ครอบครอง ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ นั้นท าลายหรือจ าหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ที่เหลืออยู่ ในกรณีที่จ าหน่าย ให้จ าหน่ายแก่ผู้รับอนุญาตอื่นตามประเภทนั้น หรือแก่ผู้ซึ่งผู้อนุญาตเห็นสมควร ทั้งนี้  ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย เว้นแต่ผู้อนุญาตจะผ่อนผันขยายระยะเวลาต่อไปอีก แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวัน

ในกรณีที่ทายาทผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ไม่ปฏิบัติตามวรรคสาม ให้ยาเสพติด ให้โทษในประเภท ๕ ที่เหลืออยู่ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข และให้กระทรวงสาธารณสุขหรือ ผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายท าลายหรือน าไปใช้ประโยชน์ได้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุข ก าหนด”

มาตรา    ๑๗   ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๕ มาตรา ๗๖ และมาตรา ๗๖/๑ แห่งพระราชบัญญัติ

ยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  (ฉบับที่  ๕)พ.ศ.  ๒๕๔๕  และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา  ๗๕   ผู้ใดผลิต  น าเข้า  หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา  ๒๖/๒  ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี  และปรับไม่เกินห้าแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระท าเพื่อจ าหน่าย  ต้องระวางโทษจ าคุกตั้งแต่

หนึ่งปีถึงสิบห้าปี  และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท าความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองนั้นเป็น

พืชกระท่อม  ผู้นั้นต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสองปี  และปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา  ๒๖/๓  ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินห้าปี  หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ

ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท าความผิดตามวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา ๗๖/๑  ผู้ใดจ าหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจ าหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖/๓  โดยมีปริมาณยาเสพติดให้โทษไม่ถึงสิบกิโลกรัม  ต้องระวางโทษจ าคุก ไม่เกินห้าปี  หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท  หรือทั้งจ าทั้งปรับ

กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามียาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕ ตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษ จ าคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี  และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท

ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท าความผิดตามวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสองปี  หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท  หรือทั้งจ าทั้งปรับ

ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท าความผิดตามวรรคสองนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินสองปี  และปรับไม่เกินสองแสนบาท”

มาตรา ๑๘  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา  ๗๙/๑  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.  ๒๕๒๒

“มาตรา ๗๙/๑ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๔/๑ มาตรา ๓๔/๒ มาตรา ๓๔/๓ หรือ มาตรา  ๓๔/๔  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท”

มาตรา   ๑๙     ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๙๒ ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๘ วรรคสอง ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินหนึ่งปี  หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ

ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระท าความผิดตามวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม

ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท”

มาตรา ๒๐ ภายในระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการ ควบคุมยาเสพติดให้โทษประเมินผลการดาเนนงานเกี่ยวกบการอนุญาตให้ผลิต น าเข้า ส่งออก  จ าหนา่ ย หรือมีไว้ในครอบครองซงยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชา ทุกหกเดือน  ในกรณีที่เห็นสมควร ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตดังกล่าว  ให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเสนอรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ และ ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตต่อไป

มาตรา ๒๑ ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การขอรับใบอนุญาตผลิต  น าเข้า  หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  เฉพาะกัญชาเพื่อประโยชน์ ทางการแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วยตามมาตรา ๒๖/๒ (๑)  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้   ให้อนุญาตได้เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็น

หน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๒๖/๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพตอดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม

โดยพระราชบัญญัตินี้ หรือเป็นผู้ขออนุญาตตามมาตรา ๒๖/๕ (๒) (๓) (๔) หรือ (๗) แห่งพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งด าเนินการร่วมกับผู้ขออนุญาต ที่เป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๒๖/๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้

(๑) การขอรับใบอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชาเพื่อประโยชน์ ทางการแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วยตามมาตรา ๒๖/๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วย

วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามมาตรา ๒๖/๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเป็นการปรุงยาสำหรับคนไข้เฉพาะรายซึ่งตนเองเป็นผู้ให้การรักษา (๒)  การขอรับใบอนุญาตน าเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  เฉพาะกัญชา ตามมาตรา  ๒๖/๒  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตินี้  ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศตามมาตรา  ๒๖/๕  (๖)

แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประเมินผลมาตรการตามวรรคหนึ่งทุกหกเดือน

ในกรณีที่เห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษด าเนินการได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๒๒ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย การใช้รักษาโรคเฉพาะตัว หรือการศึกษาวิจัย อยู่ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ไม่ต้องรับโทษส าหรับการกระท านั้นเมื่อด าเนินการดังต่อไปนี้

(๑)   ยื่นค าขอรับใบอนุญาตต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในกรณีที่เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๖/๕ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และให้สามารถครอบครองยาเสพติดให้โทษ

ดังกล่าวได้ต่อไปจนกว่าการพิจารณาอนุญาตจะแล้วเสร็จ ในกรณีไม่ได้รับอนุญาต ให้ยาเสพติดให้โทษนั้น ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้ท าลาย  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

(๒)    ในกรณีนอกจาก  (๑)  ให้แจ้งการครอบครองต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและ ยาภายในก าหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งนี้  หากเป็นผู้ป่วยที่มีความจ าเป็น

ต้องใช้ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชาเพื่อรักษาโรคเฉพาะตัว และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วธิ กี าร

และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ควบคุมยาเสพติดให้โทษ ส าหรับบุคคลอื่นเมื่อแจ้งการครอบครองแล้วให้ยาเสพติดให้โทษดังกล่าว ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้ท าลาย  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

มาตรา   ๒๓   หนังสือส าคัญแสดงการอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ที่ออก ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตตามมาตรา  ๒๖/๒ หรือ มาตรา ๒๖/๓ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ

มาตรา ๒๔ ใบอนุญาตโฆษณาที่ออกให้ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ

มาตรา ๒๕ ค าขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่าง การพิจารณาให้ถือว่าเป็นค าขอตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ค าขอใดมีข้อแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้อนุญาตมีอ านาจสั่งให้ผู้ยื่นค าขอด าเนินการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ถ้าผู้ยื่นค าขอไม่ด าเนินการภายในเวลาที่ผู้อนุญาตก าหนด  ให้ค าขอนั้นเป็นอันตกไป

มาตรา ๒๖ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับได้ต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง  ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

การดำเนินการออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรี

มาตรา   ๒๗   ในขณะที่ยังไม่มีประกาศของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษก าหนด ลักษณะกัญชง (Hemp) ตามมาตรา  ๒๖/๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.  ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กัญชง (Hemp) มีลักษณะตามที่ก าหนดในบทนิยาม ค าว่า “เฮมพ์” (Hemp) ในข้อ ๓  แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จ าหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ.  ๒๕๕๙

มาตรา    ๒๘   ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 

  ตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ  โดยที่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒  ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ปรากฏผลการวิจัยว่าสารสกัดจากกัญชาและพืชกระท่อมมีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้มีการอนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาและ พืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคและประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ  พ.ศ.  ๒๕๒๒  กัญชาและพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท  ๕  ที่ห้ามมิให้ผู้ใดเสพหรือ น าไปใช้ในการบ าบัดรักษาผู้ป่วยหรือน าไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และยังก าหนดโทษทั้งผู้เสพและ ผู้ครอบครองด้วย ดังนั้น  เพื่อเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยที่จะได้รับและใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ ในการรักษาและพัฒนาทางการแพทย์  ภายใต้ค าแนะน าของแพทย์ผู้ได้รับอนุญาต  เพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ให้ท าได้โดยชอบด้วยกฎหมาย  และเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านยาของประเทศ และป้องกันไม่ให้เกิด การผูกขาดทางด้านยา  สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อเปิดโอกาส ให้สามารถน ากัญชาและพืชกระท่อมไปท าการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถ น าไปใช้ในการรักษาโรคภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้ จึงจ าเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino! Martian Wallet is a secure and user-friendly platform for managing your cryptocurrencies. It supports various assets and offers seamless transactions for both beginners and experts. Learn more at martianwallet.net. To manage your Solana assets effortlessly, use phantom login for secure access to your wallet and quick interactions with NFTs and decentralized applications. Visit the metamask website to download the wallet extension for securely managing crypto assets and interacting with decentralized apps.