ข้อกำหนดแห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘
ข้อกำหนด
ออกตามความในมาตรา ๙
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘
(ฉบับที่ ๓)
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แล้ว นั้น
เพื่อเป็นการกำหนดข้อยกเว้นในการปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๒) ให้ซัดเจนขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผศ. ๕๔๘ นายกรัฐมนตรี จึงออกข้อกำหนดเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ในการบังคับใช้ข้อ ๑ แห่งข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ยกเลิกความในส่วนที่เป็นข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถานตามเวลาดังกล่าวและให้ใช้ข้อยกวนดังต่อไปนี้แทน
(๑) การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร หรือพลเรือนซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
(๒) การสาธารณสุข ได้แก่ ผู้ป่วย ผู้มีความจำเป็นต้องพบแพทย์และผู้ดูแลบุคคลดังกล่าว หรือแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติงาน
(๓) การขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน ได้แก่ ผู้ขนส่งอาหาร ยาเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร น้ำมันเชื้อเพลิง ไปรษณียภัณฑ์ พัสดุภัณฑ์ หนังสือพิมพ์ หรือสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก
(๔) การขนส่งหรือขนย้ายประชาชน ได้แก่ ผู้ขนส่งหรือขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศของทางราชการหรือของตนเองเพื่อการเฝ้าระวังหรือกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือ ผู้เดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยานหรือสถานที่ขนส่งตามที่ทางราชการอนุญาตและให้เปิดทำการได้
(๕) การบริการหรือการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ได้แก่ ผู้บริการคนไร้ที่พึ่งผู้บริการเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้บริการส่งสินค้าหรืออาหารตามสั่ง ผู้บริการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงไฟฟ้า ประปา ระบบระบายน้ำ ระบบท่อส่งน้ำมันและก๊าชธรรมชาติ ผู้บริการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย ผู้บริการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงข่ายและอุปกรณ์ในการสื่อสารโทรคมนาคม ผู้บริการด้านธนาคาร ตลาดทุน ประกันภัย การกู้ภัย การป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ ผู้จำเป็นต้องตำเนินการในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือจำเป็นต้องติดต่อราชการกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือพนักงานสอบสวน
(๖) การประกอบอาชีพซึ่งจำเป็นต้องกระทำภายในช่วงเวลาพิเศษ ได้แก่ ผู้เข้าออกเวรยาม กะ หรือการทำงานตามผัดเวลาที่กำหนดไว้ตามปกติของทางราชการ เอกชน โรงงาน หรือการดูแลรักษาความปลอดภัย ผู้ประกอบอาชีพประมง การกรีดยาง การตรวจรักษาสัตว์
(๗) เหตุจำเป็นอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะรายจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีตาม (๑) ถึง (๖) ให้บุคคลที่มีความจำเป็นดังกล่าวแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอย่างอื่น และเอกสารรับรองความจำเป็น เอกสารเกี่ยวกับสินค บริการ
การเดินทางหรือหลักฐานอื่น ๆ ต่อเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดรวมถึงการยอมรับการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย สำหรับกรณีตาม (๗) ให้แสดงเหตุจำเป็นพร้อมทั้งหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนั้น นายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต หัวหน้าสถานีตำรวจหรือผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเพื่ออนุญาต
ข้อ ๒ ในกรณีมีความจำเป็นสมควรยกเว้นความในข้อ ๑ เพิ่มเติมเป็นการทั่วไป ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งยกเว้นผู้ประกอบกิจการอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกันภายในกรอบของกิจการตามข้อ ๑ (๑) ถึง (๖)เพิ่มเติม โดยอาจกำหนดสถานที่ เงื่อนไข และเงื่อนเวลาด้วยก็ได้
ข้อ ๓ ในกรณีมีการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น เช่น ความผิดต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยการพนัน กฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และเป็นความผิดตามข้อกำหนดออกตามความใน มาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ด้วย ให้ดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดทุกฐานความผิดนั้นโดยเร็ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ๆ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป